Sie sind auf Seite 1von 8

"สอนหนังสือชุมชนจินตกรรมของครูเบ็น"

โดย เกษียร เตชะพีระ

( เรียบเรียงจากคำาอภิปรายของผู้เขียนในงานเปิด
ตัวหนังสือ "ชุมชนจินตกรรมของศาสตราจาร
ย์เบเนดิก แอนเดอร์สัน" ในงานตลาดวิชา
มหาวิทยาลัยชาวบ้าน "ว่าด้วยชุมชน ศิลปะและ
ชาตินิยม" จัดโดยมูลนิธิโครงการตำารา
สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ณ คณะ
ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระ
จันทร์, 18 มกราคม พ.ศ.2552)

เกริ่นนำำ
“ผมดีใจ 3 ต่อ ที่หนังสือ "ชุมชนจินตกรรม" พากย์ไทยของศาสตราจารย์เบเนดิก แอนเดอร์สัน
หรือที่ประดาลูกศิษย์ลูกหาเราเรียกขานว่า "ครูเบ็น" ได้แปลและจัดพิมพ์สำาเร็จเป็นรูปเล่ม”

1) ต่อแรก ก่อนอื่นผมดีใจเพราะผมเคารพรักครูเบ็นมาก ทั้งในแง่ส่วนตัวที่ท่านมีพระคุณ


ต่อผม สนับสนุนให้คนออกจากป่าอย่างผมได้ไปเรียนต่อเมืองนอกและช่วยเหลือด้านต่างๆ จนเรียน
จบ อีกทั้งในแง่ปัญญาความรู้ที่ท่านเป็นครูหนึ่งในสี่คนที่ช่วยเปลี่ยนวิธีมอง โลกของผม - ได้แก่ครู
ชาญวิทย์, ครูชัยวัฒน์, ครูเบ็น และครูนิธิ
ฉะนัน้ เมื่อผลงานชิ้นเอกของครูที่เป็นเพชรนำ้าหนึ่งในวงวิชาการสังคมศาสตร์ของโลก ได้
จุติในเมืองไทย ทันให้ครูเบ็นได้เห็นและชื่นชมลูกสัญชาติไทยของครูเล่มนี้ในวาระอายุครูครบ 6
รอบพอดี ผมจึงยินดีมาก
2) ผมดีใจต่อที่สองเพราะผมเป็นอดีตสมาชิกทีมแปลที่ล้มเหลว ได้เคยพยายามร่วมทีมแปล
งานชิ้นนี้ แต่ด้วยเหตุนานัปการ ผมแปลล่าช้าเกินกำาหนด ไปไม่ตลอดรอดฝั่ง จนต้องบอกศาลาและ
รู้สึกผิดในใจเสมอมา เมื่อเห็นงานชิ้นนี้สำาเร็จลุล่วงในที่สุดด้วยความเพียรพยายาม มานะอุตสาหะ
ของทีมแปลและอาจารย์ชาญวิทย์บรรณาธิการ ก็ดีใจเป็นธรรมดา
3) สุดท้าย ผมดีใจเพราะผมใช้หนังสือเล่มนี้ของครูเบ็นเป็นตำาราสอนวิชาว่าด้วยความเป็น
ชาติ-ชาตินิยมและการเมืองเปรียบเทียบในระดับปริญญาโท-เอกที่คณะรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ และ
ที่อื่นๆ ในเมืองไทยมาหลายปี
จากประสบการณ์ ผมพบว่าความที่นอกจากเนื้อหาตำาราลึกซึ้งกว้างขวางมากแล้ว การที่มัน
เป็นภาษาอังกฤษ นักศึกษาไทยจึงมีปัญหาทับซ้อนทวีคูณในการเข้าถึงเนื้อหาเพราะอุปสรรคด้าน
ภาษา ต้องมัวเสียเวลาฝ่าด่านภาษาเพื่อทำาความเข้าใจว่าหนังสือเขียนว่าอะไรกันแน่ เป็นหลัก ทำาให้
ไม่มีโอกาสเวลาและพลังงานไปครุ่นคิดถกเถียงอภิปรายเจาะลึกเนื้อหาของ มันในชั้นเรียนเท่าที่ควร
บัดนี้เมื่อมีฉบับพากย์ไทยก็จะทำาให้การสอนเรื่องนี้ของผมต่อไปข้างหน้าง่าย ดายขึ้นมาก ผมขอ
ขอบคุณทีมแปลและบรรณาธิการแทนนักศึกษาของผมไว้ในที่นี้ด้วย
ผมอยากอภิปรายเปิดตัวหนังสือ "ชุมชนจินตกรรม" ของครูเบ็นวันนี้ ไม่ใช่ในฐานะผู้ใช้มัน
ไปเข้าใจและวิเคราะห์วิจารณ์ชาติไทย-ชาตินิยมไทย-ความ เป็นไทยดังที่เคยทำามา เพราะนึกอะไร
ใหม่ ๆ เกี่ยวกับเรื่องนัน้ ไม่ออก
ปรากฏการณ์ ชาตินิยมในการเมืองไทยระยะหลังมานี้ทำาให้ผมรู้สึกคล้ายที่ Michael Palin
ตลกปัญญาชนชื่อดังของอังกฤษซึ่งระยะหลังหันมาเอาดีด้านถ่ายทำาและเขียนสารคดี ท่องเที่ยวทั่ว
โลก แกรำาพึงซำ้าแล้วซำ้าอีกในฉากจบซำ้าแล้วซำ้าอีกของรายการตลกทีวี Monty Python"s Flying
Circus ตอนที่ 16 ซึ่งแพร่ภาพทางสถานีโทรทัศน์ BBC เมื่อ 29 กันยายน ค.ศ.1970 ว่า : -

