Sie sind auf Seite 1von 39

เจริญพงศ์ พรหมศร 5110022007

School of Athens by Raphael Sanzio

ปรัชญาการเมืองคือการศึกษาถึงวิถีชีวิตทางสังคมตลอดจน
วิถีชีวิตทางการเมืองของมนุษย์ ปัญหาที่ปรัชญาการเมืองศึกษาจึง
เป็นเรื่องของสังคม (Society) และรัฐ (State) ทั้งในแง่ของธรรมชาติ
(Essence) บ่อเกิดและต้นกำาเนิด (Origin) และคุณค่า (Value) ของรัฐและ
สังคมซึ่งรวมไปถึงสถานะและคุณค่าทีจ ่ ะทำาให้มนุษย์อยู่ในสังคม
และการเมืองนั้นอย่างมีคณ ุ ค่า สิ่งเหล่านั้นได้แก่ ความยุติธรรม
(Justice) ความเสมอภาค (Equality) ภารดรภาพ (Fraternity or Brotherhood) และ
เสรีภาพ (Liberty or Freedom) ศีลธรรม (Morality) คุณธรรม (Virtues) ตลอดจน

สิทธิมนุษยชน โลกทัศน์และพัฒนาการ 1
เจริญพงศ์ พรหมศร 5110022007

สิ่งทีเ่ รียกว่า สิทธิตามธรรมชาติ (Natural Right) ของมนุษย์ว่าประกอบ


ด้วยอะไรบ้าง มนุษย์นั้นเป็นสิ่งมีชีวิตที่พิเศษกว่าสิ่งอื่น ๆ เพราะ
สามารถใช้เหตุผลคิดคำานึงถึงเรื่องราวต่าง ๆ ได้ และสิ่งที่มนุษย์คิด
คำานึงเสมอมาตั้งแต่โบราณกาลจนกระทั่งในปัจจุบันนั้นคือ จนอาจ
จะกล่าวได้ว่าเป็นข้อคิดคำานึงอมตะทางปรัชญา (philosophia parennis) คือ
เรา (มนุษย์) คืออะไร เราเกิดมาเพื่ออะไร เรามีจด ุ มุ่งหมายอะไรใน
ชีวิต ซึ่ง ณ สถานการณ์ปัจจุบัน คำาถามสำาคัญทั้งในทางปรัชญาและ
ประยุกต์วิทยาคือ เราจะสามารถพัฒนามวลมนุษยชาติให้มีความ
เป็นเลิศ (human excellence) อันจะนำาสังคมโลกไปสู่สภาวะอันเป็นสันตินิ
รันดร์ (protracted peace) ได้เช่นไร
การศึกษาเรือ ่ งสิทธิมนุษยชนในโลกทัศน์ของตะวันตกนั้น
ควรจะเริม ่ ต้นที่การทำาความเข้าใจในเรือ ่ งของสิทธิธรรมชาติ (Natural
Right) เสียก่อน เนื่องจาก สิทธิตามธรรมชาติเป็นความคิดพื้นฐาน
แรกสุดที่จะพัฒนาเป็นสิทธิมนุษยชนในลักษณะทีเ่ น้นในเรื่องการ
รับรองสิทธิของปัจเจกชนในทรัพย์สิน (Properties individualism) และ
พัฒนามาเป็นการให้ความสำาคัญกับเกียรติ (dignity) เสรีภาพ (freedom)
ความเสมอภาค (equality) ภารดรภาพ (fraternity) ความยุติธรรม (justice)
และสันติภาพ (peace) ดังปรากฎอยู่ในปฏิญญาสากลว่าด้วยคำา
ประกาศสิทธิมนุษย์ชนในปัจจุบัน
ปรัชญาการเมืองได้ให้ทัศนะต่อความสิทธิของมนุษย์ไว้อย่าง
หลากหลายและมีพัฒนาการตามยุคสมัยต่าง ๆ ทั้งนี้เพราะแรกเริ่ม
นั้นนักปรัชญาการเมืองเป็นกลุม ่ คนที่เรียกว่านักเหตุผลนิยม จึง
พยายามหาสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสมต่าง ๆ ด้วยการใช้เหตุผลของตน
นักปรัชญากลุม ่ นี้คือนักปรัชญาสมัยกรีกโบราณ เช่น เปลโต และ
อริสโตเติล เป็นต้น ต่อมาในยุคที่ศาสนาคริสต์มีอิทธิพลต่อการ
ปกครองบ้านเมือง ปรัชญาการเมืองจึงถูกผสมผสานด้วยหลักความ
ศรัทธาในคริสตศาสตร์และถูกอธิบายโดยให้เหตุผลยึดโยงกับหลัก
ศาสนาบัญญัติทั้งหลาย ลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นในยุคกลางและยุคต้น
ของการฟื้นฟูศิลปวิทยาการ เช่น เซนต์ออกัสติน และ เซนต์ อไค
วนาสเป็นต้น ต่อมา เมื่อการเมืองการปกครองทวีความเข้มแข็งมาก
ขึ้น การขยายตัวของชนชั้นกลาง และการเกิดขึ้นของรัฐชาติ
ประกอบกับการเสื่อมถอยของอิทธิพลที่ศาสนจักรมีต่อการเมืองการ
ปกครอง ทำาให้นักปรัชญาการเมืองรุ่นใหม่มีลักษณะที่เรียกว่า
มนุษย์นิยมซึ่งพยายามลดบทบาทของพระเจ้า (ทีม ่ ีศาสนจักรเป็น

สิทธิมนุษยชน โลกทัศน์และพัฒนาการ 2
เจริญพงศ์ พรหมศร 5110022007

ตัวแทน) ในการเมือง และเพิ่มสิทธิตา่ ง ๆ ให้กับพลเมืองของรัฐ นัก


ปรัชญาในยุคนี้เช่น มาคิอาเวลลิ และ จอห์น ลอค เป็นต้น

“ ”
:

การศึกษาปรัชญาการเมืองตะวันตกมักจะเริม ่ ต้นที่ปรัชญา
กรีกในยุคโบราณโดยนักปราชญ์ 2 คนที่มักจะได้รับการกล่าวอ้างอ
ย่างสมำ่าเสมอคือ เปลโต (Plato) และ อริสโตเติล (Aristotle) ทั้งสองเป็น
นักปราชญ์ทม ี่ ีชีวิตอยู่ในช่วง พ.ศ. 100-200 โดยประมาณ โดยที่ เปลโต
นั้นเป็นศิษย์ของโสเกรตีส และ อริสโตเติล นั้นเป็นศิษย์ของเปลโต
อีกทีหนึ่ง สิ่งที่นักปราชญ์ทั้งสองท่านสนใจมีทั้งเรื่องคุณธรรม
จริยธรรม ความสำาคัญของชีวิต และรูปแบบที่ดีทส ี่ ุดในการอยู่ด้วย
A
กันในสังคม ตลอดจนการค้นหาเป้าหมายทีส ่ มบูรณ์สูงสุดในชีวิต
ซึ่งเป็นที่มาของปรัชญาการเมืองที่คนรุ่นหลังได้ศึกษากันในเวลา
ต่อมา

Plato (Πλάτων)

เปลโต (Plato ประมาณ พ.ศ. 115-195) เสนอว่า มนุษย์เป็นสัตว์


สังคม (Social Animal) โดยมนุษย์ไม่สามารถทีจ ่ ะเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้
หากเขามีชีวิตโดดเดี่ยวจากรัฐ เพราะรัฐคือสถานที่ที่ผู้คนมารวมกัน
เพื่อที่จะได้ช่วยเหลือพึ่งพากัน ได้ศึกษาเรียนรูส ้ ิ่งต่าง ๆ จากกันและ

สิทธิมนุษยชน โลกทัศน์และพัฒนาการ 3
เจริญพงศ์ พรหมศร 5110022007

กัน ดังนั้น รัฐจึงเป็นมีความจำาเป็นเพราะเป็นสิ่งทีจ ่ ะส่งเสริมให้คน


มีคณุ งามความดีและมีความสุขจากการดำารงชีวิตร่วมกันของทุกคน
ภายในรัฐB ดังนั้นรัฐจึงเป็นสถานที่คุ้มครองปกป้องและคอยอำานวย
ให้มนุษย์ทั้งหลายมีความเจริญไปด้วย ในเรื่องของความเสมอภาค
นั้น เปลโต เชือ ่ ว่า มนุษย์เมื่อมาอยู่ในรัฐจะต้องมีหน้าที่ที่แตกต่าง
กันไปตามความสามารถของตน ในเรื่องนี้เปลโต้กำาหนด “ชั้น”
(Class) ของคนในสังคมไว้ 3 ระดับ คือ ชนชั้นผู้ปกครอง (Ruling / Guardian
Class) ชนชั้นขุนศึกและข้าราชการ (Warrior / Military Class) และ ชนชั้นผู้
ผลิต (Industrial / Lower Class) ซึ่งการจะเข้าสู่ชั้นต่าง ๆ ตามที่เปลโต้ได้อ้าง
ไว้นั้น จะต้องผ่านการฝึกฝนและคัดเลือก ดังที่เปลโต้ได้กำาหนด
แนวทางไว้ดังนี้C
1. ช่วงแรกของชีวิตให้ฝึกร่างกายให้แข็งแรงสมบูรณ์ ทั้งใน
ด้านการบริหารร่างกายและการมีโภชนาการที่สมบูรณ์
และได้รับการอบรมเรือ ่ งดนตรีเพื่อส่งเสริมลักษณะสังคม
ที่รัฐพึงปราถนา ในขั้นนี้จะอบรมตั้งแต่เมื่อเริ่มเติบโต
จนถึงอายุ 18 ปี และจะอบรมด้านการทหารต่ออีก 2 ปี
สำาหรับผู้ที่ไม่ผ่านการอบรมในช่วง 20 ปีแรกนี้ ถือว่าจะ
หน้าทีเ่ ป็นชนชั้นผลิตของสังคม
2. การศึกษาในช่วงที่สอง เป็นการเพิ่มพูนความรู้ทาง
วิชาการ มีกำาหนดระยะเวลา 15 ปี โดยในช่วง 10 ปีแรก จะ
ทุ่มเทการศึกษาที่ได้รับไปที่วิชาคณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์
และใน 5 ปีต่อมาจะมุ่งการศึกษาไปในเรื่องของวิชา
ตรรกศาสตร์ หรือ ปรัชญา ซึ่งถือเป็นช่วงสำาคัญเพราะ
เป็นการศึกษาเพื่อกำาหนดคุณธรรมและคุณงามความดีทั้ง
หลาย เมือ ่ ศึกษาจนครบตามหลักสูตรเหล่านี้ ผู้ศึกษาจะ
มีอายุ 35 ปี ผู้ที่ไม่ผา่ นจะเข้าไปเป็นชนชั้นข้าราชการหรือ
ทหาร ในขณะที่ผท ู้ ี่มีความพร้อมจะได้รับการศึกษาในขั้น
สูงสุดต่อไป
3. การศึกษาในช่วงที่สาม อาจกล่าวได้ว่าเป็นขั้นเหนือ
อุดมศึกษา เนื่องจากเป็นการฝึกอบรมในการปฏิบัติงาน
จริงโดยนำาความรูท ้ ี่เป็นทฤษฏีที่ได้รำ่าเรียนมาใช้ในการ
บริหารบ้านเมืองเป็นระยะเวลา 15 ปี เมือ ่ ปฏิบัติงานได้ครบ
เวลาที่กำาหนด ผู้ศึกษาจะมีอายุ 50 ปี ผู้ศึกษาคนใดที่ผ่านมา
ถึงขึ้นนี้โดยไม่เคยมีประวัติดา่ งพร้อยในการปฏิบัติหน้าที่
ใด ๆ จะได้เข้าเป็นสมาชิกของคณะราชาปราชญ์ (Philosopher

สิทธิมนุษยชน โลกทัศน์และพัฒนาการ 4
เจริญพงศ์ พรหมศร 5110022007

King) ซึ่งเป็นผู้ปกครองรัฐ ทัง้ นี้แม้จะอยู่ในขั้นนี้แล้วก็ยังจะ


ต้องศึกษาหาความรู้ตา่ ง ๆ ตลอดไป

จะเห็นได้ว่า เปลโต ได้กำาหนดสังคมในทัศนะของเขาไว้ใน


ลักษณะของการมีชนชั้นทางสังคม ซึ่งหากพิจารณาอย่างผิวเผิน
แล้วอาจจะเข้าใจได้ว่า เป็นสังคมที่ไม่เสมอภาค และสิทธิของมนุษย์
ทั้งหลายถูกจำากัดอยู่ในชนชั้นที่พวกเขาเหล่านั้นสังกัด อย่างไรก็ดี
หากพิจารณาเพิ่มเติมในกระบวนการที่จะเข้าถึงชนชั้นต่าง ๆ นั้น
จะพบว่า พลเมืองมีสิทธิ์ทจ ี่ ะเข้าถึงชนชั้นต่าง ๆ ด้วยความสามารถ
ของตน นอกจากนี้ หากจะพิจารณาเพิ่มเติมในเรื่องจริยธรรมที่
เปลโต ได้กำาหนดไว้เพื่อไม่ให้ชนชั้นปกครองสามารถเอาเปรียบ
ชนชั้นใต้ปกครองได้ คือ
1. เด็ก ไม่ว่าชายหรือหญิง เกิดจากชนชั้นใดก็ตาม หากมี
ความสามารถ ย่อมได้รับการศึกษาอบรมเท่าเทียมกันทั้ง
สองเพศ
2. หญิงชายที่ได้รับเลือกให้เป็นชนชั้นปกครองแล้ว ย่อม
ปราศจากครอบครัว โดยบุตรธิดาทีก ่ ำาเนิดจากบุคคลเหล่า
นี้ย่อมเป็นของส่วนรวม มีผู้รับหน้าทีเ่ ลี้ยงดูเพื่อฝึกฝนให้
เป็นผู้ปกครองรัฐที่สามารถ โดยอาศัยและเลี้ยงดูในโรง
ทหาร กินนอนร่วมกันกับเด็กอื่น ๆ และไม่มีสมบัติส่วนตัว
เพื่อให้เด็กเหล่านี้ปราศจากความเห็นแก่ตัว และอยูร ่ ่วม
กันเพื่อส่วนรวมอย่างแท้จริง
3. เฉพาะคนที่เลือกสรรและได้รับการศึกษาจนสูงสุดบริบูรณ์
พร้อมเท่านั้น จึงจะได้เป็นราชาปราชญ์ผู้สามารถปกครอง
รัฐได้

จะเห็นได้ว่า แม้ เปลโต จะกำาหนดให้รัฐประกอบด้วยพลเมือง


3 ชนชั้น ซึ่งมีหน้าที่แตกต่างกัน แต่การเข้าถึงชนชั้นต่าง ๆ ก็เป็นไป
ด้วยความสามารถ ซึ่งถือว่าเป็นสิทธิที่เท่าเทียมกันในด้านโอกาสใน
การทำางาน (Equality in employment opportunities) นอกจากนี้ เปลโต้ ยังให้
ความเสมอภาคทางเพศ โดยเห็นว่าความสามารถมีความสำาคัญกว่า
ดังนั้น แม้จะเป็นเพศหญิงหากมีความสามารถเพียงพอก็สามารถ
ก้าวสู่การเป็นชนชั้นข้าราชการหรือชนชั้นปกครองได้ ในส่วนของ
ชนชั้นปกครองนั้น เปลโต้ ได้วางมาตรฐานเรื่องของความเท่าเทียม
กันเพื่อส่วนรวม โดยลูกหลานของชนชั้นปกครองที่มีความสามารถ
นั้น แม้จะมีสท ิ ธิที่จะสามารถใช้สอยทรัพย์สินสาธารณะแต่ไม่มีสิทธิ

สิทธิมนุษยชน โลกทัศน์และพัฒนาการ 5
เจริญพงศ์ พรหมศร 5110022007

ในการทีจ ่ ะสะสมทรัพย์สินส่วนตัวได้ นอกจากนี้ การมีชีวิตอยู่ของ


ชนชั้นปกครองยังจะต้องมีประโยชน์ต่อส่วนร่วมทั้งหมด ในขณะที่
ความเป็นส่วนตัว เช่น การมีครอบครัว การมีทรัพย์สมบัติของตน
เป็นสิ่งที่เปลโต้กำาหนดไม่ให้มี เป็นต้นD

Early Islamic portrayal of Aristotle


Seyyed Hossein Nasr (1976). Islamic Science:An Illustrated Study, World of Islam Festival Publishing Ltd

