Sie sind auf Seite 1von 3

นางสาวมินตรา เอียการนา กลุ่ม 1 

รหัสนักศึกษา 6270143 

 
การเขียนเชิงกระแสสํานึก 
 
กลวิธก
ี ารประพันธ์งานเขียนประเภทบันเทิงคดีมอ ี ยูห่ ลากหลายวิธต ี ามแต่ความถนัดของผูเ้ ขียน นอกจาก
ประเภทใหญ่อย่างการบรรยายและการพรรณนาแล้ว ยังมีการแบ่งแยกย่อยลงไปอีก เช่น การเขียนแบบอัต
นิยมมายา1 การใช้สญ ั ลักษณ์ การเขียนเชิงกระแสสํานึก เปนต้น ซึงบทความนีจะอธิบายถึงการเขียนเชิง
กระแสสํานึก 
 
กระแสสํานึก (Stream of Consciousness) คือการเขียนทีเน้นการบันทึกความรูส ้ ก
ึ นึกคิดของตัวละครมากกว่า
การดําเนินเหตุการณ์ตามความเปนจริง มักถ่ายทอดออกมาในลักษณะของการพูดคนเดียว รําพึงรําพันในใจ มีการ
ใส่คําสบถ ความคิดดิบทีผ่านการประดิษฐ์นอ ้ ยกว่ากลวิธก ี ารเขียนแบบอืน หรือปราศจากการกลันกรองโดยสินเชิง 
เนืองจากขึนชือว่ากระแสแล้วย่อมต้องมีการหลังไหลไม่มท ี ีสินสุด ความคิดหนึงผูกโยงไปถึงความทรงจํานับไม่ถ้วน 
อาจมีความสับสน ไร้ระเบียบ ไม่มคี วามต่อเนือง ลําดับความข้ามไปข้ามมา ตัดกาลเวลา รูปแบบประโยคไม่
สมบูรณ์ ไม่ถกู หลักไวยากรณ์ซงเปนไปตามธรรมชาติ
ึ ความคิดในหัวของมนุษย์จริงๆ ทีไม่ถก ู กําหนดด้วยกรอบ
เกณฑ์ใด อย่างเช่นหากตัวละครนันกําลังเกิดความรูส ้ ก
ึ โกรธ ก็จะเขียนคําสบถ คําด่าทอยาวเปนหน้า จนกระทังคิด
ไม่ออกแล้วก็จะเขียนว่าาคิดไม่ออก คิดไม่ออกซาแล้วซาเล่า จากนันตัดไปเรืองลมฟาอากาศ ยังไม่ทันอ่านเข้าใจตัว
ละครก็หวนกลับไปนึกถึงอดีต เปนต้น แต่ทังนีทังนัน หากผูอ ้ ่านติดตามกระบวนการคิดอย่างครบถ้วนแล้ว จะ
สังเกตเห็นว่ามีความเชือมโยงกันอยูใ่ นระหว่างเรืองราวต่าง ๆ เสมอ 
 
 

 
ทีมา : http://www.karentyrrell.com/stream-of-consciousness/ 
วิธก
ี ารเขียนเชิงกระแสสํานึกเบืองต้น 
 

1
(n.d.). กลวิธก
ี ารเล่าเรืองแบบกระแสสํานึกในเรืองสันเข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ พ.ศ. 2524-2542 - มหาวิทยาลัย
ทักษิณ. Retrieved November 28, 2019, from 
http://kb.tsu.ac.th/jspui/bitstream/123456789/3351/1/Manoch%2000071287.pdf 
อัตนิยมมายา (Magical Realism) หมายถึง เรืองทีมุง่ เสนอเรืองราวโดยใช้ความเชือทีผูกพันกับวิถีชีวิตของคนในสังคมเปนแก่นหลัก 
นางสาวมินตรา เอียการนา กลุ่ม 1 
รหัสนักศึกษา 6270143 

คําว่า กระแสสํานึก ถูกคิดค้นขึนมาครังแรกเมือป ค.ศ.1890 โดยวิลเลียม เจมส์ (William James) นักจิตวิทยา


ชาวอเมริกัน ในหนังสือเรือง The Principles of Psychology เพือใช้อธิบายความทรงจํา ความคิดและความ 
รูส
้ ก
ึ ของคนเราทีอยูน ่ อกเหนือจิตสํานึก ก่อนทีริชาร์ด เสทิรน ์ (Richard Stern) และเอดูอาร์ ดูชาแด็ง 
(Édouard Dujardin) จะนํามาพัฒนาต่อยอดกระทังถึงยุคของเจมส์ จอยซ์ (James Joyce) ทีผลงานเรือง Ulysses 
ของเขาได้รบ ั การยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเปนงานทีชันเรียนวรรณกรรมร่วมสมัยต้องพูดถึงในฐานะต้นแบบของ
ประเภทกระแสสํานึกทีมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว 
 