"I have this terrible feeling of deja vu..."

("ผมรู้สึกแย่มากคล้ายกับว่าเคยเห็นเรื่องแบบนี้มาก่อนแล้ว...")

นอกจากนี้ ผมเชื่อว่าผู้อภิปรายท่านอื่นคงจะพูดถึงเรื่องนี้อยู่แล้ว ก็เลยอยากลองหันมาพูด


ถึง "ชุมชนจินตกรรม" ในฐานะคนสอนหนังสือเล่มนี้บา้ งว่าเท่าที่ทำามาได้ประสบการณ์แง่คิดอะไร
พอมา เล่าสู่กันฟัง
หนังสือ "Imagined Communities" ในสำยตำอำจำรย์ฝรั่ง

Fred Halliday
แรงบันดาลใจให้ผมอยากหันมาอภิปรายในฐานะคนสอนหนังสือเล่มนี้มา
จากบทความชิ้น หนึ่งของศาสตราจารย์ Fred Halliday ชื่อ "The revenge of
ideas : Karl Polanyi and Susan Strange", openDemocracy, 24 September
2008, www.opendemcoracy.net
Fred Halliday เป็นอดีตอาจารย์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศชื่อดังที่ London School of
Economics and Political Science แห่งมหาวิทยาลัยลอนดอน, อดีตสมาชิกกองบรรณาธิการ New
Left Review อันขึ้นชื่อว่าเป็นวารสารวิชาการฝ่ายซ้ายชั้นนำาของโลกที่ยืนนานมาร่วมกึ่ง ศตวรรษ,
เขาเป็นเพื่อนร่วมชาติชาวไอริชของครูเบ็นและปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ทำางาน วิจัยอยู่ที่ The
Barcelona Institute for International Relations ในสเปน
อันที่จริงบทความของ Halliday ชิน้ นี้มุ่งอภิปรายความคิดของนักเศรษฐศาสตร์การเมืองชั้น
นำาผู้ล่วงลับไปแล้ว 2 ท่านได้แก่ Karl Polanyi (ค.ศ.1886-1964) กับ Susan Strange (ค.ศ.1923-
1998) ซึ่งต่างก็บุกเบิกการวิเคราะห์วิจารณ์เศรษฐกิจทุนนิยมตลาดเสรีโดยเฉพาะภาค การเงินทั้งใน
ระดับประเทศและโลกอย่างสำาคัญ ซึ่งความคิดดังกล่าวกลับมาสอดรับกับสถานการณ์วิกฤต
เศรษฐกิจโลกปัจจุบันอย่าง เหมาะเจาะสาสมยิ่ง ทว่าบังเอิญตอนต้นบทความนั้น Halliday ได้เล่า
ประสบการณ์สอนหนังสือ 20 กว่าปีของเขาประกอบอย่างน่าสนใจด้วยว่า : -