อริสโตเติล (Aristotle พ.ศ. 159-221) จากแนวคิดที่ว่า มนุษย์เป็น


สังคมของ เปลโต อริสโตเติล ได้พัฒนาแนวคิดนี้สู่การมองว่ามนุษย์
เป็นสัตว์การเมือง (Political Animal) โดยเห็นสอดคล้องกับ เปลโต รัฐ
(polis) คือสิ่งจำาเป็นของมนุษย์ เพราะเป็นองค์กรทางการเมืองที่ซึ่ง
มนุษย์จะสามารถค้นพบจุดหมายปลายทางของชีวิตได้ เพราะ
มนุษย์เป็นสัตว์ทม ี่ ีความทะยานอยากในอำานาจและสิ่งอื่น ๆ ที่จะ
สามารถตอบสนองต่อความต้องการของเขา หากมนุษย์ไม่อยู่ในรัฐ
ก็จะมีสภาพไม่ตา่ งอะไรจากสัตว์ป่าที่แสวงหาสิ่งทีจ ่ ะตอบสนอง
ความต้องการของเขาด้วย สิ่งที่ตา่ งออกไปคือ การที่อริสโตเติลนั้นมี
ครอบครัวและไม่ได้เป็นเพียงนักคิดเท่านั้น หากแต่ยังนำาความคิด
มาทดลองใช้ โดยมีผลงานทางวิชาการหลากหลายแขนง และยังเปิด
มหาวิทยาลัย (Lyceum) ขึ้นเพื่อสั่งสอนผู้คน นอกจากนี้ยังเป็นอาจารย์
ของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชผู้ครอบครองดินแดนกว้างขวาง
ที่สุดในยุคนั้น

สิทธิมนุษยชน โลกทัศน์และพัฒนาการ 6
เจริญพงศ์ พรหมศร 5110022007

ในเรื่องความเป็นมนุษย์ (human being) นั้น อริสโตเติล มองถึง


มนุษย์ว่า เป็นผู้มีศักยภาพในด้านความคิด และนี่เองที่ทำาให้มนุษย์
แตกต่างกับสัตว์อื่น เพราะมนุษย์คิดได้และมีเหตุผล มนุษย์จึง
แสวงหาหนทางที่จะมีชีวิตที่ประสบความสำาเร็จตามเป้าหมายของ
ตนและภาคภูมิใจและบังเกิดความเคารพในตัวเองกับชีวิตนั้น
อย่างไรก็ดี มนุษย์จะได้รับตอบสนองเป้าหมายตัวเองอย่างดีทส ี่ ุด
เมือ
่ ได้อยู่ในรัฐเท่านั้น และรัฐนี่เองที่จะช่วยให้มนุษย์สามารถอยู่
ด้วยกันได้อย่างมีความสุขและประสบความสำาเร็จได้เป้าหมายของ
ชีวิต โดยรัฐมีความสำาคัญนอกจากการรวบรวมทรัพยากรแล้วสิ่งที่
สำาคัญยิ่งกว่าคือ การให้ความยุติธรรมแก่พลเมืองของรัฐนั้น ๆ
ความยุติธรรมคือคุณธรรมอย่างหนึ่งที่แม้จะไม่สมบูรณ์แต่ก็มี
ความสมบูรณ์ในตัวเอง โดยในทัศนะของอริสโตเติลนั้นมองความ
ยุตธิ รรมเป็นสองอย่างคือ ความยุติธรรมในการแบ่งสันปันส่วน กับ
ความยุติธรรมแห่งความเสมอภาค ดังมีรายละเอียดดังนี้E
1. ความยุติธรรมแห่งการแบ่งสันปันส่วน หมายถึง การที่คน
ที่คุณสมบัติแตกต่างกันควรที่จะได้รับการแบ่งสันปันส่วน
ทรัพยากรที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น คนอ้วน ควรได้
อาหารมากกว่าคนผอม เพราะคนผอมมีความต้องการ
อาหารน้อยกว่าคนอ้วนเป็นต้น
2. ความยุติธรรมแห่งความเสมอภาค หมายถึง ความยุติธรรม
ที่เกิดจากความเสมอภาคทางกฎหมายในเรือ ่ งของการ
พิจารณาทางอรรถคดีความและข้อกฎหมายทั้งปวงนั้น ทุก
คนต้องได้รับการปฏิบัตอ ิ ย่างเท่าเทียมกัน แม้ว่าแต่ละ
บุคคลจะมีสถานะทางสังคมแตกต่างกันก็ตาม เพราะ
กฎหมายฉบับเดียวกันจะต้องบังคับพลเมืองของรัฐทั่วหน้า
อย่างเสมอกัน ไม่ใช่อำานวยความยุติธรรมแต่เพียงบุคคล
กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น

อริสโตเติล มีผลงานชิ้นสำาคัญซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีอยู่ 2 ชิ้น คือ


Politics และ Nichomachean Ethic ทั้งสองเล่มเป็นเรื่องของการเมือง โดย
เฉพาะเล่มที่ชื่อว่า Politics หรือ การเมืองนั้น ได้แบ่งออกเป็น 8 เล่ม
โดยมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับจุดเริ่มต้นของสังคมมนุษย์ สถาบัน
การเมืองในอุดมคติ รัฐธรรมนูญ รูปแบบของการปกครองที่เหมาะ
สมกับพลเมือง องค์กรที่จำาเป็นในการปกครอง การปฏิวัติ สาเหตุ
ที่มา และการป้องกันการปฏิวัติ ลักษณะสำาคัญของระบบ
ประชาธิปไตย วัตถุประสงค์ของมนุษย์ในอุดมคติ และ การศึกษาF

สิทธิมนุษยชน โลกทัศน์และพัฒนาการ 7
เจริญพงศ์ พรหมศร 5110022007

สิ่งสำาคัญที่ปรากฎในหนังสือผลงานชุดดังกล่าวคือ การ
ปฏิเสธระบบการปกครองโดยมนุษย์ (rule of men) อย่างที่ เปลโต้ เสนอ
ในเรื่องของราชาปราชญ์ (philosopher king) และนำาเสนอระบบการ
ปกครองภายด้วยกฏหมาย (rule of law) G โดยอริสโตเติล ได้ให้ทัศนะว่า
ความยุติธรรม (Justice) นั้น เป็นที่ประเสริฐในบรรยากาศทางการ
เมืองและเป็นสิ่งที่จะช่วยส่งเสริมผลประโยชน์ของส่วนรวม ความ
ยุตธ ิ รรมนั้นจะเกิดขึ้นได้เมื่อมนุษย์มีความเท่าเทียมกัน โดยมีหลัก
พิจารณา 2 ประการคือ ความยุตธ ิ รรมแห่งการแบ่งสันปันส่วน และ
ความยุติธรรมแห่งความเสมอภาค ซึ่งทั้งสองอย่างนั้น ตั้งอยู่บน
ปลายทางที่เรียกว่า การได้บรรลุวัตถุประสงค์ในบั้นปลาย (has realized
its telosH) ของความเป็นมนุษย์ตามรูปแบบของศักยภาพมนุษย์ (form of
potential)I โดยทีอ ่ ริสโตเติลเชือ่ ว่า ทุกสิ่งรวมถึงมนุษย์นั้นมี “ภว” หรือ
ความเป็นมา (coming to be) เพื่อการไปสู่วัตถุประสงค์บางอย่าง ทุก
สรรพสิ่งจึงประกอบไปด้วย สาระ (matter) ซึ่งเป็นตัวก่อกำาเนิด และ
แบบ (form) ซึ่งเป็นลักษณะปรากฎในขณะนั้น ๆ และทุกสรรพสิ่ง
ล้วนสามารถเปลีย ่ นเป็นสิ่งต่าง ๆ ตามศักยภาพ (potential) ทีจ
่ ะเป็นไป
ได้ จากสาระและแบบที่ผนึกรวมกันเป็นสิ่งที่เป็นอยู่ (actual) ใน
ปัจจุบันได้โดยสำาหรับมนุษย์นั้นอาจจะเข้าถึงวัตถุประสงค์ดังกล่าว
ได้ด้วยการคิดตรึกตรองและการแสวงหาความรู้ เพราะในทัศนะ
ของอริสโตเติลนั้น ความคิดของมนุษย์คือสาระ ซึ่งแม้จะไม่รูป
ลักษณ์อันเป็นรูปธรรมอันใดเลย แต่ด้วยการศึกษาหาความรู้และ
ถ่ายทอดออกมาอย่างค่อยเป็นค่อยไป มนุษย์ย่อมสามารถที่จะสร้าง
วิทยาการต่าง ๆ ให้ปรากฎขึ้นเป็นแบบที่มอ ี ยู่จริงตามศักยภาพของ
J
ความรู้นั้น ได้
อนึ่ง แนวคิดดังกล่าวนี้ อธิบายอย่างรวบรัดได้ว่า โลก (ซึ่ง
หมายถึงทุกสรรพสิ่ง) ล้วนมีแบบที่สมบูรณ์อยู่แล้ว สาระต่าง ๆ นั้น
สามารถแปรเปลี่ยนแบบได้ อย่างไรก็ดี ทั้งหมดล้วนมีจุดหมาย
ปลายคือการบรรลุวัตถุประสงค์ของสาระและแบบเหล่านั้น ซึ่งใน
เรือ่ งนี้สามารถใช้อธิบายความคิดที่ว่า จักรวาลถูกสร้างขึ้นเพื่อให้
คงอยูต ่ ลอดไปและทุกเหตุการณ์ทเี่ กิดขึ้นในจักรวาลนี้ได้ถูกกำาหนด
ไว้ล่วงหน้าด้วยวัตถุประสงค์ของผู้สร้างเสมอK

จะเห็นได้ว่า ปรัชญากรีกสมัยโบราณให้ความสำาคัญของสิ่ง
สูงสุดของชีวิต มนุษย์ล้วนแต่มีความต้องการและมีศักยภาพที่จะไป

สิทธิมนุษยชน โลกทัศน์และพัฒนาการ 8
เจริญพงศ์ พรหมศร 5110022007

ให้ถึงอุดมคติแห่งความดีงามของชีวิต ในระยะดังกล่าวการพัฒนา
เรือ
่ งความเสมอภาคเริม ่ ปรากฎในทัศนะของนักปราชญ์สมัยกรีก
โบราณซึ่งจะมุ่งเน้นความเสมอภาคในฐานะมนุษย์ผู้มีเหตุผลและ
สามารถใช้เหตุผลคิดตริตรองสิ่งต่าง ๆ ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษต่าง
จากสัตว์โดยทั่วไป แต่ทา่ มกลางความเสมอภาคดังกล่าว ก็ยังความ
แตกต่างกันในเรื่องของศักยภาพทีจ ่ ะพัฒนาไปสู่เป้าหมายปลาย
ทางของชีวิตโดยมีเงือ ่ นไขว่า ความสำาเร็จหรือจะเรียกว่าความ
สมบูรณ์ หรือ ความดีงามของชีวิตก็ได้นั้น จะต้องเกิดขึ้นเพราะ
มนุษย์อยูร่ ่วมกันในสิ่งที่เรียกว่ารัฐ สิ่งที่แตกต่างกันระหว่างนัก
ปราชญ์ทั้งสองท่านในเรื่องของความสิทธิ์แห่งมนุษย์คือก็คอ ื ความ
สิทธิในเรื่องของทรัพย์สิน ในขณะที่เปลโตมุ่งเน้นให้กรรมสิทธิข ์ อง
ทรัพย์สินเป็นของส่วนรวม โดยเฉพาะในส่วนของชนชั้นผู้ปกครอง
ที่กำาหนดถึงขนาดที่ว่าห้ามไม่ให้มีทรัพย์สินส่วนตัว แต่อริสโตเติล
กลับมองว่า พลเมืองทุกคนย่อมมีสิทธิ์ทจ ี่ ะถือกรรมสิทธิ์ใน
ทรัพย์สินได้ มากน้อยอย่างไรนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับความสามารถหรือ
ศักยภาพของเขา แต่ในเรือ ่ งของความเสมอภาคที่มาจากรัฐ เช่น
ความยุติธรรมนั้น ทัง้ สองเห็นครงกันว่า รัฐมีหน้าที่ที่จะต้องอำานวย
ความเสมอภาคให้เกิดขึ้น โดยเปลโตมองว่า รัฐจะต้องให้ความ
เสมอภาคทั้งในด้านทรัพย์สินและการปกครอง ส่วน อริสโตเติล นั้น
มองว่า รัฐจะต้องให้ความสิทธิทางกฎหมายแก่พลเมืองทั้งหลายL
อย่างเสมอภาคกัน เป็นต้น
:

นับจากสมัยกรีกโบราณจนถึงยุคกลาง ปรัชญาการเมืองมี
พัฒนาการทีเ่ ปลี่ยนแปลงไปอย่างสำาคัญหลายด้าน กล่าวคือ จาก
เดิมที่ปรัชญาการเมืองเป็นเรือ ่ งของการแสวงหาคำาตอบถึงสภาวะ
ของมนุษย์และหนทางทีจ ่ ะทำาให้มนุษย์ที่อยู่ร่วมกันในสังคมหรือรัฐ
ได้พบกับความสมบูรณ์สูงสุดในชีวิต มาเป็นการอธิบายสภาวะต่าง
ๆ โดยมีแกนกลางคือศาสนาคริสต์ ซึ่งเชือ ่ ในพระเจ้าผูส ้ ร้างสรรพสิ่ง
เช่นเดียวกับพระผู้เป็นเจ้าในศาสนาอิสลาม ทั้งนี้เพราะในขณะนั้น
ศาสนาคริสต์กำาลังเป็นศาสนาอย่างเป็นทางการของอาณาจักร
โรมันอันศักดิส
์ ิทธิ์อีกทั้งการควบคุมดูแลการพลเมืองอีกทั้งระบบ
การเมืองการปกครองทั้งหลายต่างก็มีศาสนาจักรเป็นศูนย์กลาง ต่อ
มาเมือ
่ อาณาจักรโรมันแตกสลายศาสนาคริสต์กลับยิ่งทวีอิทธิพลต่อ
ระบบการเมืองการปกครองของโลกตะวันตกมากยิ่งขึ้น ทัง้ นี้เพราะ
พวกเยอรมัน เช่นพวกวิซิกอธ (Visigoths หรือที่เรียกอีกชือ ่ ว่า พวก

สิทธิมนุษยชน โลกทัศน์และพัฒนาการ 9
เจริญพงศ์ พรหมศร 5110022007

กอธตะวันตก) พวกแฟรงก์ (Frank) พวกวัลดาล (Vandal) พวกออสโต


รกอธ (Ostrogoths หรือพวกกอธตะวันออก)M ที่รุกรานอาณาจักรโรมัน
นั้นนอกจากจะไม่ต่อต้านศาสนาแล้วยังรับเอาศาสนาเป็นส่วนหนึ่ง
ในการปกครองไปด้วย นอกจากนีเ้ มื่ออาณาจักรโรมันแตกสลาย
ทำาให้เกิดอาณาจักรน้อยใหญ่มากมาย ส่งผลให้เกิดช่องว่างทางการ
ปกครอง เนื่องจากผู้นำาทางโลกนั้นยังไม่มีความสามารถเพียงพอที่
จะดูแลรัฐอิสระน้อยใหญ่ได้ จึงทำาให้ผู้นำาทางธรรมและศาสนาจักร
เข้ามามีอท ิ ธิพลต่อการเมืองการปกครองมากยิ่งขึ้นN
ในยุคสมัยดังกล่าวได้เกิดนักปรัชญาทางศาสนาขึ้นสองท่าน
คือ เซนต์ออกัสติน (St. Augustine of Hippo พ.ศ. 897-973) สังฆราชแห่ง
แอฟริกาผูเ้ ขียน Confessions (คำาสารภาพ) ซึ่งเป็นหนังสืออัตชีวประวัติ
ที่เขียนเชิงการสารภาพบาปต่อพระเจ้า และอีกเล่มหนึ่งคือ De Cevita
Dei หรือในภาษาอังกฤษว่า The City of GOD (นครแห่งพระเจ้า) ซึ่งเป็น
หนังสือศาสนาที่ให้คณ ุ ค่าทางด้านปรัชญาการเมืองเป็นอย่างมากO
อีกท่านหนึ่งที่ควรสนใจอย่างยิ่งคือ เซนต์อไควนาส (St. Thomas Aquinas
พ.ศ. 1768-1817) ซึ่งเป็นนักปรัชญาทางศาสนา (Scholastic philosopher) ทีม
่ ี
ความสำาคัญต่อคริสต์จักรนิกายโรมันคาธอลิกอย่างยิ่ง ดังสมญาว่า
Doctor Angelicus ของท่านP งานเขียนสำาคัญ เช่น Rule of Prince (การ
ปกครองของราชา) และ Summa Theologica เป็นต้น