หนึงในนักเขียนทีมีการใช้กลวิธก ี ระแสสํานึกได้อย่างโดดเด่นจนบางคนถึงกับเรียกเธอว่า ‘เจ้าแม่แห่งกระแส
สํานึก’ คือ เวอร์จิเนีย วูล์ฟ (Verginia Woolf) นักเขียนคนสําคัญแห่งยุควิคตอเรียจากผลงานเรือง Mrs.Dalloway 
และอืน ๆ ประเด็นสําคัญทีปรากฏบ่อยครังในงานของวูล์ฟคือมุมมองสตรีนย ิ มทีมีต่อภูมทิ ัศน์ ความเปนแม่บา้ นแม่
เรือน และตัวตนของผูห ้ ญิงซึงสอดคล้องกับในช่วงสงครามโลกครังทีสองซึงเปนยุคสมัยทีวูล์ฟมีชว ี ิตอยู่ สังคมถูก
ปกครองด้วยระบบชายเปนใหญ่ บทบาทของผูห ้ ญิงไม่ได้รบ
ั การตระหนักรูเ้ ท่าทีควร ในเรืองคุณนายดัลโลเวย์น ี
วูล์ฟสือความเปนกระแสสํานึกผ่านมุมมองบุคคลทีสาม บรรยายความในใจของตัวละครทีปรากฏในเรืองอย่าง
ละเมียดละไม เจาะลึกไปถึงแก่นวิญญาณถ่องแท้ มีการใช้สญ ั ลักษณ์ ภาพพจน์เปรียบเทียบและบางครังการตัด
สลับมุมมองอย่างไม่มป ี มีขลุ่ยของงานกระแสสํานึกก็ท้าทายผูอ ้ ่านมิใช่นอ้ ย เช่น ขณะทีเอลิซาเบธ บุตรสาวของคุณ
นายดัลโลเวย์กําลังดืมดากับอิสรภาพประสาผูห ้ ญิงด้วยการนังรถเมล์ชนสอง ั (สมัยนันมองว่าการทีผูห ้ ญิงนังรถเมล์
ชันสองเปนสิงไม่เหมาะสม เนืองจากเปนการเผยตัวแก่คนแปลกหน้า ผิดขนบสตรีสงวนตัว ) มองสํารวจก้อนเมฆ 2

ไปเรือย กระแสความคิดก็สลับสับไปเปนมุมมองของเซปติมส ุ ทหารผ่านศึกไม่สมประกอบทีกําลังนังมองเมฆก้อน


เดียวกันนีจากห้องพักส่วนตัวขณะรอรถพยาบาลมารับเขาไปสถานกักกัน หรือในตอนทีคลาริสซาเริมต้นบท
สนทนากับพีเทอร์ วอลซ์ คนรักของเธอ วูล์ฟก็ไม่ได้เขียนให้พเี ทอร์ตอบกลับทันที แต่เลือกจะบรรยายกระแสสํานึก
ของคลาริสซาก่อน เพือเปดเผยความรูส ้ ก
ึ ขณะเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ อย่างละเอียด เช่น 
 
“จําที ทะเลสาบได้ไหมคะ” เธอกล่าวขึน ด้วยเสียงแบบปุบปบก็นก ึ ขึนได้ ใต้แรงกดดันอัน
หนึงของอารมณ์ซงจั ึ บเอาหัวใจของเธอไว้ ทําให้กล้ามเนือลําคอของเธอติดขัด และริมฝปาก
ของเธอนันเหมือนพรวดออกมาขณะเธอพูด “ทะเลสาบ” เพราะเธอคือเด็กน้อยคนหนึง 
กําลังโยนขนมปงให้พวกเปด ตรงกลางระหว่างคุณพ่อคุณแม่ของเธอ และเวลาเดียวกันนันก็
เปนด้วย ผูห ้ ญิงผูโ้ ตแล้วคนหนึง กําลังเข้ามาหาคุณพ่อคุณแม่ของเธอซึงยืนอยูร่ ม ิ ทะเลสาบ
กําลังอุ้มชีวิตของเธอมาในอ้อมแขน ซึง ขณะเธอเข้าไปใกล้พวกท่านนันก็กลายเปนผูใ้ หญ่ขน  ึ
และใหญ่ขน ึ ในอ้อมแขนของเธอ จนกระทังมันกลายเปนชีวิตทังชีวิต ชีวิตทีเต็มสมบูรณ์ ซึง
เธอวางลงข้าง ๆ พวกท่านและกล่าว “นีคือสิงซึงฉันทําขึนมาจาก! สิงนีแหละ!” แล้วอะไรหรือ
ทีเธอทําขึนมาจาก อะไรกันหรือ จริง ๆ แล้ว กําลังนังเย็บผ้าอยูต ่ รงนัน เช้านี กับพีเทอร์ วอลซ์ 
 
เธอมองไปทีพีเทอร์ วอลซ์ การมองของเธอ กําลังทะลุผา่ นทังหมดของเวลาอันนัน และสภาพ
อารมณ์อันนัน ไปถึงทีเขาอย่างข้องใจสงสัย จับลงทีเขาอย่างเต็มนาตา แล้วโผขึน และโบก
บินออกไป เช่นนกทีแตะลงบนกิงไม้แล้วโผขึน และโบกบินออกไป อย่างง่าย ๆ เลย เธอปาด
เช็ดนัยน์ตา 
 