" มีหนังสืออยู่ 3 เล่มที่ผมสอนแล้วอิ่มเอมใจยิ่งเพราะแต่ละเล่มทำาสิ่งที่การศึกษาทั้งหลาย


ทั้ง ปวงควรทำาในแบบของมันเอง นั่นคือท้าทายบรรดาสมมติฐานที่มาจากสามัญสำานึก...

"เล่มแรกคืองานคลาสสิคของ E.H. Carr เรื่อง The Twenty Years" Crisis (ค.ศ.1939)?

"งานยิ่งใหญ่ที่ปลุกกระตุ้นความคิดเล่มสามคือ The Great Transformation : The Political


and Economic Origins of Our Time (ค.ศ.1944) ของ Karl Polanyi...

"ส่วนหนังสือสำาคัญเล่มสองนัน้ ได้แก่ Imagined Communities (ค.ศ.1983) ของเบเนดิก


แอนเดอร์สัน อันเป็นงานศึกษาว่าอารมณ์ความรู้สึกและความเกี่ยวดองเชื่อมโยงของบรรดาผู้คน ที่
เอาเข้าจริงไม่เคยประสบพบพานหรือติดต่อกันโดยตรงเลยนั้นมันรวมกันก่อตัว เป็นเอกลักษณ์ร่วม
ที่พวกเขาเข้าใจว่าเป็นเอกลักษณ์แห่งชาติได้อย่างไร, และยังศึกษาเนื้อแท้ที่มีลักษณะพลการและ
ประดิดประดอยขึ้น (แม้บ่อยครั้งจะเหลือวิสัยจะไปยับยั้งทัดทานได้) ของการนับเนื่องสังกัดที่เพิ่ง
ปรากฏขึ้นนี้...
"การได้เอ่ยบอกคน หนุ่มสาวเรือนร้อยจากทั่วโลกว่านี่รู้ไหมชาติต่างๆ อันเป็นที่รักยิ่งของ
พวกเขานั้นอันที่จริงมันเป็นของสมัยใหม่ ไม่ใช่โบรำ่าโบราณ, มันมีฐานความเป็นจริงทางภาววิสัย
รองรับมากกว่าความภักดีของแฟนสโมสรฟุตบอล ทั้งหลายแหล่แค่นิดเดียว, และแนวคิด "ชาติ"
เองเป็นสิ่งต้องสงสัยซักถามได้ทั้งในทางการวิเคราะห์และศีลธรรมนั้น นับเป็นความสุขใจแบบไม่
ถือชาติที่หาได้ยากของอาจารย์ผู้สอนเลยทีเดียว

"ถ้าพวกเขาจำาอะไรอื่นที่ผมสอนไม่ได้เลยละก็ ผมหวังว่าพวกเขาจะจำาสิ่งนั้นได้"
สอนหนังสือชุมชนจินตกรรมของครูเบ็น

เวลาผมสอน หนังสือ "Imagined Communities" ให้นักศึกษาที่ผ่านมา ก็มีประสบการณ์


ความรู้สึกสนุกสุขใจสะใจที่ได้สอนเรื่องชาติไทย-ชาตินิยมไทย -ความเป็นไทย คล้ายอาจารย์ Fred
Halliday เช่นกัน จึงใคร่ขอยกบางฉากบางตอนมาเป็นตัวอย่างเล่าสู่กันฟังดังนี้ : -

1) เมื่อสอนเรื่อง "Concepts and Definitions" (แนวความคิดและคำาจำากัดความ) ของชาติใน