สิทธิมนุษยชน โลกทัศน์และพัฒนาการ 10
เจริญพงศ์ พรหมศร 5110022007

Augustinus in betrachtendem Gebet by Sandro Botticelli (1480)

(St. Augustine of Hippo . . 897-973)


เขียนหนังสือเรือ ่ ง The City of GOD เพื่อโต้แย้งกับคำากล่าวหาของฝ่าย
มิจฉาทิฐิของคริสตศาสนาที่กล่าวว่า นครโรมันนั้นล่มสลายเพราะ
การรับศาสนาคริสต์เข้ามา ทั้งที่นครแห่งนี้ตั้งมั่นมาได้นับพันปี แต่
ครั้นเมือ
่ รับศาสนาคริสต์มาเป็นศาสนาประจำาอาณาจักรอย่างออก
หน้าออกตาแล้วกลับทำาให้นครดังกล่าวถึงกาลล่มสลายอย่าง
รวดเร็ว เพราะการเปลี่ยนมานับถือคุณธรรมที่ผด ิ ๆ ของศาสนา
คริสต์ เซนต์ออกัสตินจึงใช้เวลากว่า 13 ปีเพื่อเขียนหนังสือดังกล่าว
22 เล่ม และสิ่งที่ได้นั้นมิใช่จะใช้ประโยชน์ได้ในทางศาสนาหรือแค่
ประวัติศาสตร์ปรัชญาเท่านั้นแต่ยังไปไกลถึงการเป็นแม่แบบของ
ปรัชญาการเมืองฝ่ายคริสต์ซึ่งจะมีอิทธิพลต่อปรัชญาการเมืองสมัย
ใหม่ในเวลาต่อมาอีกด้วย
ใน The City of GOD นั้น เซนต์ออกัสตินได้แบ่งโลกออกเป็น 4
ระดับคือ บ้าน หรือ domus เมือง หรือ Civitas โลก หรือ orbis terrae และ
จักรวาล หรือ mundus โดยเมืองของพระเจ้าที่ว่าจะอยู่ในระดับเมือง
บนโลกมนุษย์หรือในจักรวาลของสรวงสวรรค์ก็ได้ โดยอธิบาย
ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้าคือ การทีม ่ นุษย์จะต้อง
ศรัทธาในพระเจ้าว่าสิ่งที่พระองค์ทรงกำาหนดขึ้นมานั้นย่อมเป็นไป
ในทางยุติธรรมเสมอ และ ผูม ้ ีศรัทธาอย่างมั่นคงพระเจ้าย่อม
ประทานพรโดยยกย่องหรือเลือกสรรผู้ทม ี่ ีศรัทธาปสาทะเหล่านี้แม้
จะมีบาปกรรมมากลำ้ากราย แต่เมื่อได้รับพรพิเศษแล้วย่อมที่จะพ้น
บาปไปได้ ทั้งนี้ เซนต์ออกัสตินได้อธิบายว่า ความสัมพันธ์ดังกล่าว

สิทธิมนุษยชน โลกทัศน์และพัฒนาการ 11
เจริญพงศ์ พรหมศร 5110022007

คือความสัมพันธ์ที่จะทำาให้เกิดความยุตธ ิ รรมQ ดังคำากล่าวของเซนต์


ออกัสตินที่ว่า “ถ้าปราศจากความยุตธ ิ รรมเสียแล้ว ราชอาณาจักรก็
มีคา่ เท่ากับซ่องโจร”
เซนต์ออกกัสตินมองว่า เมือ ่ ครั้งสมัยแรกทีม่ นุษย์อาศัยอยู่
ตามธรรมชาตินั้น มนุษย์ทุกคนมีความเสมอภาคกันโดยมีกฎ
ธรรมชาติ (Natural Law) เป็นเครือ ่ งมือในการสร้างสันติภาพในการอยู่
ร่วมกันของมวลมนุษย์ ต่อมาเมื่อสภาพตามธรรมชาติของมนุษย์ถูก
ทำาลายลงด้วยบาป (Sin) มนุษย์แต่ละคนจึงหันไปแสวงหาผล
ประโยชน์ส่วนตน ดังนั้นความเสมอภาคระหว่างมนุษย์ในฐานะผู้
ร่วมโลกจึงหมดสิ้นลง เพราะบาปของมนุษย์ที่มาจากความผิดพลาด
และการรักในสิ่งที่ผิด ดังนั้น รัฐ ผู้ปกครอง กฎหมาย จึงต้องมีขึ้น
เพื่อการรักษาสันติภาพระหว่างมวลมนุษย์ ซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่า ใน
ทัศนะของเซนต์ออกัสตินนั้น รัฐเกิดขึ้นเพราะบาปของมนุษย์
นั่นเองR
เซนต์ออกัสตินเห็นว่า หน้าที่สำาคัญของรัฐคือการ “รักษา
สันติภาพของมวลชน” โดยเน้นยำ้าว่า เฉพาะรัฐทีม ่ ีศาสนาคริสต์
เป็นศาสนาประจำารัฐเท่านั้นจึงสามารถนำาความยุติธรรม (justifia
หรือ justice) ที่เที่ยงแท้ไปสู่ชม ุ ชนได้ เพราะหากไม่ใช่คริสตศาสนา
แล้ว มนุษย์จะทำาได้เพียงการทำาพันธสัญญาให้ประกันสันติภาพ
(Pax) เป็นคราว ๆ ไป แต่จะไม่สามารถให้กำาเนิดความยุติธรรมที่เที่ยง
แท้ (Absolute righteousness) ได้เลย อย่างไรก็ดี เพราะรัฐนั้นประกอบไป
ด้วยพลเมืองที่เป็นคนมีบาปติดตัวแต่กำาเนิดเป็นจำานวนมาก
นอกจากนั้น ยังสามารถประกอบบาปต่าง ๆ ในระหว่างที่มช ี ีวิตอยู่
แต่อาณาจักรนั้นสามารถให้ศีลล้างบาปแก่พลเมืองของรัฐได้ ดังนั้น
ศาสนจักรจึงเป็นเสมือนอาณาจักรของพระเจ้าและด้วยทัศนะเช่น
นี้ ได้ส่งผลให้การปกครองของสันตะปาปาในฐานะของประมุขของ
ศาสนาจักรวาติกันอันศักดิ์สิทธิจ ์ ึงทวีอิทธิพลเป็นอย่างยิ่งในเวลา
S
ต่อมา โดยเซนต์ออกัสติสมีความเชื่อว่ามนุษย์จะดำารงชีวิตอย่ามี
สันติภาพได้นั้น ก็ด้วยอาศัยกฎหมายใหญ่ 2 ประเภท คือT
1. กฎหมายมนุษย์ (Human Law) คือกฎหมายที่มนุษย์บัญญัตข ิ ึ้น
และตั้งเป็นพันธสัญญาต่อกัน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการ
บังคับให้มนุษย์สามารถอยู่ร่วมกันในสังคมหรือรัฐได้อย่าง
มีความสุข

สิทธิมนุษยชน โลกทัศน์และพัฒนาการ 12
เจริญพงศ์ พรหมศร 5110022007

2. ิ ธิ์ (Divine Law) คือกฎของพระเจ้าที่ประทาน


กฎหมายศักดิ์สท
แก่มวลมนุษย์ซึ่งเป็นกฎที่ครอบคลุมถึงความนึกคิดและ
มโนสำานึกของมนุษย์

เนื่องจากมนุษย์จำาเป็นที่จะต้องอยู่ร่วมกันในรัฐการมี
กฎหมายจึงเป็นสิ่งจำาเป็นที่จะจัดระบบความสัมพันธ์ระหว่างกัน
ในเรื่องนี้เซนต์ออกัสตินได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า กฎหมายของ
มนุษย์นั้นเป็นเพียงแค่การทำาพันธสัญญาเพื่อให้ประกันสันติภาพ
(Pax) เป็นคราว ๆ ไป แต่ในกฎหมายศักดิ์สท ิ ธิ์นั้น จะมีความเป็นอัน
หนึ่งอันเดียวกับธรรมชาติ ซึ่งพระเจ้าได้ประทานมาให้มนุษย์มี
ความเหนือกว่าสัตว์ทั้งปวงและมนุษย์จักต้องปฏิบัติตามกฎดังนี้
เพื่อสร้างความยุติธรรม (odr) และดำาเนินชีวิตมุ่งไปสู่สันติภาพที่เที่ยง
แท้ถาวร อันหมายถึงภาวะแห่งความเสมอภาคกันระหว่างมนุษย์
บนกฎแห่งธรรมชาตินั่นเอง

Triumph des Hl. By Thomas von Aquin über Averroes Benozzo Gozzoli (1468-1484)

(St. Thomas Aquinas . . 1768-1817) นัก


ปรัชญาแบบศาสนา (Scholastic philosopher) และเป็นนักคิดที่ยิ่งใหญ่ที่ได้
รับการยอมรับอย่างมากในคริสตศาสนานิกายโรมันคาธอลิก โดยสิ่ง
ที่เซนต์อไควนาสทำาก็คือ การพยายามเชื่อมโยงศรัทธาทางศาสนา
มาสู่ปัญญาของมนุษย์ เนื่องจากก่อนหน้านั้น สัจจะในศาสนาคริ
สตร์ย่อมขึ้นอยู่กับการศรัทธาในพระเจ้าเป็นสำาคัญ โดยความรู้ทั้ง
หลายของมนุษย์นั้นย่อมมาจากการที่พระองค์ทรงเปิดเผยพระ

สิทธิมนุษยชน โลกทัศน์และพัฒนาการ 13
เจริญพงศ์ พรหมศร 5110022007

วิวรณ์ (revealed) ของพระองค์ผ่านศาสดาพยากรณ์และอื่น ๆ ซึ่งสัจจะ


ในลักษณะดังกล่าวย่อมอยู่เหนือเหตุผลทางปัญญา อไควนาสจึงใช้
ปรัชญาว่าวิวรณ์ของพระเจ้าหาได้ขัดกับสติปัญญาของมนุษย์
ในขณะนั้นยุโรปกำาลังเข้าสู่สมัยของการรื้อฟื้นศิลปวิทยาการ
(Renaissance) โดยการอาศัยความรูเ้ กี่ยวกับปรัชญาและโลกของผู้รู้ชาว
อาหรับที่ได้รับมาจากอารยธรรมกรีกมาฟื้นฟูความรู้แบบกรีกใน
สมัยโบราณ ทำาให้ศาสนจักรไม่สามารถปกครองรัฐต่าง ๆ โดยการ
ควบคุมเฉพาะความศรัทธาได้เพียงอย่างเดียว การเกิดขึ้นมาของ
ลัทธิมนุษยนิยมทำาให้มนุษย์ในยุคดังกล่าวเริ่มเห็นความสำาคัญของ
ตัวเองมากกว่าศาสนจักรนอกจากนี้ในยุคสมัยดังกล่าวถือเป็นจุด
กำาเนิดที่สำาคัญต่อการเกิดขึ้นของรัฐชาติในเวลาต่อมาอีกด้วย
เซนต์อไควนาสเชื่อว่า มนุษย์เป็นสัตว์สังคมโดยธรรมชาติ
และเชือ ่ ว่ามนุษย์เป็นสัตว์ทมี่ ีเหตุผล ซึ่งทัศนะนี้สอดคล้องกับความ
คิดของอริสโตเติล โดยทีเ่ ซนต์อไควนาสถือว่าสังคมมีควมสำาคัญต่อ
ปัจเจกบุคคล คนแต่ละคนจะต้องมีชีวิตอยู่ในสังคมจึงจะสามารถมี
ชีวิตทีส่ มกับการเป็นมนุษย์ได้ เหนือไปกว่านั้น แม้แต่การอยู่แต่
เพียงในครอบครัวก็ไม่สามารถทำาให้มนุษย์มีความเป็นมนุษย์ที่
สมบูรณ์ได้ จะต้องมีการรวมตัวกันเป็นชมรมทางการเมืองเพื่อช่วย
เหลือซึ่งกันและกัน โดยรัฐมีความสำาคัญนอกจากการเป็นผู้พิทักษ์
สันติภาพและปกป้องผลประโยชน์ของครอบครัวต่าง ๆ แล้ว ยังจะ
ต้องคอยสอดส่องดูแลให้พละเมืองของรัฐประพฤติตนให้สอดคล้อง
กับเหตุผลรัฐเพื่อที่จะได้ประชาคมที่ดี ชีวิตที่ดต ี ามความหมายของ
เซนต์อไควนาสจึงเป็นชีวิตที่สามารถชำาระล้างบาปของมนุษย์ได้ ดัง
นั้นมนุษย์จะต้องอยู่ในสังคมทีม ่ ีสถาบันทางศาสนาช่วยในการส่ง
เสริมการปฏิบัติธรรมกิจต่าง ๆ ซึ่งเป็นกิจกรรมทีส ่ ำาคัญกว่ากว่า
กิจกรรมทางโลก โดยศาสนาคริสต์คือสถาบันดังกล่าวและเป็น
สถาบันหนึ่งเดียวที่จะนำาพลเมืองของรัฐไปสู่ความบริสุทธิ์จากบาป
และนำาพวกเขาเหล่านั้นเข้าประตูสวรรค์ได้ รัฐที่ดีในความหมายขอ
งอไควนาสจึงเป็นรัฐที่สามารถมอบชีวิตทีม ่ ีความผาสุกชั่วนิรันดร์
ในโลกหน้าตามคตินิยมของศาสนาคริสต์เท่านั้น
เซนต์อไควนาสเชื่อว่า มนุษย์ทุกคนมีความเท่าเทียมกันต่อ
หน้าพระเจ้า แต่ไม่เชื่อว่า มนุษย์จะมีความเท่าเทียมกันในการใช้
เหตุผล ดังนั้นในทัศนะของอไควนาสจนที่ฉลาดและมีความ
สามารถมากกว่าคนทั่วไปจึงเป็นคนที่ควรทำาหน้าทีเ่ ป็นผู้ปกครอง
นอกจากนี้อไควนาสเชื่อว่าการปกครองโดยคน ๆ เดียวย่อมดีกว่า
การปกครองโดยคนหลายคน ดังนั้น เขาจึงเชื่อว่ารูปแบบการ
ปกครองที่ดีทส ี่ ุดคือการปกครองแบบราชาธิปไตย (Monarchy) เพราะ

สิทธิมนุษยชน โลกทัศน์และพัฒนาการ 14
เจริญพงศ์ พรหมศร 5110022007

การปกครองดังกล่าวสอดคล้องกับหลักธรรมชาติ แต่การสืบทอด
ตำาแหน่งของผู้ปกครองควรเป็นการเลือกตั้งมากกว่าการสืบทอด
ทางสายเลือด เพราะสามารถเปิดโอกาสให้พลเมืองมีส่วนร่วมใน
การเลือกผูม ้ ีคุณสมบัติที่ดีทส
ี่ ุดมาเป็นผู้ปกครองได้
ด้วยเหตุนี้ เซนต์อไควนาส จึงเห็นว่ารัฐนั้นเป็นสถาบันตาม
ธรรมชาติ กฎหมายต่าง ๆ ที่ออกโดยรัฐจึงต้องมีความสอดคล้องกับ
กฎตามธรรมชาติ (Natural Law) ด้วย โดยเซนต์อไควนาสได้กล่าวว่า กฎ
ธรรมชาติก็คือกฎของพระเจ้า ดังนั้น มนุษย์ซึ่งถูกสร้างโดยพระเจ้า
จึงมีความเสมอภาคกันต่อหน้าพระพักต์ของพระเจ้า อย่างไรก็ดี
ด้วยการที่เซนต์อไควนาสไม่เชื่อว่ามนุษย์มีความเสมอภาคกันใน
การใช้เหตุผล ดังนั้นเซนต์อไควนาสจึงได้ยกย่องเพศชายว่ามีความ
เหนือกว่าเพศหญิง โดยเพศหญิงนั้นอ่อนแอกว่าเพศชายทั้งทาง
ร่างกายและจิตใจ ในขณะที่เพศชายนั้นสามารถทำากิจการต่าง ๆ ได้
ดีกว่าเพศหญิงแม้แต่การดูแลบ้านเรือน เพศหญิงจึงไม่สมควรที่จะ
มีตำาแหน่งต่าง ๆ ทั้งในอาณาจักรและศาสนจักร และเพศหญิงควร
ที่จะยกย่องเพศชายให้เป็นผู้นำาและอยู่ในโอวาทของเพศชายอีก
ด้วย ในเรื่องของเสรีภาพนั้น เซนต์อไควนาสให้ทัศนะว่าเสรีภาพ
ไม่ถือว่าเป็นสิทธิตามธรรมชาติของมนุษย์ แต่เสรีภาพเป็นส่วน
หนึ่งของสังคมทีม ่ ีความยุติธรรรม กล่าวคือ หากรัฐใดมีความ
ยุตธิ รรมเพียงพอ ย่อมที่จะใจกว้างพอทีจ ่ ะให้เสรีภาพกับพลเมือง
ของรัฐนั้น ๆ ทั้งนี้เพราะผู้ปกครองจะสอนให้พลเมืองของรัฐนั้นทำา
ในสิ่งที่รัฐต้องการ ซึ่งอไควนาสเห็นว่าลักษณะดังกล่าวสอดคล้อง
กับกฎตามธรรมชาติ