  
 

2
(n.d.). คุณนายดัลโลเวย์ | บทความงานวิจัย | Happy Reading. Retrieved November 28, 2019, from 
http://www.happyreading.in.th/article/detail.php?id=1546  
นางสาวมินตรา เอียการนา กลุ่ม 1 
รหัสนักศึกษา 6270143 

“จําได้” พีเทอร์กล่าวขึน “จําได้ ใช่ ใช่” เขากล่าว ราวกับเธอดึงขึนมาสูพ


่ นผิ
ื ว อะไรสักอย่าง
ทีแน่ ๆ ว่าทําร้ายเขาขณะมันพรวดพ้นขึนมา หยุดนะ! หยุด! เขาอยากร้องไห้ เพราะเขายังไม่
แก่ ชีวิตของเขายังไม่สน..
ิ 3 
 
 
อย่างทีได้กล่าวไปข้างต้นว่ากระแสสํานึกนันคือการจําลองความคิดทีไม่หยุดนิง การจะเขียนแบบกระแสสํานึก
ให้ได้สมจริงทีสุดคือการปล่อยให้จิตวิงเต้นไปทังอย่างนัน นักเขียนมีหน้าทีเพียงเฝาสังเกตการณ์และจดบันทึกการ
ทํางานของ ‘จิต’ ให้ตรงตามสภาพมากทีสุด โดยไม่ไปเปลียนแปลง ยุง่ เกียว ปรับให้ดีขนหรื ึ อแย่ลงแต่ประการใด 
 
ในวงการวรรณกรรมของไทยก็มน ี ก
ั เขียนหลายท่านเลือกทีจะใช้กลวิธก ี ระแสสํานึกในการนําเสนองาน ดังเช่น
คุณวินทร์ เลียววารินทร์ จากเรือง กระถางชะเนียงริมหน้าต่าง, คุณนิเวศน์ กันไทยราษฎร์ จากเรือง บนรถประจํา
ทาง และคุณเดือนวาด พิมวนา จากเรือง ในกําแพง เปนต้น  
 
การเขียนเชิงกระแสสํานึกเปนกลวิธท ี ทํ
ี าให้เราได้เรียนรูต้ ัวละครจากมุมมอง ความคิด ความรูส ้ ก
ึ ภายใน
นอกเหนือจากสิงทีเลือกแสดงออกไปภายนอก บางครังผูอ ้ ่านอาจพบเสียวหนึงของตัวเองในตัวละครสักคนที
อ่านเจอผ่านหน้ากระดาษ ความคิดช่างเข้ากันอย่างน่าประหลาด มีการเห็นด้วยกับตัวเอก เห็นอกเห็นใจ 
สะเทือนใจไปพร้อมกับความรูส ้ ก
ึ ทีถูกถ่ายทอดออกมาอย่างเถรตรง งานเขียนกระแสสํานึกจึงเปนวรรณกรรม
อีกประเภทหนึงทีน่าอ่าน น่าติดตามเปนอย่างยิง 
 
 
 
รายการอ้างอิง 
 
ภาณุ ตรัยเวช. (27 สิงหาคม 2555). คุณนายดัลโลเวย์. สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.  
เข้าถึงได้จาก : http://www.happyreading.in.th/article/detail.php?id=1546 
สืบค้นเมือ 28 พฤศจิกายน 2562 
 
มาโนช ดินลานสกูล. (18 มีนาคม 2545). กลวิธก ี ารเล่าเรืองแบบกระแสสํานึกในเรืองสันเข้ารอบสุดท้าย 
รางวัลซีไรต์ พ.ศ. 2524-2542. คลังปญญามหาวิทยนาลัยทักษิณ. เข้าถึงได้จาก :  
http://kb.tsu.ac.th/jspui/bitstream/123456789/3351/1/Manoch%2000071287.pdf  
สืบค้นเมือ 28 พฤศจิกายน 2562 
 
Bookgarden. (10 มกราคม 2562). คุณนายดัลโลเวย์ นวนิยายทีท้าทายผูอ ้ ่านอย่างลาเหลือ. บล็อกกาซีน.  
เข้าถึงได้จาก : https://blogazine.pub/blogs/bookgarden/post/2860  
สืบค้นเมือ 28 พฤศจิกายน 2562 
 
Karen Tyrrell. (4 กรกฏาคม 2562). Stream of Consciousness Writing​. Karen Tyrrell.  
เข้าถึงได้จาก : http://www.karentyrrell.com/stream-of-consciousness/ 
สืบค้นเมือ 28 พฤศจิกายน 2562 

3
​(2010, January 19). คุณนายดัลโลเวย์ นวนิยายทีท้าทายผูอ
้ ่านอย่างลาเหลือ | ประชาไท .... Retrieved November 
28, 2019, from ​https://blogazine.pub/blogs/bookgarden/post/2860 

Das könnte Ihnen auch gefallen