บทที่ 1 Introduction ของหนังสือ ปัญหาแรกที่เจอคือนักศึกษาไทยคุ้นชินอยู่ใต้มนต์สะกดของ
Reification ของชาติ คือยึดมั่นถือมั่นว่าชาติเป็นวัตถุสิ่งของก้อนกายภาพจริงๆ เป็นตัวเป็นตนอย่าง
ไม่ค่อยเคยนึกสงสัย ฉะนั้น ภารกิจอันแรกคือต้องร้องทักให้พวกเขารู้สึกตัวและสลัดมายาคติอันนี้
ไปเสีย ก่อน ทำายังไงให้เกิด the shock of recognition หรืออาการตื่นตระหนักรู้ได้ว่าชาติเป็นของ
จินตกรรมหรือติ๊งต่างขึน้ ?
ปกติผมจะถามนักศึกษาว่า เคยเห็นชาติไทยไหม? แบบเห็นด้วยตาเปล่าของตัวเองน่ะ?
นักศึกษาส่วนใหญ่จะงง แต่บ้างจะหลุดปากว่าเคย ทว่าพอซักไซ้ไล่เลียงเข้าก็จะพบว่าสิ่งที่
เขาเห็นเป็นเพียงบางส่วนบางเสี้ยว (ตรอกซอย, ถนน, เมือง, หมู่บา้ น, ตำาบล ฯลฯ) หรือสัญลักษณ์
ของชาติ (เช่น ธงชาติ) เท่านั้น ไม่ใช่ชาติไทยทั้งหมดจริงๆ
ดูเหมือนทางเดียวที่ จะเห็นชาติไทยทั้งหมดได้คือเหาะออกไปในอวกาศแล้วมองลงมาบน
พื้นโลกส่วนนี้ แต่แน่นอน ต่อให้ขี่ยานอวกาศหรือดาวเทียมออกไปนอกโลกได้ มองลงมาก็ไม่เห็น
ชาติไทยอยู่ดี จะเห็นแต่พื้นที่หลากสีสันเขียวๆ ฟ้าๆ ติดเป็นพืดไปหมด แยกไม่ออกบอกไม่ถูกว่า
ตรงไหนไทย/พม่า/ลาว/เขมร/มาเลเซีย ฯลฯ อย่างเป็นเอกเทศชัดเจน
ตกลงชาติจึงเป็นสิ่งที่เราลืมตาแล้วไม่เห็น แต่ถ้าลองหลับตาล่ะ จะเห็นชาติไทยไหม?
ปรากฏว่าเมื่อพวกเขาลองหลับตาดูก็พลันเกิดนิมิตหมายเห็นชาติไทยสว่างวาบขึ้นมาทันที
เห็นเป็นรูปขวานหรือกระบวยตักนำ้า
ซึ่งเอาเข้าจริงก็มีอยู่แต่ในแผนที่เท่านั้น ไม่มีให้เห็นได้ข้างนอก!
ชาติจงึ เป็นความจริงชนิดทีค่ ณุ ต้อง (หลับหู?) หลับตาแล้วจึงเห็นเป็นสิง่ ทีส่ ร้างด้วยจินตกรรม

2) เรือ่ งทีท่ ำาความเข้าใจยากทีส่ ดุ เรือ่ งหนึง่ ในหนังสือ "ชุมชนจินตกรรม" ของครูเบ็นคือเรือ่ ง