จะเห็นได้ว่าในยุคกลางนั้น ศาสนาคริสต์ได้เข้ามามีบทบาท
ต่อปรัชญาการเมืองอย่างมาก การอธิบายเรือ ่ งสิทธิของมนุษย์จึง
เน้นไปที่กฎธรรมชาติซึ่งหมายถึงกฎของพระเจ้าที่กำาหนดให้มนุษย์
มีความเสมอภาคโดยตั้งอยู่บนหลักการที่ว่าพระเจ้าเป็นผู้สร้าง
มนุษย์และสรรพสิ่งต่าง ๆ และอาจะกล่าวได้ว่า การอธิบายขยาย
ความเรื่อง “กฎธรรมชาติ” ในห้วงเวลาดังกล่าว จะเป็นพื้นฐาน
สำาคัญต่อการให้ความหมายของ “สิทธิตามธรรมชาติ” (Natural Right)
ของมนุษย์ในเวลาต่อมา นอกจากนี้การกำาหนดให้กฎธรรมชาติของ
มนุษย์ตั้งอยู่บนหลักการที่ว่ามนุษย์ถูกสร้างมาอย่างเสมอภาคกัน
โดยพระเจ้านั้นมีลักษณะสอดคล้องกับความเสมอภาคในศาสนา
อิสลามอยู่พอสมควร เช่น การอธิบายว่ามนุษย์มีความเสมอภาค
เนื่องจากมนุษย์นั้นถูกสร้างโดยพระเจ้าให้มอ ี ำานาจ ปัญญา และ
ความสามารถเหนือกว่าสัตว์ทั้งหลาย การเป็นมนุษย์จึงถือว่ามี

สิทธิมนุษยชน โลกทัศน์และพัฒนาการ 15
เจริญพงศ์ พรหมศร 5110022007

ความเสมอภาคกันต่อหน้าพระเจ้า และถือได้ว่า ความเสมอภาคต่อ


หน้าพระเจ้านั้น เป็นกฎตามธรรมชาติของมนุษย์

ภายหลังจากที่อารธรรมตะวันตกเข้าสู่ยุคสมัยของการฟื้นฟู
ศิลปวิทยาการอย่างเต็มตัว อำานาจทางศาสนจักรเริม ่ ถูกตั้งคำาถาม
ด้วยเหตุผลมากยิ่งขึ้น ในยุคนี้เองที่นักปรัชญาการเมืองเริม ่ ปลด
ปล่อยแนวคิดปรัชญาการเมืองออกจากหลักการทางศาสนา หรือ
การหาคำาอธิบายใหม่บนหลักการเดิมโดยลดการพึ่งพิงแนวคิดของ
ศาสนจักรลงไป และเป็นจุดเริม ่ ต้นของปรัชญาการเมืองแบบมนุษย์
นิมคม (Humanism) ที่เน้นความสำาคัญของปัจเจกชน (individual) โดยมี
แนวคิดพื้นฐานคือ สิทธิตามธรรมชาติ (natural right) ของมนุษย์ และ
ทฤษฏีสัญญาประชาคม (social contract) นักปรัชญาการเมืองที่สำาคัญต่อ
การเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยดังกล่าวในที่นี้ ได้แก่ มาคิอาเวลลิ
(Nicolo Machiavelli พ.ศ. 2012-2170) นักการเมืองชาวฟลอเรนซ์ ผู้เขียน
หนังสือสำาคัญทีช ่ ื่อว่า Il Principe หรือในภาษาอังกฤษว่า The Prince (เจ้า)
ซึ่งมีบทบาทสำาคัญในความพยายามปลดปล่อยปรัชญาการเมืองออก
จากศาสนจักรและขุนนางพระทั้งหลาย โดยแนะนำาให้ผู้ปกครอง
สงวนอำานาจไว้ทต ี่ นอย่างเข้มแข็งและใส่ใจในความสุขส่วนตนของ
พลเมืองแห่งรัฐซึ่งเป็นผู้เสียภาษีและกองทัพให้กับรัฐนั้น ๆ และ
จอห์น ลอค (John Locke พ.ศ. 2175-2274) นักปรัชญาการเมืองชาวอังกฤษ
ผู้มีผลงานชิ้นสำาคัญได้แก่ The Essays on The Law of Nature (ความเรียงเกีย ่ ว
กับกฎธรรมชาติ) The Letter on Toleration (กฎหมายเกี่ยวกับขันติธรรม)
และที่สำาคัญที่สด ุ คือ Two Treaties of Civil Government (หนังสือสองเล่มเกี่ยว
กับการปกครอง) และเป็นผู้นำาเสนอทฤษฏีสัญญาประชาคมขึ้นเป็น
ครั้งแรก อีกทั้งแนวคิดสิทธิตามธรรมชาติของเขาก็มอ ี ิทธิพลต่อการ
ก่อตัวของสิทธิมนุษยชนในสมัยต่อมาเป็นอย่างมาก

สิทธิมนุษยชน โลกทัศน์และพัฒนาการ 16
เจริญพงศ์ พรหมศร 5110022007

Niccolò di Bernardo dei Machiavelli

(Niccolò di Bernardo dei Machiavelli . . 2012-


2170) เป็นนักการเมือง นักการฑูตและนักเขียนของเมืองฟลอเรนซ์
ประเทศอิตาลี ซึ่งในขณะนั้นอยู่ใต้การปกครองของตระกูลเมดิซี
(The Medici) มาคิอาเวลลิ รับราชการครั้งแรกในหน้าที่เสมียนศาลและ
เติบโตสูงสุดด้วยการเป็นรัฐมนตรีกลาโหมและมหาดไทยในเวลา
ต่อมา ทีส ่ ำาคัญคือการเป็นเลขานุการของคณะรัฐมนตรีทั้งสิบ (Council
of Ten) ซึ่งเป็นองค์กรทีม่ ีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องสงครามและกิจการ
ภายในบ้านเมือง และด้วยการเป็นนักการฑูต ทำาให้มาคิอาเวลลิมี
โอกาสได้เดินทางไปต่างประเทศและได้พบปะบุคคลผู้นำาทีส ่ ำาคัญ ๆ
เช่น พระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศส แมกซิมิเลี่ยนแห่งเยอรมณี
และซีซาร์ บอร์เจียแห่งโรแม็กนา เป็นต้น จากประสบการณ์เหล่านี้
ทำาให้มาคิอาเวลลิเห็นความสำาคัญของการมีกองทัพทีเ่ ข้มแข็งเพื่อ
สร้างเสถียรภาพให้รัฐ ผลคือ มาคิอาเวลลิได้เสนอให้คณะรัฐมนตรี
จัดตั้งกองทัพชนิดที่ใช้วิธีเกณฑ์ทหารเข้าประจำาการU ในขณะที่ใน
ยุคดังกล่าวรัฐต่าง ๆ มักนิยมใช้ทหารรับจ้างมากกว่า มาคิอาเวลลิ
สร้างความเป็นกองทัพของรัฐด้วยการให้คณ ุ ธรรมที่เรียกว่า ความ
กล้าหาญองอาจชนิดพลีชีพเพื่อชาติ แต่ละรัฐควรมีกองทัพเป็นดัง
สัญลักษณ์ของชาติ เพราะสัญลักษณ์ดังกล่าวจะช่วยให้พลเมืองของ
รัฐภาคภูมิใจในความเป็นชาติได้ดย ี ิ่งV อีกประการหนึ่งทีส ่ ำาคัญคือ

สิทธิมนุษยชน โลกทัศน์และพัฒนาการ 17
เจริญพงศ์ พรหมศร 5110022007

การที่มาคิอาเวลลิ เป็นผู้สนับสนุนอำานาจของกษัตริย์หรือเจ้าผู้
ครองรัฐ ดังผลงานอันเป็นที่ประจักษ์ของเขาชือ ่ The Prince ในทัศนะ
ของมาคิอาเวลลินั้น มองว่ารัฐ หรือ สังคมการเมืองไม่ได้เกิดขึ้นจาก
ความอ่อนแอและไม่มีประสิทธิของมนุษย์จนไม่อาจจะปกป้องตัว
เองให้พ้นจากภยันตรายต่าง ๆ หรือจากการบันดาลของพระเจ้า แต่
เกิดจากการที่ผอ ู้ ่อนแอกว่าสยบยอมต่ออำานาจของผู้เข้มแข็งกว่า
และมอบตัวให้อยู่ในความดูแลของผู้ที่แข็งแรงกว่า รัฐจึงเป็น
เสมือนกับผู้ที่คอยควบคุมธรรมชาติของมนุษย์ไม่ให้เบียดเบียนกัน
จนทำาลายเสถียรภาพและความมั่นคงของการอยูร ่ ่วมกันในสังคม
ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องผดุงสันติภาพเอาไว้W
ทัศนะดังกล่าวของมาคิอาเวลลิช่วยสนับสนุนแนวคิดที่ว่า
ด้วยอำานาจนิยม (Authoritarian) ทั้งนีเ้ พราะแนวคิดเรื่องธรรมชาติของ
คนและรัฐของมาคิอาเวลลินั้นมองมนุษย์โดยทั่วไปว่าโดยส่วนมาก
แล้วมักจะเป็นคนโง่และไม่มเี หตุผล (Stupid and Irrational) ดังที่มาคิอาเวล
ลิได้ให้รายละเอียดเอาไว้ในหนังสือ The Prince ของเขาว่าX
1. ธรรมชาติของมนุษย์นั้นเป็นสัตว์ที่เห็นแก่ตัว ก้าวร้าว
แสวงหาผลกำาไรและผลประโยชน์รวมั้งพยายามหลีกเลี่ยง
อันตรายต่าง ๆ ดังนั้นมนุษย์จึงมีชีวิตอยูท ่ ่ามกลางภาวะ
ของการดิ้นรนต่อสู้และการแข่งขันกันเอง
2. มนุษย์นั้นเป็นผู้โง่เขลาเบาปัญญา ปล่อยจิตใจให้ตกอยู่
ภายใต้การครอบงำาของกิเลสตัณหา ปรารถนาที่จะสงวน
รักษาสิ่งที่ตนเองมีอยูเ่ สมอ
3. มนุษย์เป็นผู้ไม่รจ ู้ ักอิ่ม มีความทะเยอทะยาน อุดมไปด้วย
ตัณหา ไม่มีสิ่งใดสามารถสร้างความอิ่มให้กับมนุษย์ได้
ทั้งนี้เป็นเพราะมนุษย์ถูกสร้างโดยธรรมชาติให้คิดว่าไม่มี
สิ่งใดทีม ่ นุษย์ไม่สามารถแสวงหามาได้นั่นเอง
4. แรกเริม ่ เดิมทีมนุษย์กระจัดกระจายกันอยู่ ไม่ได้มีการรวม
ตัวกัน แต่เพราะภายหลังจำานวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้นได้
เป็นตัวบังคับให้มนุษย์จำาเป็นต้องอยูร ่ ่วมกันในสังคม
5. ด้วยธรรมชาติอันชั่วร้ายของมนุษย์ทำาให้สังคมของมนุษย์
เต็มไปด้วยบรรยากาศของการแข่งขันต่อสู้ หากไม่มีอำานาจ
ใดสามารถบังคับให้คนเกิดความเกรงกลัวแล้ว สังคมนั้น
จะเกิดความยุ่งเหยิงไร้ระเบียบขึ้นมาในทันที ทั้งนี้เพราะ
พลเมืองทั้งหลายพร้อมจะทำาผิดเสมอเพราะไม่รู้จักการ
ประมาณตนในความอยาก

สิทธิมนุษยชน โลกทัศน์และพัฒนาการ 18
เจริญพงศ์ พรหมศร 5110022007

จะเห็นได้ว่ามาคิอาเวลลิไม่ศรัทธาในตัวของปัจเจกบุคคลมาก
นัก และยังเชือ ่ ว่ามนุษย์นั้นถือกำาเนิดขึ้นมาอย่างสับสนวุ่นวายและ
มีชีวิตอยู่เพื่อประโยชน์สุขเฉพาะตนเท่านั้น ในส่วนที่เกีย ่ วกับคริสต
ศาสนาอาจกล่าวได้ว่า มาคิอาเวลลิ มานักปรัชญาการเมืองคนแรก
ๆ ที่ตอ่ ต้านการนำาเอาคุณธรรมทางศาสนามาใช้ในการปกครอง ใน
ช่วงที่มาคิอาเวลลิมช ี ีวิตอยู่นั้น คริสตศาสนามีบทบาทและอิทธิพล
อย่างมากต่อการเมืองการปกครอง โดยในช่วงแรกของชีวิตราชการ
ของมาคิอาเวลลินั้น มีบาทหลวงสาโวนาโรลาได้พยายามนำา
แนวคิดทางศาสนาและจริยธรรมแบบคริสต์มาปรับใช้กับเมือง
ฟลอเรนซ์เพื่อสร้างมหาชนรัฐในอุดมคติ โดยการให้พลเมืองและผู้
ปกครองมีชีวิตอยู่อย่างเรียบง่าย ไร้สิ่งฟุ่มเฟือย เพื่อป้องกันการ
ฉ้อฉล ไม่มีการละเล่นเต้นรำา ห้ามการดืม ่ สุรา ทั้งนี้โดยอาศัยการ
บังคับอย่างเด็ดขาด ไม่ว่าจะเป็นการบังคับให้บริจาคทรัพย์สินและ
สิ่งของ การเผาหรือทิ้งสุ่งฟุ่มเฟือย การมีเจ้าหน้าทีต ่ รวจตรา
อย่างไรก็ดี ในขั้นแรก บาทหลวงสาโวนาโรลาประสบความสำาเร็จ
ในการใช้แนวคิดและจริยธรรมแบบคริสต์เช่นนี้ในการปกครอง
เพราะพลเมืองของฟลอเรนซ์มีศรัทธาและเข้าใจว่าบาทหลวงสาโว
นาโรลามีอท ิ ธิฤทธิ์ แต่ในที่สุดแล้ว เมือ่ พลเมืองทั้งหลายเลิกศรัทธา
ต่ออิทธิฤทธ์ที่ไม่อยู่จริงของบาทหลวงสาโวนาโรลาแล้ว ผลสุดท้าย
คือ ท่านบาทหลวงถูกลงโทษจากพลเมืองด้วยการเผาทั้งเป็น ซึ่ง
ขณะนั้นมาคิอาเวลลิมีอายุประมาณ 28 ปี
ด้วยเหตุดังนี้ ทำาให้มาคิอาเวลลิไม่ศรัทธาต่อการนำาหลักการ
ทางคริสตศาสนามาใช้ในการปกครอง ยิ่งเมื่อได้พิจารณาข้อเสนอ
ถึงคุณธรรม (Virtu) ตามแนวคิดของมาคิอาเวลลิแล้ว จะพบว่าแตก
ต่างและถึงขั้นโต้แย้งกับหลักจริยธรรมทางคริสตศาสนาเลยทีเดียว
โดยหลักคุณธรรมทีม ่ าคิอาเวลลิเสนอ มีดังนีY้
มนุษย์ทั้งหลายจะสูงส่งและยิ่งใหญ่ได้ด้วย
1. การรู้จักหยิ่งผยอง ไม่ใช่ด้วยการอ่อนน้อมน้อมตน
2. การปราบศัตรูให้อยู่ในอำานาจ ไม่ใช่ด้วยการให้อภัยศัตรู
3. การแสดงความกล้าหาญ ไม่ใช่ด้วยการยอมทนทุกข์
ทรมาน
4. การกระทำา (action) ไม่ใช่ด้วยการสวดมนต์อ้อนวอนภาวนา
(pray)
5. ด้วยการแสดงตัวอย่างโออ่า โดยเฉพาะต้องมีเครื่องรบอัน
พร้อมสรรพและอยู่ในคฤหาสน์อันโอ่โถง ไม่ใช่ด้วยการ
แต่งตัวด้วยผ้าย้อมฝาดและเก็บตัวอยู่ในโบสถ์

