Sie sind auf Seite 1von 3

วิเคราะห์ตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ของประเทศไทยในปี 2550

โดย ปรเมศวร์ กุมาร


บุญ
19 กุมภาพันธ์ 2550
15:14 น.
ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างมาก โดยราคาบาทต่อดอลลาร์ (Off Shore) อยู่ที่ประมาณ 32 บาทต่อดอลล่าร์ สหรัฐ เมื่อนึกถึงว่าเราไม่มีการ
ส่งออกเกี่ยวกับธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่เนื่องจากเป็นประเทศนำาเข้าเทคโนโลยีตลอด จึงถือว่าเป็นประโยชน์จากการนำาเข้า เมื่อเงินบาทแข็งค่าขึ้นและ
จะทำาให้ปัจจัยหนุนเกิดความสนใจการนำาเข้ามากขึ้น

ขณะเดียวกันอัตราดอกเบี้ยเงินฝากขยับขึ้นเล็กน้อย พร้อมกับอัตราเงินเฟ้อที่ลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ล่าสุดเมื่อมกราคมที่ผ่านมา


อัตราเงินเฟ้อลดจาก 3.5% เหลือ 3% ย่อมทำาให้อุปสงค์ของประชาชนลดลงและรายได้ต่อเลขหมาย (ARPU) จากผู้ใช้บริการโทรศัพท์
เคลื่อนที่ย่อมลดลงด้วย แต่ในความจริงแล้วแนวโน้มความต้องการใช้งานประเภท Non-Voice กลับเพิ่มสูงขึ้นมากกว่า 20,000 ล้านบาทในปี
ที่ผ่านมาและยังมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ มากกว่ามูลค่าบริการที่ได้รับจากกบริการสนทนาด้วยซำ้า หากนึกดูดีๆ VAS ที่ดีหรือสามารถกระตุ้น
ให้เม็ดเงินในกระเป๋าผู้บริโภคจำานวนมากออกมาได้อาจจะกลายเป็นเทคโนโลยีที่สำาคัญต่อปัจจัยอัตราเงินเฟ้ออีกประเภทในอนาคต

โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อแนวทางการสร้างความเป็นธรรมในการแข่งขันเสรีในกิจการโทรคมนาคมของ กทช. ค่อยคืบคลานเกิดเป็นรูปธรรมมาก


ขึ้นปีนี้อาจเป็นไปได้ที่กลุ่มทุนต่างชาติหนุนเข้ามาทำาให้ตลาดหุ้นพุ่งทะลุ 700 จุดโดยไม่ใช่ฟองสบู่ก็เป็นได้

แต่จากบทวิเคราะห์หุ้นกลุ่มสื่อสารทั่วไปยังเชื่อว่า แนวโน้มหุ้นกลุ่มสื่อสารอาจจะเคลื่อนไหวออกมาในทางลบอย่างมากในปีนี้ เนื่องจากการ


ตรวจพบสัญญาสัมปทานทุกสัญญาขัดกับ พรบ. ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมการงานหรือดำาเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. ๒๕๓๕ เนื่องจาก
เป็นการตกลงที่มีผลประโยชน์เกิกว่า 1,000 ล้านบาท โดยไม่ผ่าน ครม. อีกทั้งในสัมปทานดาวเทียมมีข่าวว่ามีความเสี่ยงที่ถูกยึดคืนหลายประเด็น
เช่น การไม่มีดาวเทียมสำารอง การไม่นำาส่งเงินประกันและโครงสร้างผู้ถือหุ้นเปลี่ยนไป เป็นต้น แต่หลายบทความก็ชี้ให้เห็นว่าไม่ใช่ความผิดถึงขั้น
จะยึดสัมปทานได้ แต่ด้วยธรรมชาติความอ่อนไหวของนักลงทุนไทยคงจะทำาให้หุ้นกลุ่มสื่อสารลดลงเล็กน้อยในไตรมาสแรกของปีนี้และจะเกิด
ความเปลี่ยนแปลงราคาหุ้นอีกมากมายในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ ทั้งผลกระทบทั้งจากกฎหมาย จากการมีเทคโนดลยีใหม่และการเปลี่ยนแปลงของ
หน่วยงานกำากับดูแล

ผลกระทบการเมือง

หลายคนที่รู้ลึกในวงการโทรคมนาคมล้วนลุ้นเงียบๆ ถึงผลกระทบทางการเมืองต่อแนวโน้มของวงการโทรคมนาคมไทย ในปี 2550 นี้ อัน


เนื่องมาจากว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ได้ถูกยกเลิกไป โดย คมช. และกำาลังมีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่โดย ส.ส.ร.

เป็นที่ทราบกันดีว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ นั้น เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนมากทีส่ ุดในประวัติศาสตร์


แม้ประชาชนจะยังมีส่วนร่วมไม่ครบกระบวนการก็ตาม และโดยความสำาคัญอย่างยิ่งต่อวงการโทรคมนาคมไทย ในหมวด สิทธิเสรีภาพของปรชาชน
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มาตรา ๔๐ ที่บัญญัติให้ ทรัพยากรคลื่นความถี่เป็นของประชาชนทุกคนและให้มีองค์กรอิสระบริหารคลื่นความถี่ จึงเกิดมี พรบ.
องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ออกมา และเกิด เป็น กทช. และ กสช.

ปัจจุบัน กทช. ได้รับโปรดเกล้าฯ และปฏิบัติหน้าที่บริหารคลื่นอย่างตรงไปตรงมาและกำากับดูแลการแข่งขันเสรีอย่างเป็นธรรม เพราะกฏ


หมายบัญญัติอำานาจหน้าที่ชัดเจน จึงโปร่งใสตรวจสอบง่าย แต่ขณะที่ กสช. ยังอยู่ในกระบวนการสรรหา จึงมิอาจปฏิบัติหน้าที่เป็นกรรมการร่วมใน
การบริหารทรัพยากรคลื่นความถี่ ร่วมกับ กทช. ตามบทบัญญัติแห่ง พรบ. องค์กรจัดสรรฯ ได้ จึงทำาให้อุตสาหกรรมโทรคมนาคมและการสื่อสาร
ต่างๆ ของชาติหยุดชะงักลงไปบ้าง

ผลกระทบของการเมืองโดยเฉพาะกฎหมายต่อการสื่อสารโทรคมนาคมของไทยในปีนี้นั้น นับว่ามีความสำาคัญอย่างมากที่สุด จะเห็นได้ว่าจาก


อดีตวงการโทรคมนาคมของเราออกเดินทางจากการประจักษ์ว่าลำาพังหน่วยงานรัฐให้บริการจะเกิดการพัฒนาบ้านเมืองได้ช้ามากและไม่มี
ประสิทธิภาพ จึงกลายเป็นเปิดให้มีเอกชนรับสัมปทานให้นำาทรัพยากรคลื่นมาทำาให้เกิดประโยชน์สูงสุดหาได้มีเก็บไว้ไม่ มีการกำาหนดให้มีการ
แข่งขันเสรีและมี กทช. คงจำากันได้ว่าในทางปฏิบัติสำาหรับประเทศไทย ใช้เวลาหลายปีกว่าจะได้คนดีมีความสามารถมาสมัครจนได้ กทช. ชุด
ประวัติศาสตร์นี้ออกมา หากจะถอยกลับไปใหม่ ประเทศไทยคงเสียหายอย่างมาก นั่นคงเป็นเรื่องที่ สสร. ต้องคำานึงถึงความจริงมากกว่าแนวทาง

Das könnte Ihnen auch gefallen