"Apprehensions of Time" (ความเข้าใจเรือ่ งกาลเวลา) ในบทที่ 2 Cultural Roots (รากฐานทางวัฒนธรรม)
และประเด็นสำาคัญทีส่ ดุ ในเรือ่ งนัน้ คือการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างการ คิดเข้าใจเรือ่ งเวลาแบบ
Messianic time (กาลเวลาแบบเมสไซอาห์) ในยุคกลางก่อนมีชาติ กับแบบ homogeneous, empty time (
สุญกาลสหมิต)ิ ในยุคสมัยใหม่ซงึ่ เป็นเงือ่ นไขให้สามารถจินตกรรมชาติได้
อะไรคือ Messianic time ซึ่งเอื้อให้เกิดการเข้าใจเวลาแบบ simultaneity-along-time (อดีต-
ปัจจุบัน-อนาคตเกิดพร้อมกัน)? อะไรคือ Homogeneous, empty time ซึ่งเอื้อให้เกิดการเข้าใจเวลา
แบบ simultaneity-across-time (เหตุเกิดพร้อมกันในขณะเดียวกัน)? อันหลังเข้าใจได้ไม่ยากนัก
เพราะเป็นคติเวลาแบบที่เราคุ้นชินอยู่ในนิยายและ หนังสือพิมพ์ แต่อันแรกไม่ง่าย...
วิธขี องผมคือยกตัวอย่างบทสนทนาระหว่างผมกับภริยานานมาแล้ว กล่าวคือจู่ๆ วันหนึ่ง
ระหว่างให้นมลูก เธอก็ถามผมว่า

"เกษียร รูไ้ หมทำาไมตัวถึงเข้าป่า?"

ผมก็วิเคราะห์บรรยายเป็นคุ้งเป็นแควตามประสานักรัฐศาสตร์วา่ เป็นเหตุผลการเมืองผสม
ศรัทธาอุดมการณ์บวกความคับแค้นส่วนตัว ฯลฯ

เมียผมส่ายหน้าแล้วบอกว่า : -

"ม่ายช่าย...ที่ตัวเข้าป่าก็เพราะถ้าตัวไม่เข้าป่า เราก็ไม่ได้เจอกันน่ะซี"

ผมฟังแล้วถึงกับอึ้ง...แต่คิดๆ ดูก็เอ้อจริงนะครับ เพราะถ้าไม่เข้าป่า ผมก็คงเรียนจบไป


ตั้งแต่ปี 2521 และคลาดกับภริยาซึ่งเพิ่งเข้าธรรมศาสตร์ภายหลัง
แต่เพราะผมเข้าป่าไปหลายปี และออกจากป่ามาคืนสภาพ ก็เลยได้เจอภริยา รักชอบกันและ
แต่งงานอยู่กินมีลูกด้วยกัน
ภาษาไทยเรียกเรื่องทำานองนี้ ว่า "พรหมลิขิต" วิธคี ิดแบบ "พรหมลิขิต" (Messianic time)
ซึ่งผลเกิดก่อนเหตุ (เหตุ : พรหมลิขิตไว้ให้ได้เจอเมียปี 2525; ผล : จึงเข้าป่าตั้งแต่ปี 2519) กลับ
ตาลปัตรกับวิธีคิดปัจจุบันของเราที่เหตุเกิดก่อนผล (เหตุ : ถูกฆ่าหมู่และรัฐประหาร 6 ตุลาคม 2519;
ผล : จึงเข้าป่าเมื่อ 5 ธันวาคม 2519)
นัน่ หมายความว่ามีใครคนหนึ่งอยู่เบื้องบนลิบๆ นูน่ คอยกำากับการแสดงที่เกิดขึ้นแล้วใน
อดีต-และที่จะเกิดขึ้นในอนาคต-อยู่ใน ปัจจุบันนี้พร้อมเพรียงกันไป ท่านมีทิพยเนตรที่เล็งแลเห็น
ถ้วนตลอดกระบวนเวลา (simultaneity-along-time) นัน่ เทียว

3) นิยาย, หนังสือพิมพ์, ทุนนิยมการพิมพ์, ตลาดผู้อา่ น, ภาษาท้องถิ่น ฯลฯ เหตุปัจจัยเหล่านี้