สิทธิมนุษยชน โลกทัศน์และพัฒนาการ 19
เจริญพงศ์ พรหมศร 5110022007

นอกจากนี้แล้วยังควรมีความสนุกสนาน พอใจในความเป็น
เพศชาย มุ่งหมายไปสู่ความเป็นวีรบุรุษทีม ่ ีจิตใจเข้มแข็ง ยิ่งใหญ่
และเบิกบาน และหากคุณธรรมทางศาสนาจะเข้ามามีบทบาทใน
การปกครอง คุณธรรมนั้นจะต้องสอดคล้องและกระตุ้นให้เกิด
คุณธรรมตามข้อเสนอของมาคิอาเวลลิ ทั้งนีเ้ พราะเขาเห็นว่า
คุณธรรมแบบคริสต์นั้น “สอนคุณความดีผิด ๆ ยกย่องคนถ่อมตัว
และคนสงบเสงี่ยม ตำาหนิติฉินโลกธรรม หากสรรเสริญหลักแห่ง
การสละละเว้น ทั้งหมดนีเ้ ป็นปฏิปักษ์ต่อเสรีภาพเพราะว่าการ
รักษารัฐอิสระไว้ได้ พลเมืองต้องกล้าหาญและรักชาติ หยิ่งผยองใน
ตนเองและในมหาชน”
มาคิอาเวลลิเชือ ่ ว่าแรกเริม
่ เดิมที่นั้นมนุษย์ไม่ได้ถูกบัญชาจาก
พระเจ้าให้มารวมตัวเป็นรัฐ หากแต่เป็นเพราะสภาพบังคับและ
ผลพลอยได้จากการขยายตัวของประชากร อย่างไรก็ดี ใช่ว่ามาคิอา
เวลลิจะไม่เห็นความสำาคัญต่อประชาชนตัวเล็กตัวน้อยที่ประกอบ
ขึ้นเป็นพลเมืองของรัฐ หากตรงกันข้าม มาคิอาเวลลิกลับเน้นยำ้าให้
ผู้ปกครองจะต้องให้ความสำาคัญต่อพลเมืองของตนเพราะพลเมือง
คือฐานทีม ่ าแห่งอำานาจ ในด้านรูปแบบการปกครอง แม้มาคิอาเวล
ลิจะเห็นว่ารูปแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monarchy) จะเป็นรูป
แบบที่เหมาะสมที่สด ุ สำาหรับฟลอเรนซ์ เพราะมีเสถียรภาพแต่ก็
สามารถทำาลายตัวเองได้เพราะพึ่งพิงอำานาจของบุคคล รูปแบบการ
ปกครองที่มาคิอาเวลลิเห็นว่าดีที่สุดคือรูปแบบการปกครองแบบ
สาธารณรัฐที่ผสมผสานระหว่างการปกครองแบบอภิชนาธิปไตย
(Aristocracy) และประชาธิปไตย (Democracy) โดยให้พลเมืองที่มีความ
ฉลาดนำาเสนอความต้องการของเขาเพื่อทำาเป็นนโยบาย และจัดทำา
รัฐธรรมนูญตลอดจนการเลือกคณะผู้ปกครองมาทำาหน้าในการ
บริหารรัฐ ซึ่งมาคิอาเวลลิเชื่อว่า หากพลเมืองโดยทั่วไปมีความ
ฉลาดแล้ว เขาจะไม่เลือกหรือสนับสนุนคนไม่ดีให้มาทำาหน้าที่
บริหารรัฐกิจเลย อย่างไรก็ดี ควรพิจารณาด้วยว่า ท้ายทีส ่ ุดแล้ว
มาคิอาเวลลิก็ยังเน้นยำ้าว่า พลเมืองของรัฐจะต้องเชื่อฟังกฎหมาย
และอยู่ภายใต้อำานาจของผู้ปกครองอย่างเคร่งครัดด้วยZ
โดยลักษณะของข้อเสนอทางปรัชญาการเมืองของมาคิอาเวล
ลินั้น ทำาให้เราเห็นภาพของรัฐที่ปกครองโดยกฎหมาย (rule of law state)
อย่างเบ็ดเสร็จ โดยประชาชนจะมีสิทธิและหน้าที่โดยตรงต่อรัฐ
(duties and obligation to state) ไม่ว่าจะเป็นการเสียภาษี การเข้าเกณฑ์ทหาร
และการเลือกตั้งผู้ทำาหน้าที่บริหารกิจการของรัฐ โดยได้ละเว้นเอา
ศาสนจักรออกไปเสียจากการปกครอง บทบาทของศาสนาในทัศนะ
ของมาคิอาเวลลินั้น คือ การเป็นเครื่องมือหนึ่งที่สามารถใช้ในการ

สิทธิมนุษยชน โลกทัศน์และพัฒนาการ 20
เจริญพงศ์ พรหมศร 5110022007

ชักจูงพลเมืองของรัฐให้อยู่ร่วมกันในรัฐอย่างสงบสุขAA จึงเป็นการ
ปรับเปลี่ยนสถานะของศาสนจักรจากผู้ให้อุปถัมป์รัฐ กลายเป็นรัฐ
อุปถัมป์ศาสนาจักร และเป็นที่มาของแนวคิดการแยกศาสนาออก
จากการเมือง (Secularization) ในเวลาต่อมา นอกจากนี้แนวคิดที่ให้
ความสำาคัญกับพลเมืองมากกว่าความต้องการเหล่าขุนนางและ
บาทหลวงยังมีอิทธิพลต่อลัทธิปัจเจกนิยม (individualism) ซึ่งจะทวี
ความสำาคัญยิ่งขึ้นและมีอิทธิพลต่อแนวคิดสิทธิตามธรรมชาติ (Natural
Right) ของมนุษย์ทม ี่ ีติดตัวมาแต่กำาเนิดแต่ไม่อาจจะแย่งชิงไปได้ ซึ่ง
จะถูกใช้ต่อต้านแนวคิดกฎหมายศักดิ์สท ิ ธิ์ (กฎของพระเจ้า หรือ
เทวสิทธิ์:Divine Right) ทีข่ ับเคลื่อนระบบปกครองแบบ
สมบูรณาญาสิทธิราชย์ในยุโรปมาตั้งแต่ยุคกลาง

(John Locke . . 2175-2274) นักปรัชญาการเมือง


ชาวอังกฤษ และเป็นนักปรัชญาการเมืองที่ได้รับการอ้างถึงมาก

สิทธิมนุษยชน โลกทัศน์และพัฒนาการ 21
เจริญพงศ์ พรหมศร 5110022007

ที่สุด ข้อคิดเห็นของเขาเกีย ่ วกับสิทธิตามธรรมชาติ (Natural Right) คือสิ่ง


ที่ปรากฎต่อมาในคำาประกาศอิสรภาพของประเทศสหรัฐอเมริกา
(United States Declaration of Independence) ในยุคลของจอห์น ลอค ประเทศ
อังกฤษประสบปัญหาความวุ่นวายทางการเมือง เริม ่ จากความ
พยายามเปลีย ่ นแปลงระบบการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์
(Absolute Monarchy) ของข้าราชการและประชาชน เพราะเห็นว่าราชวงศ์
สจ๊วตเอาเปรียบประชาชนในหลาย ๆ ประการ ตั้งแต่การเก็บภาษี
จนกระทั่งถึงการนับถือศาสนา โดยมีความต้องการที่จะเปลี่ยนเป็น
ระบอบการปกครองแบบรัฐสภา (Parliament) ต่อมาเมื่อฝ่ายประชาชน
เป็นฝ่ายชนะ และกษัตริย์ทรงยอมให้สภาจำากัดอำานาจของพระองค์
ด้วยการลงพระนามในกฎบัตรแมกนาคาร์ตา จอนห์ ลอค ได้รับ
แต่งตั้งให้ดำารงตำาแหน่งข้าหลวงใหญ่ด้านการร้องทุกข์ (Commissioner
of Appeals) ในเรื่องภาษีสรรพสามิต และตำาแหน่งข้าหลวงใหญ่ดา้ น
การค้า (Commissioner of Trade) ในเวลาต่อมา ผลงานสำาคัญของจอห์น
ลอค เช่น The Essay on The Law of Nature (ความเรียงเกีย ่ วกับกฎธรรมชาติ)
The Letter of Toleration (กฎหมายเกี่ยวกับขันติ) และทีส ่ ำาคัญอย่างยิ่งคือ The
Treatises of Civil Government (หนังสือเกี่ยวกับการปกครอง) ซึ่งเป็นหนังสือ
ที่แสดงทัศนะของจอห์น ลอค เกี่ยวกับการกำาเนิดของมนุษย์และรัฐ
อำานาจ และจุดประสงค์ของรัฐ โดยเฉพาะรัฐในรูปแบบมหาชนรัฐที่
มีรัฐธรรมนูญเป็นแม่บทในการปกครองและรัฐบาลอยู่ภายใต้การ
ควบคุมของประชาชนAB จอห์น ลอค ได้เขียนหนังสือดังกล่าวเป็น 2
เล่ม จึงเป็นที่รู้จักกันอีกชื่อหนึ่งว่า Two Treatise of Government เล่มแรกนั้น
จอห์น ลอค ได้แสดงทัศนะของเขาในการคัดค้านความคิดของลัทธิ
เทวสิทธิ์ (Divine Right)AC ซึ่งเชื่อว่ากษัตริย์มีอำานาจในการปกครองได้
เพราะรับอำานาจมาจากสวรรค์ โดยจอห์น ลอค ได้กล่าวอ้างถึงพระ
คัมภีร์ในคริสตศาสนาถึงเรื่องอดัมกับอีวา เพื่อแสดงให้เห็นว่า
มนุษย์ถูกสร้างมาอย่างเท่าเทียมกัน และเล่มที่สองเสนอทัศนะของ
เขาเรือ ่ งรูปแบบการปกครองที่ดีว่าควรจะเป็นรูปแบบที่รัฐบาล
ปกครองด้วยความยินยอมพร้อมใจของพลเมืองAD
จอห์น ลอค เชื่อว่า สภาวะธรรมชาติ (State of Nature) ว่าเป็น
สภาวะแห่งเสรีภาพและความเสมอภาคที่สมบูรณ์ภายใต้กฎของ
ธรรมชาติ (Law of Nature) สภาวะดังกล่าวมีลักษณะดังนี้AE

สิทธิมนุษยชน โลกทัศน์และพัฒนาการ 22
เจริญพงศ์ พรหมศร 5110022007

1. สภาวะธรรมชาติเป็นสภาวะที่มเี สรีภาพอันสมบูรณ์
สภาวะเช่นนีท ้ ำาให้มนุษย์สามารถกระทำาการใด ๆ ก็ได้ตาม
ปรารถนา ทัง้ นี้ ตามขอบเขตข้อกำาจัดของกฎธรรมชาติ
2. สภาวะธรรมชาติเป็นสภาวะที่มีความเท่าเทียมกันอย่าง
สมบูรณ์ พระเจ้าสร้างทุกสรรพสิ่งขึ้นมาบนโลก ดังนั้น
มนุษย์ทุกคนบนโลกจึงมีความเท่าเทียมกัน ความเท่าเทียม
ดังกล่าวคือความเท่าเทียมในสิทธิตามธรรมชาติ (Natural
Right) ไม่ใช่ความเท่าเทียมกันในความสามารถ
จอห์น ลอค อธิบายว่า มนุษย์อยู่ในธรรมชาติร่วมกันอย่างมี
เหตุผล เหตุผลคือเครื่องมือที่ใช้ในการทำาความเข้าใจต่อกฎของ
ธรรมชาติ เช่น มนุษย์ตระหนักดีกว่าจะมีชีวิตอยู่โดยไม่ปรารถนาที่
จะทำาลายตนเอง อย่างไรดี การทีม ่ นุษย์อยู่ร่วมกันในสภาวะ
ธรรมชาติย่อมมีข้อบกพร่อง 3 ประการสำาคัญ คือ AF
1. สภาวะธรรมชาติเป็นสภาวะที่ไม่กฎหมายรองรับเป็นการ
ทั่วไป ทำาให้เกิดความขัดแย้งกันเนื่องจากมนุษย์หลายคน
ย่อมมีทัศนะและเข้าใจกฎธรรมชาติแต่งต่างกันไป จึงเป็น
สาเหตุให้ไม่สามารถสร้างข้อตกลงในข้อขัดแย้งบาง
ประการได้
2. สภาวะธรรมชาติเป็นสภาวะที่ไม่มีตล ุ าการผู้ตัดสินอรรถ
คดีที่เป็นที่ยอมรับในความเที่ยงธรรมและเป็นที่รู้กันโดย
ทั่วไป จึงลำาบากต่อการระงับข้อขัดแย้งต่าง ๆ ทีเ่ กิดขึ้นใน
สภาวะธรรมชาติ
3. สภาวะธรรมชาติเป็นสภาวะที่ไม่มีอำานาจบังคับ การตัดสิน
ต่าง ๆ จึงมีลักษณะที่จะลำาเอียงไปตามอารมณ์ของผู้ตัดสิน

จากข้อบกพร่องเหล่านี้ รัฐหรือสังคมการเมือง (Commonwealth)


จึงกำาเนิดขึ้นโดยความยินยอมของมนุษย์ทั้งหลายเพื่อแก้ไขข้อ
บกพร่องดังกล่าวและสร้างสภาวะทีส ่ ามารถจะอยู่ร่วมกันได้อย่าง
สันติสุขและปลอดภัย ในทัศนะของ จอห์น ลอค สังคมการเมืองหรือ
รัฐจึงเกิดขึ้นได้ด้วยการทำาสัญญาประชาคม (Social Contract)
จากทัศนะเช่นนี้ได้ส่งผลให้รูปแบบของการเมืองการปกครอง
ที่ได้รับอิทธิพลจากแนวความคิดของ จอห์น ลอค ให้ความสำาคัญกับ
สิทธิตามธรรมชาติของมนุษย์ทุกคน โดยถือว่า กฎหมายของรัฐไม่
อาจจะริดลอนสิทธิตามธรรมชาติของมนุษย์ได้ มนุษย์มเี สรีภาพ
และความเสมอภาคติดตัวมาแต่กำาเนิดตามที่กฎแห่งธรรมชาติได้
บัญญัติไว้ การเข้ามาอยู่ร่วมกันภายในรัฐจึงเป็นการหาหลักประกัน