เกี่ยวข้องกับการกำาเนิดจิตสำานึกเรื่องชาติอย่างไร? เป็นคำาถามคลุมท้ายบทที่ 2 Cultural Roots ต่อ
ตลอดบทที่ 3 The Origins of National Consciousness (กำาเนิดของสำานึกแห่งความเป็นชาติ) ซึ่งไม่
ง่ายที่จะเข้าใจ และน่าอัศจรรย์ที่ครูคิดได้ยังไง - ที่เชื่อมโยงสิ่งของปรากฏการณ์เล็กใหญ่แตกต่าง
หลากหลายเหล่านี้ร้อยเรียง เข้าด้วยกันเป็นเรื่องเป็นราวได้
ผมเห็นว่าปมสำาคัญคือ ควรเข้าใจว่าที่ครูเบ็นทำาคือพยายามเล่าประวัติเชิงวัตถุนิยม
วัฒนธรรมของ เงื่อนไขความเป็นไปได้ในการคิดชาติได้ (a cultural materialist historical account
of the conditions and possibility of the perception of nation)
มัน จึงไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 เดียวกันนั้น นิยายหลายเรื่องของ
Charles Dickens เล่าฉากกรุงลอนดอนจาก bird"s-eye view หรือวิวตานก หรือบรรยายฉากครอบ
คลุมทั่วโรงงานเหมือนมองจากหลังคาลงมา ประหนึ่งผู้เขียนมีหูทิพย์ตาทิพย์ติดปีกเหาะขึ้นไปได้
แล้วจินตกรรม "เห็น" หน่วยสังคมทั้งหมดในคราวเดียว
อีกทั้งไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่เครื่องมือสำารวจสถิติและสำามะโนครัวประชากรพัฒนาขึ้นมาเพื่อ
ป้อนข้อมูลดิบช่วยให้ผู้ ปกครองสามารถหลับตาวาดภาพ "เห็น" หน่วยการเมืองทั้งหมดใต้อำานาจ
ปกครองของตนในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน

4) อาการร่วมอย่างหนึ่งของนักศึกษาหลายรายที่ถูกปลุกให้ตื่นขึ้นมา "ไม่เห็น" ชาติ


เรียบร้อยแล้วก็คือ ตื่นเต้นในความรู้ความเข้าใจใหม่ เกิดความภาคภูมิทะนงตน พาลเกลียดชาติ มอง
ชาติไม่ขึ้น และยิ้มหยันเยาะเย้ยพวกที่ยังเชื่อชาติและรักชาติว่าช่างโง่เขลาเบาปัญญาดวง ตาไม่เห็น
ธรรมเสียนี่กระไร
ผมคิดว่านี่เป็นอาการคล้าย "สาวแรกรุ่นตื่นนมต้ม" ของตัวเอง แล้วหันไปเยาะเย้ยเพื่อนร่วม
รุ่นที่หน้าอกยังไม่อวบขึ้นว่าไม่สมหญิง.....
การ เข้าใจสิ่งใหม่ไม่มีอะไรผิด แต่ถ้ามันกระจ่างจ้าเสียจนตาลายพาลไม่เห็นความจริงอย่าง
อื่นด้านอื่น ดูถูกดูเบาความจริงเหล่านั้น อหังการมมังการ ก็เลยจะพลอยเป็นอุปสรรคขัดขวางความ
เข้าใจสืบต่อไปของตัวเอง
เพราะเรา ไม่ควรลืมว่า คำาถามนำาอย่างหนึ่งของครูเบ็นใน "ชุมชนจินตกรรม" คือทำาไมคน
นับร้อยๆ ล้านทั่วโลกจึงรักของที่ไม่อาจเห็นได้ด้วยตาเปล่า ไม่ใช่วัตถุสิ่งของกายภาพจริงๆ หาก
จินตกรรมหรือติ๊งต่างขึน้ ถึงแก่ยอมฆ่าและยอมตาย ยอมเสียสละอย่างใหญ่หลวงกระทั่งพลีเลือด
เนื้อชีวิตตัวเองเพื่อจินตกรรมอัน นีต้ ลอดประวัติศาสตร์สองศตวรรษที่ผ่านมา? พลังของมันอยู่ตรง
ไหน? มันทำางานอย่างไร? และในทางกลับกัน มันมีคุณมีด้านบวกอย่างไรบ้างต่อการต่อสู้ของผู้ถูก
กดขี่รังแกที่ผา่ นมา?
ผมเห็นว่าตัวแทนเด่นชัดทีส่ ดุ ของอาการเกลียดชาตินยิ มจนสุดโต่งดังกล่าวในวง วิชาการไทยศึกษา
คือเพือ่ นเกลอผมเอง ศาสตราจารย์ ดร. ธงชัย วินจิ จะกูล แห่งมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน ดังเขาได้เขียนไว้ใน
บทความหลากชิน้ ระยะหลังนี้ รวมทัง้ บทวิจารณ์ทเี่ ขาขยายความจากบทสรุปของงานวิจยั เรือ่ ง "๖ ตุลาฯใน
ความทรงจำาของฝ่ายขวา" (๒๕๕๑) ทีเ่ ขาบ่นว่า "อดีตซ้าย-อดีตขวาสามัคคีตา้ นทุนนิยมและอเมริกา" จนเป็นที่
ตืน่ เต้นฮือฮาในหมูผ่ สู้ นใจการก่อตัวประท้วงของพันธมิตรประชาชน เพือ่ ประชาธิปไตยทัง้ หลาย
เมื่อผมได้อ่านบทวิจารณ์ของธงชัยชิน้ นี้ ผมเขียนอี-เมลตอบเขาไปตอนหนึ่งว่า: -

Kasian: "Someone may be tempted in a not too distant future to summarize this debate among the
old left as follows: Somsak blames it on PAD-ism; Thongchai blames it on nationalism; Kasian
blames it on capitalism."
(" ในอนาคตอันไม่ไกลนัก ใครสักคนอาจนึกใคร่จะสรุปข้อถกเถียงในหมู่ซ้ายเก่าดังนี้: สมศักดิ์โทษ
ลัทธิ พธม., ธงชัยโทษลัทธิชาตินิยม, เกษียรโทษลัทธิทุนนิยม")

ซึ่งธงชัยก็ตอบมาว่า

Thongchai: "This summary is fantastic. I think it captures lots of questions, differences, problems,
strength and weakness of one another."
("ข้อสรุปนี้วิเศษมาก ผมคิดว่ามันจับประเด็นคำาถาม, ความแตกต่าง, ปัญหา, จุดแข็งและจุดอ่อนของ
กันและกันได้มากมายทีเดียว")

ผมอยากเรียนว่าการที่พวกชาตินิยมที่เป็นอดีตซ้าย-อดีตขวาหันมาจับมือกันต่อต้านสิ่งที่
พวกเขาเห็นเป็นภัยทุนนิยมโลกาภิวัตน์นั้น
มันก็ไม่ต่างจากการที่พวกต่อต้านชาตินิยมที่เป็นอดีตซ้ายหันมาขานรับสนับสนุน พวก
เสรีนิยมใหม่ฝ่ายขวาตะวันตก เพื่อต่อต้านกลุ่มทุนเก่าผูกขาดที่อ้างราชาชาตินิยมในไทยตอนเกิด
วิกฤต เศรษฐกิจปี 2540
และมันก็ไม่ต่างจากการที่พวกต่อต้านฝ่ายนิยมเจ้าที่เป็นอดีตซ้ายหันมาปกป้องแก้ต่างร้อง
เชียร์กลุ่มทุนใหญ่ผูกขาดทางธุรกิจการ เมืองของไทยและด่ากราดผู้ที่บังอาจวิจารณ์กลุ่มทุนใหญ่นั้น
โดยไม่ฟังเสียง ใครสุดลิ่มทิ่มประตู เพื่อต่อต้านพันธมิตรศักดินา-อำามาตยาธิปไตยในปัจจุบันพวก
เราพวกเขาต่างก็ เลือกข้างเลือกฝ่ายตามอคติทางอุดมการณ์ของตนในสถานการณ์เฉพาะที่เปลี่ยนไป
กันทั้งนั้น - เป็นธรรมดา

ขอแต่อย่าสุดโต่งจนไม่เห็นปัญหาด้านอื่น ไม่เห็นจุดบอด จุดอ่อน ลักษณะเฉพาะด้าน


เฉพาะส่วนของทรรศนะอคติของตน จนดูถูกดูหมิ่นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนที่มองต่างไป
หมดเท่านั้นเอง

ที่มา หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน หน้า 6


6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11290
13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11297
20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11304

Das könnte Ihnen auch gefallen