สิทธิมนุษยชน โลกทัศน์และพัฒนาการ 23
เจริญพงศ์ พรหมศร 5110022007

ที่จะหาความสุขจากเสรีภาพที่ตนมี ทั้งนี้ จอห์น ลอค ได้แบ่งสิทธิ


ตามธรรมชาติของมนุษย์เป็น 3 อย่าง คือ สิทธิทจ ี่ ะมีชีวิตของตน
(Life) สิทธิในเสรีภาพของตน (Freedom) และสิทธิในทรัพย์สินของตน
(Properties)AG ทั้งนี้ภายใต้ขอบเขตของความไม่ฟุ้งเฟ้อและเป็นไปเพื่อ
ประโยชน์ของส่วนรวม เช่น ในกรณีทย ี่ อมให้พลเมืองของรัฐ
สามารถสะสมทรัพย์สินได้นั้น ก็โดยทัศนะที่ว่า หากการสะสม
ทรัพย์สินนั้นช่วยในการขยายตัวของปัจเจกบุคคลตลอดจนสร้าง
การมีส่วนได้ส่วนเสียทางสังคมให้เกิดขึ้นแล้ว การที่พลเมืองยอมให้
เก็บภาษีจากทรัพย์สมบัติที่เขาสะสมก็ย่อมเป็นการเสียสละทรัพย์
สมบัตินั้นเพื่อให้ได้มาซึ่งความมีสันติสุขและความปลอดภัยในชีวิต
ซึ่งรัฐเป็นผู้ให้หลักประกันดังกล่าวAH
จอหน์ ล็อค ได้ใช้เหตุผลทางปรัชญาการเมืองของเขาผูกโยง
เข้ากับหลักจริยธรรมทางคริสตศาสนา เพราะเขาเชือ ่ ว่ามนุษย์เป็น
สัตว์ทม ี่ ีเหตุผล เมือ
่ อยู่ภายนอกรัฐก็สามารถรู้ได้ว่าอาจมีโอกาสที่จะ
พบกับภยันตรายต่าง ๆ อีกทั้งยังมีความศรัทธาในศาสนา เหนืออื่น
ใด จอห์น ลอค ยังเรียกร้อยให้รัฐ “ใจกว้าง” ต่อนิกายทางศาสนา
ด้วยเหตุที่ในยุคดังกล่าว การพูดแสดงความคิดเห็นใด จะต้องคำานึง
ถึงทัศนะต่อศาสนาของผู้พูดและผู้ฟัง นอกจากนี้ หากรัฐเองยังห้าม
หามผู้นับถือศาสนาคริสต์นิกายย่อย ๆ ไม่ให้พูดจาปราศัยในที่
ประชุมชนทั้งหลายอีกด้วย โดยเขาให้ความสำาคัญกับสิ่งที่เรียกว่า
เสรีภาพในการพูด (Free of Speech) โดยที่เขาให้ทัศนะว่า อาณาจักรของ
มนุษย์เกิดขึ้นเพื่อแสดงหาและรักษาไว้ซึ่งความเจริญก้าวหน้าของ
สิ่งทีม่ ีประโยชน์ต่อบ้านเมือง อันได้แก่ ชีวิต เสรีภาพ ทรัพย์สิน และ
สุขภาพ ส่วนคริสต์จักรนั้น เป็นสังคมที่มนุษย์ยินยอมพร้อมจกันเข้า
มาร่วมกันเพื่อบูชาคุณของพระเจ้าเพื่อความรอดพ้นทางวิญญาณ
ซึ่งเป็นการให้เกียรติตอ ่ ศาสนาจักร ดังนั้นแล้ว เจ้าพนักงานของรัฐ
และข้าราชการทั้งปวง จึงมีหน้าที่เพียงเพื่อให้พลเมืองมีโอกาสได้
ครอบครองสิทธิทเี่ ขาควรจะได้รับเพื่อสร้างประโยชน์แก่รัฐเท่านั้น
โดยมิพักต้องคำานึงถึงความเชื่อและวิญญาณของปัจเจกชนแต่ละ
คน และไม่จำาเป็นต้องบังคับให้ใครเชื่อถืออะไรอย่างไร เว้นแต่
ความเชื่อในศาสนาและลัทธินิกายนั้นจะเป็นร้ายและรุกรานสิทธิ
ของพลเมืองของรัฐ ผลคือ การอธิบายเรื่องสิทธิตามธรรมชาติของ
เขามีพลังส่งต่อมายังยุคสมัยของการปฏิวัตต ิ ่อมาAI
ในยุคสมัยใหม่ของปรัชญาการเมือง สิทธิและความเสมอภาค
ดูเหมือนจะอ้างอิงหลักการทางศาสนาน้อยลง ตั้งแต่การให้ความ
หมายของรัฐโดยมาคิอาเวลลิ จนมาถึงการกล่าวถึงสิทธิและกฎ

สิทธิมนุษยชน โลกทัศน์และพัฒนาการ 24
เจริญพงศ์ พรหมศร 5110022007

ธรรมชาติของจอห์น ลอค ทีท ่ ำาให้เราเห็นแนวโน้มของการแยก


อาณาจักรของจากศาสนจักรแจ่มชัดขึ้นทุกขณะ การอ้างอิงถึง
ความเสมอภาคของมนุษย์ที่มาจากการสรรค์สร้างของพระเจ้าแม้
จะเป็นหลักการพื้นฐานที่ว่า มนุษย์ทุกคนมีความเสมอภาคกันต่อ
เบื้องพระพักต์ของพระเจ้า แม้จะยังเป็นหลักการที่ยอมรับ แต่ก็ลด
อิทธิพลไปอย่างมาก เพราะศาสนจักรเองเริม ่ มีบทบาทในการ
บริหารและปกครองรัฐน้อยลง ความเสมอภาคจึงเหลือเพียง การ
เท่าเทียมกันในการเกิดเป็นมนุษย์ ส่วนเรื่องความสามารถและ
ชนชั้นนั้นถือเป็นเรื่องของศักยภาพทีม ่ นุษย์แต่ละคนจะต้องใช้
ความสามารถของตนในอันที่จะได้มาซึ่งสิ่งที่ตนต้องการ อย่างไรก็
ดี เมือ
่ เชื่อว่า มนุษย์เกิดมาอย่างเสมอภาคกันและมีเสรีภาพทีจ ่ ะ
กระทำาการใด ๆ ตามสิทธิที่มีมาแต่ธรรมชาติแล้ว สภาวะของรัฐที่ไม่
เข้ากับทัศนะเช่นนี้จึงเกิดความเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะรัฐทีม ่ ีความ
แตกต่างทางชนชั้นอย่างสูง ดังเช่นที่ การประกาศอิสรภาพของ
สหรัฐอเมริกา ใน พ.ศ.2319 (ค.ศ. 1776) และการปฏิวัติฝรั่งเศสใน พ.ศ.
2332 (ค.ศ. 1789)

สิทธิมนุษยชน โลกทัศน์และพัฒนาการ 25
เจริญพงศ์ พรหมศร 5110022007

United States Declaration of Independence

ในวันที่ 4 กรกฏาคม พ.ศ. 2319 (ค.ศ.1776) ตัวแทนจากรัฐเมืองขึ้น


13 รัฐแถบชายฝั่งแอตแลนติค ของสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ ได้
ลงนามในประกาศฉบับหนึ่งเพื่อตัดขาดจากการเป็นส่วนหนึ่งของ
จักรวรรดิอังกฤษ ทั้งนี้ เพราะข้อเรียกร้องในการมีตัวแทนใน
รัฐสภาสหราชอาณาจักรไม่ได้รับการตอบสนอง ผนวกกับการถูก
เอาเปรียบด้านการเก็บภาษีจากสหราชอาณาจักร และสงคราม
ระหว่างรัฐแม่ คือ สหราชอาณาจักร กับ อาณานิคมในทวีปอเมริกา
เหล่านี้เป็นปัจจัยให้ผู้นำาทั้ง 13 รัฐดังกล่าว ร่วมลงนามกันเอกสารที่
เรียกว่า “คำาประกาศอิสรภาพสหรัฐอเมริกา”
คำาประกาศอิสระภาพดังกล่าวได้อ้างอิงถึงสิทธิตามธรรมชาติ
(Natural Right) ของมนุษย์ที่ไม่อาจจะเปลี่ยนแปลงเป็นอื่นได้ (Unalienable
right) ใน 3 สิ่งนั่นคือ ชีวิต (Life) อิสรภาพ (Freedom) และการแสวงหา
ความสุข (Pursuit of Happiness)AJ ซึ่งเป็นหลักการเดียวกับที่ จอห์น ลอค ได้

สิทธิมนุษยชน โลกทัศน์และพัฒนาการ 26
เจริญพงศ์ พรหมศร 5110022007

กล่าวถึงคือ มนุษย์มีสิทธิตามธรรมชาติในชีวิต (Life) เสรีภาพ (Freedom)


และทรัพย์สิน (Properties)AK
สิ่งสำาคัญของคำาประกาศดังกล่าวที่ควรพิจารณาในที่นี้คือ
การให้เหตุผลถึงที่มาของสิทธิแห่งความเป็นมนุษย์ที่มีมาตั้งแต่
กำาเนิด ดังข้อความที่ว่า

We hold these Truths to be self-evident, that all Men are created equal, that they are
endowed by their Creator with certain unalienable Rights, that among these are Life, Liberty,
and the Pursuit of Happiness
That to secure these Rights, Governments are instituted among Men, deriving their just
Powers from the Consent of the Governed, that whenever any Form of Government becomes
destructive of these Ends,
it is the Right of the People to alter or to abolish it, and to institute new Government,
laying its Foundation on such Principles, and organizing its Powers in such Form, as to them
shall seem most likely to effect their Safety and Happiness AL

พวกเราถือว่าความจริงเหล่านี้ มีความชัดเจนในตัวของมันเอง,
ความจริงที่ว่ามนุษย์ทุกคนถูกสร้างมาให้มค ี วามเท่าเทียมกัน, ความ
จริงที่ว่าพวกเขาได้รับมอบสิ่งต่างๆ จากผูส ้ ร้าง พร้อมด้วยสิทธิที่ไม่
อาจเปลี่ยนแปลงเป็นอื่นได้, สิ่งเหล่านั้นได้แก่ ชีวต ิ , อิสรภาพ, และ
การแสวงหาความสุข.
ดังนั้น เพื่อที่จะประกันสิทธิเหล่านี้, รัฐบาลจึงได้รับการจัดตัง้ ขึ้น
ในหมู่ผู้คน, โดยพวกเขาได้ยินยอมให้รัฐบาลใช้อำานาจปกครองต่อเขา
โดยที่ว่า เมื่อใดที่รัฐบาลชุดใด ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบลักษณะใดก็ตาม
แต่ ได้กลับมาทำาลายสิ่งเหล่านี้,
จึงเป็นสิทธิของประชาชนที่จะเปลี่ยนแปลงหรือล้มล้างรัฐบาล,
และที่จะจัดตัง้ รัฐบาลชุดใหม่, ที่วางอยู่บนรากฐานของหลักการเช่นว่า
นั้น, และ จัดระบบอำานาจของรัฐบาลในรูปแบบลักษณะที่ปรากฏให้
เชื่อได้ว่า จะก่อให้เกิดความปลอดภัยและความสงบสุขต่อพวกเขา
อย่างมากที่สุดเท่าที่จะเป็นได้

คำาประกาศอิสระภาพของอเมริกาจึงตั้งอยู่บนฐานคิดที่ว่า
ปัจเจกชนทุกคนล้วนมีสิทธิตามธรรมชาติในชีวิต ในเสรีภาพ และ

สิทธิมนุษยชน โลกทัศน์และพัฒนาการ 27
เจริญพงศ์ พรหมศร 5110022007

การแสวงหาซึ่งความสุขที่พวกเขาต้องการ ซึ่งเป็นความคิดในลัทธิ
ปัจเจกนิยม (Individualism) ซึ่งสนับสนุนสิทธิและเสรีภาพของบุคคลว่า
มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ การมีรัฐนั้น เป็นเรื่องที่ปัจเจกชนทั้งหลาย
ต่างยินยอม (consent) ที่จะสละสิทธิบางส่วนของตนให้แก่รัฐบาลเพื่อที่
จะได้ประกันว่าตนจะมีสท ิ ธิเหล่านั้นได้ สิ่งเหล่านี้ได้เปลี่ยนโลก
ทัศน์ของมนุษย์จากการทีม ่ องสิทธิว่า เป็นอำานาจที่พระเจ้าได้
ประทานให้ผู้ปกครองเพื่อมาปกครองตน ซึ่งเป็นลักษณะสำาคัญของ
ลัทธิเทวสิทธิ์ หรือที่เซนต์ออกัสตินกล่าวว่า เป็นกฎหมายของ
พระเจ้า (Divine Right) ไปเป็น สิทธิคือสิ่งที่พระเจ้าได้ประทานให้ติดตัว
มนุษย์ทุกคนแล้ว และปัจเจกชนทั้งหลายได้สละอำานาจนั้นให้ผู้
ปกครองเพื่อประโยชน์สข ุ แห่งตนแทน ซึ่งสนับสนุนแนวคิดว่าด้วย
เสรีนิยมประชาธิปไตย (Liberalism Democracy) และเมื่อความหมายและ
พลังอำานาจ (Meaning and power of Right) ได้เคลื่อนย้ายจากคนกลุ่มเล็กไปสู่
มวลชนทั้งหลายแล้ว จึงบังเกิดความชอบธรรมทีจ ่ ะจำากัดและ
เปลี่ยนแปลงอำานาจของระบบกษัตริยท ์ ี่มีการปกครองในรูปของ
สมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monarchy) ดังที่ได้เคยทำาสำาเร็จแล้วใน
อังกฤษเมื่อ พ.ศ.1758 (ค.ศ. 1215) โดยกฎบัตรแมกนาคาร์ตา และต่อมา
คือการประกาศอิสระภาพของอาณานิคมอังกฤษใน พ.ศ. 2319
(ค.ศ.1776) ด้วยประกาศประกาศอิสรภาพสหรัฐอเมริกา และต่อไปคือ
การประกาศสิทธิมนุษยชนของฝรั่งเศสใน พ.ศ. 2332 (ค.ศ. 1789) ในการ
ปฏิวัติฝรั่งเศส

สิทธิมนุษยชน โลกทัศน์และพัฒนาการ 28
เจริญพงศ์ พรหมศร 5110022007

The Storming of the Bastille by marquis de Launay

การปฏิวัติฝรั่งเศสใน พ.ศ. 2332 (ค.ศ. 1789) เป็นการโค่นล้ม


สถาบันกษัตริย์ของฝรั่งเศส และเปลีย ่ นการปกครองของประเทศ
จากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monarchy) มาเป็นระบอบ
สาธารณรัฐ (Republic หรืออีกชือ ่ ว่า มหาชนรัฐ)โดยมีการโจมตีคุกบา
สตีย์ (Prise de la Bastille) ในวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ.2332 (ค.ศ.1789) เป็น
สัญลักษณ์ของเหตุการณ์ดังกล่าวAM มีการล้มล้างและเปลี่ยนแปลง
ระบบสังคมอย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะการปรับปรุงข้าราชการและ
พนักงานของรัฐในตำาแหน่งต่าง ๆ ในราชการซึ่งแต่เดิมมีลักษณะ
เป็นตำาแหน่งทีต ่ กทอดได้ เป็นการกำาหนดตำาแหน่งทางราชการไม่
สามารถตกทอดไปยังลูกหลาน จังหวัดต่าง ๆ ถูกยุบเพื่อสลายระบบ
ขุนนางและเจ้าที่ดินเดิม ทั้งนี้ฝรั่งเศสถูกแบ่งเป็น 83 เขตการ
ปกครอง (départements) แทนระบบเดิม มีการจัดตั้งศาลประชาชนแทน
ระบบศาลเดิม มีการปฏิรูปกฎหมายของฝรั่งเศส การเวนคืนที่ธรณี
สงฆ์ แล้วนำามาคำ้าประกันพันธบัตร ที่ออกเพื่อระดมทุนจาก
ประชาชน มาแก้ไขปัญหาหนี้ของประเทศ เป็นต้น

คำาขวัญของสาธารณรัฐฝรั่งเศส

การปฏิวัติฝรั่งเศสนำาไปสู่การประกาศ สิทธิของมนุษย์และ
พลเมือง (La déclaration des droits de l'homme et du citoyen) โดยสภาแห่งชาติ
(Assemblée nationale constituante) ในวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2332 (ค.ศ. 1789) ซึ่ง
ตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักการ เสรีภาพ เสมอภาค และภราดรภาพ
(Liberty, Equality, Fraternity : Liberté, Égalité, Fraternité) และนับเป็นครั้งแรกที่
ปัจเจกบุคคลได้รับการรับรองจากรัฐโดยกฎหมายว่ามีสิทธิอันชอบ
ธรรมในชีวิตของตนAN โดยการให้คำาจำากัดความของสิทธิมนุษยชน
และรวบรวมสิทธิทั้งหมดในทรัพย์สิน

สิทธิมนุษยชน โลกทัศน์และพัฒนาการ 29
เจริญพงศ์ พรหมศร 5110022007

"First Article – Men are born and remain free and equal in rights. Social distinctions
can be founded only on the common utility"AO

บทที่ 1 มนุษย์ย่อมเกิดมาอย่างมีเสรีภาพและความเท่าเทียม
กันในสิทธิ ความโดดเด่นของสังคมสามารถพบได้เพียงสังคมที่เป็น
ประโยชน์โดยทั่วไปต่อทุกคน

Declaration of the Rights of Man and of the Citizen in 1789

คำาประกาศสิทธิของมนุษย์และพลเมืองของฝรั่งเศสถือเป็น
เอกสารสำาคัญชิ้นหนึ่งในการปฏิวัติฝรั่งเศส โดยเนื้อหาในเอกสาร
ได้รับอิทธิพลจากหลักการสิทธิตามธรรมชาติ (Natural Right) สิทธิเหล่า
นี้เป็นสิทธิสากล (Universal Right) มนุษย์มีสิทธิในเวลา และสถานที่ โดย
อ้างถึงธรรมชาติของมนุษย์ และเป็นก้าวแรกของการร่าง
รัฐธรรมนูญที่บรรจุเรื่องของสิทธิขั้นพื้นฐานของพลเมือง ซึ่ง
อิทธิพลดังกล่าวไม่ได้เกิดเพียงแต่ในฝรั่งเศสแต่รวมถึงชาติตา่ ง ๆ
ในเวลาต่อมาทั้งในซีกโลกตะวันตกและตะวันออก เนื้อหาของคำา
ประกาศสิทธิของมนุษย์และพลเมืองนี้ ไม่มีคำากล่าวถึงสถานะของ

สิทธิมนุษยชน โลกทัศน์และพัฒนาการ 30
เจริญพงศ์ พรหมศร 5110022007

สตรี ระบบทาส ซึ่งหมายถึงการไม่ให้ความแตกต่างระหว่างชาย


และหญิงและระหว่างผู้มอ ี ำานาจเหนือกว่ากับผู้มีอำานาจน้อยกว่าที่
อยู่ภายใต้การปกครองอย่างเบ็ดเสร็จของผู้มอ ี ำานาจเหนือกว่า ซึ่งสิ่ง
เหล่านี้ย่อมแสดงถึงหลักสากลแห่งความเสมอภาค ซึ่งจะมีบทบาท
ต่อคำาประกาศปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration
of Human Rights หรือ UDHR) ซึ่งเป็นเอกสารที่แสดงถึงการประกาศ
เจตนารมณ์ในการร่วมมือระหว่างประเทศที่มีความสำาคัญในการ
วางกรอบเบื้องต้นเกีย ่ วกับสิทธิมนุษยชน และเป็นเอกสารหลักด้าน
สิทธิมนุษยชนฉบับแรก ซึ่งที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ
ให้การรับรองตามข้อมติที่ 217 A (III) เมือ่ วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2491AP
ในเวลาต่อมา

จะเห็นได้ว่าทันที่ฐานคิดเกี่ยวกับสิทธิมีการเปลี่ยนแปลงไป
จากเดิมที่ระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้น สิทธิเป็นเรื่องของ
อำานาจโดยชอบธรรมในการปกครอง ซึ่งผู้ปกครองได้รับมาจาก
พระเจ้า ผ่านกฎหมายศักดิ์สท ิ ธิ์ (Divine Right หรือเทวสิทธิ์) ได้ถูก
เปลี่ยนเป็นฐานคิดเกีย ่ วกับสิทธิตามธรรมชาติ (Natural Right) ซึ่งแม้ทั้ง
สองจะถูกอ้างอิงจากฐานคิดเดิมเรื่องกฎของธรรมชาติ (Natural Law)
ว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยพระเจ้าผู้สร้างสรรค์สรรพสิ่ง แต่กลับส่งผล
ถึงการใช้และรูปแบบความสัมพันธ์ทางการเมืองที่แตกต่างกันอย่าง
ยิ่ง ในขณะที่ระบบกษัตริย์มีความมั่นคงได้ด้วยการอ้างสิทธิอำานาจ
จากพระเจ้าผ่านกฎหมายศักดิ์สิทธิเ์ พื่อที่จะสามารถมีอำานาจ
ปกครองคนหมู่มากได้ด้วยกลุม ่ ชนชั้นนำา ระบบประชาธิปไตยกลับ
สร้างสิทธิของปัจเจกชนด้วยการอ้างสิทธิอำานาจที่มนุษย์ทุกคนได้
รับจากผูส ้ ร้าง
สิทธิมนุษยชนจึงเป็นสิ่งทีม ่ ีลักษณะเป็นพลวัตร และเกิดขึ้น
เพราะการต่อรองเรียกร้องทางการเมืองเพื่อถ่ายโอนอำานาจที่มอ ี ยู่
แต่เดิมจากชนส่วนน้อยไปสู่ชนส่วนมาก และเพื่อการรับประกันถึง
การมีชีวิต เสรีภาพ ทรัพย์สิน และการแสวงหาความสุขของปัจเจก
ชนทั่วไปภายในรัฐต่าง ๆ ว่าจะสามารถดำารงความเป็นมนุษย์ได้
อย่างมีศักดิ์ศรี (Dignity) ตามศักยภาพและความสามารถของตนที่มี
โดยรัฐมีหน้าทีท ่ ี่จะอำานวยให้เกิดซึ่งสิ่งเหล่านี้ตลอดจนการปกป้อง
สิทธิเหล่านี้ของพลเมืองไม่ให้ถูกลดทอนสูญหายไปได้

สิทธิมนุษยชน โลกทัศน์และพัฒนาการ 31
เจริญพงศ์ พรหมศร 5110022007

:
การกล่าวถึงพัฒนาการของสิทธิมนุษยชนในโลกตะวันออก
หากไม่กล่าวถึงทีม ่ าของสิทธิและอำานาจแล้ว ก็จะเป็นอ้างเฉพาะถึง
รูปแบบกฎหมายระหว่างประเทศในเรื่องปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิ
มนุษยชนทีร ่ ัฐชาติตา่ ง ๆ ในโลกฝั่งตะวันออกรับมาจากโลกฝั่ง
ตะวันตกผ่านกระบวนการการทำาให้เป็นตะวันตก (Westernization)
เท่านั้น และจะส่งผลถึงความไม่ลงรอยกันระหว่างสิทธิมนุษยชนที่
นำาเข้ามาจากโลกตะวันออก กับ ความรับรู้ด้านสิทธิและอำานาจของ
ตนเองและผู้ปกครองของพลเมืองในประเทศต่าง ๆ ในโลกตะวัน
ออก ดังที่ปรากฎอยู่ในปัจจุบัน
ตัวอย่างที่ดีทสี่ ุดเกี่ยวการไม่ลงรอยระหว่างโลกทัศน์ด้านสิทธิ
มนุษยชนของคนในโลกตะวันออกคือ กรณีการฆ่าตัดตอนและการ
ลงโทษผูท ้ ำาความผิดในคดีทเี่ กี่ยวข้องกับยาเสพติดหรือทีเ่ รียกกันว่า
“พวกผู้ค้ายาบ้า” เช่นกรณีเปรียบเทียบระหว่างข่าวจาก
หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ.2551 หน้า 12
ที่ตัวแทนขององค์การฮิวแมนไรท์วอทซ์ (Human Right Watch) ได้แสดง
ความกังวลต่อนโยบายต่อต้านยาเสพติดของรัฐบาลไทย ในขณะ
เดียวกันที่คนไทยที่ใช้ชื่อว่า “ผูเ้ กลียดองค์กรสิทธิฯ” ที่ลงในคอลัมภ์
“ถามตอบครอบจักรวาล” ของนายเหล็กหวานในหนังสือพิมพ์มติ
ชนรายวัน ฉบับวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2546 ที่แสดงทัศนะอย่าง
แข็งกร้าวต่อองค์กรสิทธิ์และมองการใช้ความรุนแรงของรัฐต่อผู้ค้า
ยาเสพติดว่าเป็นสิ่งที่มีความถูกต้องชอบธรรม ดังนี้

สิทธิมนุษยชน โลกทัศน์และพัฒนาการ 32
เจริญพงศ์ พรหมศร 5110022007

หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ.2551 หน้า 12

“ถึงนายเหล็กหวาน”
ผมเห็นด้วยกับการที่ตำารวจวิสามัญฆาตกรรมพวกค้ายาเสพ
ติดหรือยาบ้า เพราะพวกนี้มันอันตราย ตำารวจมีค่ามากกว่าพวกมัน
ไม่ควรไปห่วงชีวิตพวกค้ายา และผมขอประณามฝ่ายค้านและองค์กร
สิทธิมนุษยชน ที่ออกมาต่อต้านการปราบปรามและวิสามัญ
ฆาตกรรมผูค ้ ้ายา โดยเอาคำาว่าสิทธิมนุษยชนมาอ้าง และทีพวกค้ายา
ละเมิดสิทธิมนุษยชนของเยาวชน โดยการนำาเอาเสพติดระบาดสู่
เยาวชนและคนไทย ทำาไมพวกองค์กรสิทธิมนุษยชนและฝ่ายค้านไม่
คำานึงถึงบ้าง
“ผูเ้ กลียดองค์กรสิทธิฯ”
หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2546

เหตุใดโลกทัศน์ของตะวันออกและตะวันในเรื่องสิทธิมนุษย
ชนจึงมีความแตกต่างกันในลักษณะนี้ ที่เป็นเช่นนั้นเนื่องจากโลก
ทัศน์ของคนตะวันออกเช่นคนไทย มองความหมายของสิทธิว่าเป็น
่ งของ “ข้อกำาหนดและข้อห้ามในการกระทำาที่ไม่เป็นผลดีต่อ
เรือ
ส่วนรวม จุดหมายจึงได้แก่ความอยูร ่ อดและปลอดภัยของชุมชน
AQ
และสมาชิกทุกคน” ดังนั้นแล้วในทัศนะของตะวันออกนั้น สิทธิจึง
ไม่ใช่เรื่องของทีม
่ ีอยู่แล้วตามธรรมชาติของปัจเจกบุคคล แต่เป็นกติ
กาของการอยู่ร่วมกันในสังคม และในขณะเดียวกันนั้น สิทธิจึงมี
ความสัมพันธ์กับอำานาจและบารมีอย่างแยกไม่ออก เพราะสิทธินั้น

สิทธิมนุษยชน โลกทัศน์และพัฒนาการ 33
เจริญพงศ์ พรหมศร 5110022007

หมายถึง “อำานาจอันชอบธรรมและความสำาเร็จ” ของผู้มีบารมีใน


ระดับต่าง ๆ นั่นเอง
ในระบบการปกครองแต่เดิมของโลกตะวันออก โดยเฉพาะใน
กลุ่มอุษาคเนย์ เช่น ไทย และอินโดนีเซีย ได้กำาหนดระบบความ
สัมพันธ์ระหว่างชนชั้นต่าง ๆ และกำาหนดสิทธิ-อำานาจและหน้าที่ใน
ลักษณะของการมีบุญญาบารมี กล่าวคือ ผู้มส ี ิทธิ-อำานาจมาก ก็จะ
มีหน้าที่ต่อชนชั้นอื่น ๆ น้อย เช่น กษัตริย์นั้นเป็นผู้มีบารมีมาก ย่อม
จะมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัตต ิ ่อชนชั้นรองลงมาเช่น ขุนนาง ไพร่ และ
ทาส น้อยมาก สิ่งทีเ่ ป็นหน้าที่ที่กษัตริย์ต้องรับผิดชอบด้วยนั้น คือ
พระศาสนาที่ต้องทรงอุปภัมป์ และ เกียรติของสถาบันกษัตริยข ์ อง
พระองค์นั่นเอง และสิทธิของกษัตริย์นั้นย่อมมีมากที่สุด เพราะ
พระองค์เป็นผู้มีบุญญาบารมีสูงทีส ่ ุด จนเอนกนิกรทั้งหลายย่อมตั้ง
พึ่งพิงขึ้นต่อพระบรมโพธิสมภารของพระองค์ และพระองค์ย่อมมี
สิทธิอาณาประชาราชและเขตคามสีมารวมทั้งราชสมบัติทั้งหลายใน
แผ่นดินของพระองค์อีกด้วย ในขณะเดียวกันที่ทาสนั้นมีหน้าที่ทจ ี่ ะ
ต้องปฏิบัติตอ ่ นายทาส ไพร่ ขุนนาง กษัตริย์ อย่างเบ็ดเสร็จและ
รัดกุม และด้วยการเป็นทาสนั้นย่อมแสดงถึงบุญญาบารมีอยู่น้อย
นิด สิทธิต่าง ๆ ของทาสจึงแทบไม่มีเช่นเดียวกับบารมี จนแม้แต่
ชีวิตของตัวเองก็ไม่สามารถควบคุมหรือกระทำาการใดได้อย่างมี
อิสรภาพAR
เช่นเดียวกัน คำาว่าอิสรภาพในความหมายของตะวันออก ก็มี
ความแตกต่างกับคำาว่า Freedom ในความหมายของตะวันตก ที่หมาย
ถึงการไม่มีปัจจัยหรือมีปัจจัยน้อยทีจ ่ ะทำาให้ปัจเจกชนแต่ละคนไม่
สามารถกระทำาการใด ๆ ได้อย่างต้องการ แต่ในความหมายของ
ตะวันออกนั้น คำาว่า “อิสรภาพ” คือ การเป็นใหญ่ในตนและอาจจะ
ขยายไปสู่คนอื่น ๆ ที่ตนเองทำาหน้าที่ปกครองได้อีกด้วยAS ดังนั้น
สิทธิในสังคมอุษาคเนย์นั้นย่อมหมายถึงการที่ผม ู้ ีอำานาจ หรือ
อาวุโส และตำาแหน่งที่เหนือกว่าจะมีความสำาคัญกว่าผูอ ้ ยู่ใต้ความ
รับผิดชอบของคนผู้นั้น
Benedict Anderson ได้กล่าวถึงอำานาจในโลกชวา ซึ่งหมายถึงระบบ
และรูปแบบการปกครองดั้งเดิมของประเทศอินโดนีเชียไว้อย่างน่า
สนใจ ดังนีAT ้
1. อำานาจเป็นสิ่งนามธรรม ทีแ ่ ม้ว่าจะไม่แสดงออกมาให้เห็น
อย่างชัดเจน แต่ก็รับรู้ได้โดยทั่วไป อำานาจเป็นคำาทั่ว ๆ ไป
ที่แสดงถึงความสัมพันธ์หรือสิ่งสัมพันธ์เหมือนคำาว่า
อำานาจสั่งการและความชอบธรรม เราไม่สามารถบอกได้

สิทธิมนุษยชน โลกทัศน์และพัฒนาการ 34
เจริญพงศ์ พรหมศร 5110022007

ว่าใครหรือกลุ่มใดมีอำานาจหรือไม่จนกว่าจะได้เห็นการ
แสดงออกซึ่งอำานาจออกมา
2. ที่มาของอำานาจมีหลากหลาย ทั้งจากความพันธ์ทางสังคม
การสืบทอดจากบรรพบุรุษ การสั่งสมอาวุธและกำาลัง การ
จัดองค์กร การมีประชากรในความดูแล เทพเจ้า ม้าแก้ว
นางแก้ว ฯลฯ
3. การสั่งสมอำานาจนั้นไม่มีข้อจำากัดที่ซ่อนอยู่ภายใน การ
สั่งสมอำานาจเป็นความสามารถของผูม ้ ีอำานาจ
4. อำานาจนั้นมีความคลุมเคลือทางศีลธรรม อำานาจไม่
ต้องการความชอบธรรมเหมือนกับอำานาจของตะวันตก
ดังนั้นแล้ว โลกทัศน์ต่ออำานาจของชาวชวาคือการที่
อำานาจเป็นสิ่งคงทน ถาวรและมีอยู่จริง อีกทั้งไม่ได้ขึ้นต่อผู้ใช้
อำานาจอีกด้วย เพราะอำานาจมีอยู่หนึ่งเดียวและเป็นสิ่งที่มอ ี ย่างคงที่
ในจักรวาลอีกทั้ง “อำานาจ” ไม่ต้องการสิ่งอธิบายใด ๆ ถึงความชอบ
ธรรม เพราะอำานาจนั้นมีความชอบธรรมในตัวมันเอง หรืออาจจะ
กล่าวได้ว่า อำานาจก็คืออำานาจ
สิทธิและอำานาจในโลกทัศน์ตะวันออกจึงเป็นเรื่องที่
สมบูรณ์ในตัวของตัวเอง การใช้สิทธิและอำานาจจึงไม่ใช่เรื่องของ
ประชาชนทั่วไปแต่เป็นเรื่องของผู้มส ี ิทธิและอำานาจที่จะใช้สท ิ ธิและ
อำานาจนั้นทำาการใด ๆ ตามประสงค์ของเขา ข้อจำากัดของสิทธิและ
อำานาจนั้นคงจะมีแต่เพียงหลักการทางศาสนาซึ่งเป็นหลักคิดที่ให้
ความชอบธรรมต่อการคงอยูข ่ องผู้มอี ำานาจ ด้วยโลกทัศน์เช่นนี้การ
ที่ “ผู้เกลียดองค์กรสิทธิ”์ จะมีความเห็นว่า “คนชั่ว” ไม่ควรมีสิทธิ
ใด ๆ เลย และตำารวจอันถือได้ว่าเป็นเจ้าหน้าทีข ่ องรัฐก็มีสิทธิและ
อำานาจในหน้าที่ทจ ี่ ะวิสามัญฆาตกรรมพวกผู้ค้ายาเสพติดได้อย่าง
ชอบธรรมอีกด้วย นอกจากนี้ยังมองว่า “พวกองค์กรสิทธิ” เป็นพวก
สร้างความวุ่นวาย เพราะ “ไม่คำานึงถึงการละเมิดสิทธิของเด็กและ
เยาวชนของผู้ค้ายาเสพติดด้วยการเอายาเสพติดมาแพร่ระบาดสู่
เยาวชนและคนไทย” เป็นต้น

ย์
ด้วยเหตุเช่นนี้ข้าพเจ้าจึงเห็นว่าการจะสร้างโลกทัศน์ด้าน
สิทธิมนุษยชนให้เกิดขึ้นกับโลกตะวันออกนั้น จำาเป็นที่จะต้องสร้าง
มุมมองของการยอมรับในการมีอยู่ของ “ความเป็นคน” ของตนเอง
และผู้อื่นอย่างเสมอภาคกัน เพราะจุดหมายสูงสุดของสิทธิมนุษย
ชนคือการปลดปล่อยคนทั้งหลายให้พ้นจากความทุกข์ของการกดขี่

สิทธิมนุษยชน โลกทัศน์และพัฒนาการ 35
เจริญพงศ์ พรหมศร 5110022007

เหยียดหยามและไม่เป็นธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นในสังคม และเป้า
หมายเช่นนี้ย่อมใช้ได้ทั้งโลกทัศน์แบบตะวันตกและตะวันออก
เพราะแท้ที่จริงแล้ว “ความยุติธรรมที่สูงสุดย่อมเป็นหนึ่งเดียวกับ
ความดีงาม” ความยุติธรรมนั้นคือความเสมอภาคกันของความเป็น
คน เป็นความเสมอภาคกันในเกียรติแห่งความเป็นมนุษย์ ไม่ว่า
มนุษย์ที่ว่านั้นจะมีเพศ พันธุ์ ภาษา สีผิว ความเชือ ่ -ศาสนา อย่างไร
ในขณะที่ความดีงามนั้นคือ “ธรรม” สูงสุดซึ่งหมายถึงการ
สร้างสรรค์สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติ การไม่เบียดเบียน
ตนเองและผู้อื่นให้เป็นทุกข์ และการพัฒนาตนเองให้มีความรู้ความ
เข้าใจ “ภาวะ” ความเป็นไปของตนเองและสรรพสิ่งที่เกี่ยวข้อง
และนั่นคือความหมายของการปลดปล่อยศักยภาพมนุษย์ด้วยการ
ให้สิทธิเสรีภาพต่อตนเองและผู้อื่นเพื่อวัตถุประสงค์ 3 ประการข้าง
ต้นAUนั่นเอง
มนุษย์นั้นเป็นสิ่งมีชีวิตทีม
่ ีศักยภาพในการจะคิดและทำาตาม
ความคิดของตน การส่งเสริมศักยภาพของมนุษย์นั้นจึงทำาได้ด้วยให้
สิทธิเสรีภาพในการคิดและการกระทำา อย่างไรก็ดี มนุษย์หาได้เป็น
สิ่งมีชีวิตมีความเหตุผลเพื่อคุณความดีอย่างเดียวเท่านั้น หลายต่อ
หลายครั้งทีม ่ นุษย์มุ่งประโยชน์ส่วนตัวและทำาร้ายผู้อื่นและสิ่งอื่น ๆ
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์แห่งความต้องการของตน ประวัติศาสตร์
ที่ผ่านมาของมนุษยชาติเต็มไปด้วยสงครามและการทำาลายล้าง
ชาติพันธุ์ระห่างมนุษย์ด้วยกัน และอาจจะกล่าวโดยไม่ขด ั เขินว่า
ประวัติศาสตร์ให้ความสนใจกับสงครามมากกว่าสันติภาพ และ
สันติภาพที่ประวัติศาสตร์สนใจนั้น คือผลพวงมาจากสงคราม ไม่ว่า
จะเป็นการให้ความสำาคัญกับสหประชาชาติด้วยการอ้างถึงลำาดับ
เหตุการณ์ต่าง ๆ ของสงครามโลกครั้งที่ 2 การบอกกล่าวถึง
สันนิบาตชาติ ด้วยการบอกเล่าถึงเหตุการณ์ที่เป็นชนวนเหตุของ
สงครามโลกครั้งที่ 1 การเกิดขึ้นของรัฐชาติในยุโรปและนำาสันติภาพ
ของเหล่าคนขาว ด้วยการกล่าวถึงสนธิสัญญาเวสปาเลีย ซึ่งจำาเป็น
ต้องอ้างอิงถึงสงครามระหว่างราชวงศ์ต่าง ๆ ในยุโรปที่กินเวลานับ
ร้อยปี อย่างไรก็ดี การสร้างความเป็นเลิศของมนุษย์นั้น ไม่จำาเป็น
ต้องเริ่มต้นด้วยการต่อสู้กับศัตรู (ที่สมมติขึ้น?) หากแต่เกิดขึ้นได้ด้วย
การแสวงหาสันติภาพจากภายในของมนุษย์แต่ละคน สันติภาพจึง
เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ด้วยตัวของมันเอง ไม่ใช่สิ่งทีเ่ กิดขึ้นได้เพราะ
ความจำาเป็นในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงและความขัดแย้งต่าง
ๆ เท่านั้น ด้วยตรรกนี้ สันติภาพจึงไม่ใช่สิ่งที่มีความสัมพันธ์อย่าง
ตายตัวกับสิ่งที่เรียกว่า สงคราม หากแต่สันติภาพนั้น เป็น “ภาวะ”

สิทธิมนุษยชน โลกทัศน์และพัฒนาการ 36
เจริญพงศ์ พรหมศร 5110022007

ที่สงบและไร้สิ่งกีดขวางอันเป็นอุปสรรคที่ทำาให้มนุษย์ไม่สามารถ
พัฒนาศักยภาพอันมีคา่ ของตนเองได้ตา่ งหาก
สิ่งทีส
่ ำาคัญตามมาคือ จะทำาอย่างไรมนุษย์จึงจะสามารถสร้าง
สันติภาพภายในตัวเอง เพื่อนำาไปสู่สันติภาพของมนุษยชาติได้
ข้าพเจ้าเชื่อว่า หลักการ 3 ประการ อันได้แก่ การสร้างสรรค์สิ่งที่
เป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติ การไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
ให้เป็นทุกข์ และการศึกษาเพื่อเข้าใจตนเองและสรรพสิ่งจะ
เป็นการทำาให้มนุษย์มศ ี ักยภาพที่ไม่สิ้นสุดและสร้างสันติภาพที่
มั่นคงถาวรควบคู่ไปกับการดำารงค์อยูข ่ องมวลมนุษยชาติใน
จักรวาลอันยิ่งใหญ่นี้ได้

เชิงอรรถ

สิทธิมนุษยชน โลกทัศน์และพัฒนาการ 37
A
ส. ศิวลักษณ์. “นักปรัชญาการเมืองฝรั่ง”. ศึกษิตสยาม.กรุงเทพ. 2546, หน้า 2-15
B
ธวัช ทันโตภาส “ทฤษฏีการเมือง” โรงพิมพ์ปัตตานีการช่าง.ปัตตานี.2542, หน้า 15
C
อ้างแล้ว, หน้า 21
D
ส. ศิวลักษณ์. “นักปรัชญาการเมืองฝรั่ง”. ศึกษิตสยาม.กรุงเทพ. 2546, หน้า 10
E
ธวัช ทันโตภาส “ทฤษฏีการเมือง” โรงพิมพ์ปัตตานีการช่าง.ปัตตานี.2542, หน้า 39
F
อ้างแล้ว, หน้า 29
G
อ้างแล้ว, หน้า 42
H
อริสโตเติล ใช้คำาว่า Telos ในการอธิบายถึง ความมุ่งหมายสูงสุดของชีวิต ดู ส. ศิวลักษณ์. “นักปรัชญาการเมือง
ฝรั่ง”. ศึกษิตสยาม.
กรุงเทพ. 2546, หน้า 20
I
อ้างแล้ว, หน้า 21
J
อ้างแล้ว, หน้า 23
K
ข้าพเจ้าสรุปข้อความนี้ในบรรทัดนี้ด้วยความเชื่อว่า สรรพความรู้ของกรีกได้ถูกถ่ายทอดไปยังโลกอาหรับและ
จักรวรรดิโรมันซึ่งต่อมาได้ใช้แนวความคิดดังกล่าวในการเปลี่ยนระบบความเชื่อจากการนับถือเทพเจ้าหลายองค์
เป็นการวางระบบความสัมพันธ์ของจักรวาลโดยมีผู้สร้างเพียงหนึ่งเดียว เช่นเดียวกับที่เฮราคลีตุสได้นำาความรู้
จากลุ่มนำ้าสินธุมาพัฒนาเป็นปรัชญาวัตถุนิยมของตนและเป็นพื้นฐานของการพัฒนาปรัชญาอุดมคตินิยมและ
ปฏิบัตินิยมของกรีกในเวลาต่อมา
L
อย่างไรก็ดี คำาว่า “พลเมือง” ในยุคดังกล่าว ยังไม่ได้หมายถึง มนุษย์หรือประชาชนทุกคนทีอ ่ ยูใ่ นรัฐ ดังเช่น ช่วง
โซลอน (Solon) ได้ปฏิรูปการเมืองของนครรัฐเอเธนธ์ เมือ ่ พ.ศ. 51 โดยการให้สิทธิพลเมืองจากนครรัฐอื่นที่เข้า
ทำางานในเอเธนส์ แต่ถูกยึดอำานาจโดย ไปรซิสเทรทอส (Peisistratos) ในเวลาไม่นานนัก หลังจากนั้นใน พ.ศ.33
ไคลส์ธีนีส (Cleisthenes) จึงได้ทำาการปฏิรปู การเมืองของเอเธนส์อก ี ครั้งด้วยการตัง้ สภาตัวแทนที่มจ ี ากสภาชิก
จำานวน 500 คน โดยสมาชิกจะเป็นตัวแทน 50 คนจากแต่ละหน่วยปกครองทั้ง 10 หน่วย อย่างไรก็ดีเฉพาะเพศ
ชายเท่านั้นที่มีสิทธิได้รบ
ั เลือกตั้งเป็นสมาชิกส่วนเพศหญิงและทาสไม่ได้รับสิทธิในการรับเลือกและไม่มีสท ิ ธิใน
การออกเสียงอีกด้วย ดังนั้น ประชากรที่มีฐานะเป็นพลเมืองของเอเธนส์จึงมีเพียง 1 ใน 6 ของประชากรทั้งหมด
ดู ธีรยุทธ บุญมี. “ความหลากหลายของชีวิต ความหลากหลายของวัฒนธรรม”.สายธาร. กรุงเทพ. 2547, หน้า 129
และ
พิศาล มุกดารัศมี. “บางบทสำารวจปรัชญาการเมืองคลาสิก”. วิภาษา. กรุงเทพ. 2551, หน้า 179-183
M
ธีรยุทธ บุญมี. “ความหลากหลายของชีวิต ความหลากหลายของวัฒนธรรม”.สายธาร. กรุงเทพ. 2547, หน้า 311
N
ธวัช ทันโตภาส “ทฤษฏีการเมือง” โรงพิมพ์ปัตตานีการช่าง.ปัตตานี.2542, หน้า 50
O
ส. ศิวลักษณ์. “นักปรัชญาการเมืองฝรั่ง”. ศึกษิตสยาม.กรุงเทพ. 2546,หน้า 34
P
อ้างแล้ว, หน้า 45
Q
เซนต์ออกัสตินใช้คำาว่า odr ในการอธิบายถึง “ระบบความสัมพันธ์อันถูกต้อง” ซึง่ มีความหมายเดียวกันกับคำาว่า
ยุติธรรม อ้างแล้ว, หน้า 36
R
ธวัช ทันโตภาส “ทฤษฏีการเมือง” โรงพิมพ์ปัตตานีการช่าง.ปัตตานี.2542, หน้า 52
S
ส. ศิวลักษณ์. “นักปรัชญาการเมืองฝรัง่ ”. ศึกษิตสยาม.กรุงเทพ. 2546, หน้า 38
T
ธวัช ทันโตภาส “ทฤษฏีการเมือง” โรงพิมพ์ปัตตานีการช่าง.ปัตตานี.2542, หน้า 54
U
อ้างแล้ว, หน้า 65
V
ส. ศิวลักษณ์. “นักปรัชญาการเมืองฝรั่ง”. ศึกษิตสยาม.กรุงเทพ. 2546, หน้า 68
W
ธวัช ทันโตภาส “ทฤษฏีการเมือง” โรงพิมพ์ปัตตานีการช่าง.ปัตตานี.2542, หน้า 67
X
อ้างแล้ว, หน้า 66
Y
ส. ศิวลักษณ์. “นักปรัชญาการเมืองฝรั่ง”. ศึกษิตสยาม.กรุงเทพ. 2546, หน้า 64
Z
ธวัช ทันโตภาส “ทฤษฏีการเมือง” โรงพิมพ์ปัตตานีการช่าง.ปัตตานี.2542, หน้า 74
AA
อ้างแล้ว, หน้า 69
AB
อ้างแล้ว, หน้า 87
AC
Divine Right ถูกนำาเสนออย่างเป็นระบบครั้งแรกโดย เซนต์ ออกัสติน โดยเชือ
่ ว่ารัฐทีด
่ ีจะต้องใช้กฎหมายของ
พระเจ้าในการปกครองประชาชน ซึง่ เปิดโอกาสให้ศาสนจักรมีบทบทและอิทธิพลต่อการเมืองการปกครอง และ
ส่งต่อมายังสถาบันกษัตริยใ์ นรูปของการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในเวลาต่อมา ดูหน้า 10 ของ
บทความนี้
AD
ส. ศิวลักษณ์. “นักปรัชญาการเมืองฝรัง่ ”. ศึกษิตสยาม.กรุงเทพ. 2546, หน้า 107
AE
ธวัช ทันโตภาส “ทฤษฏีการเมือง” โรงพิมพ์ปัตตานีการช่าง.ปัตตานี.2542, หน้า 86
AF
อ้างแล้ว, หน้า 87
AG
อ้างแล้ว, หน้า 89
AH
ส. ศิวลักษณ์. “นักปรัชญาการเมืองฝรัง่ ”. ศึกษิตสยาม.กรุงเทพ. 2546, หน้า 117
AI
อ้างแล้ว หน้า 121
AJ
http://en.wikipedia.org/wiki/United_States_Declaration_of_Independence
AK
ธวัช ทันโตภาส “ทฤษฏีการเมือง” โรงพิมพ์ปัตตานีการช่าง.ปัตตานี.2542, หน้า 89
AL
http://en.wikipedia.org/wiki/United_States_Declaration_of_Independence
AM
http://th.wikipedia.org/wiki/การปฏิวัติฝรั่งเศส
AN
http://en.wikipedia.org/wiki/Declaration_of_the_Rights_of_Man_and_of_the_Citizen
AO
http://en.wikisource.org/wiki/Declaration_of_the_Rights_of_Man_and_of_the_Citizen
AP
http://th.wikipedia.org/wiki ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
AQ
ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ์. “กำาเนิดและความเป็นมาของสิทธิมนุษยชน” เอกสารประกอบการประชุมศุกร์เสวนา.
8 มิถุนายน 2550
หน้า 1
AR
อ้างแล้ว, หน้า 4
AS
อ้างแล้ว, หน้า 4
AT
Anderson, Benedict R. O'G."Language and power : exploring political cultures in Indonesia ".
Cornell University Press, New York. 1990, p 20-21
AU
วัตถุประสงค์ 3 ประการข้างต้น ข้าพเจ้าอนุมานมาจาก หลักไตรสิขาในศาสนาพุทธ อันได้แก่ การไม่ทำาบาป
(สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง) การทำากุศลทั้งปวงทั้งปวง (กุสะลัสสูปะสัมปะทา) และการทำาจิตตนให้ขาวรอบ (
สะจิตตะปริโยทะปะนัง)

Das könnte Ihnen auch gefallen