Sie sind auf Seite 1von 22

1

Original Article
Qualification of Pooled Leukocyte Poor Platelet Concentrates in Platelet Additive Solution
processed in Blood Bank of Army Institute of Pathology, Phramongkutklao Medical Center
Chanakarn Vipusmith1, Dollapak Apipongrat1, Panuwat Midoeng2, Preamrudee Chaisuwirat2
1
Division of hematology, Department of Medicine, Phramongkutklao Hospital
2
Blood Bank of Army Institute of Pathology, Phramongkutklao Medical Center
____________________________________________________________________________________________________________________

Abstract:
Background: Platelet Additive Solution (PAS) is the synthetic medium for improving platelet quality.
Objective: To verify efficacy among PAS-C and PAS-E in pooled Leukocyte Poor Platelet Concentrates (LPPC)
Methods: Cross-sectional descriptive study. Qualified 90-bag pooled LPPCs were included in this study and
ramdomized into 1:1:1 by the storage media which processed throughout the 7-day testing period of
volume, platelet count, residual leucocyte count, anti-A and anti-B titer, swirling analysis, pH and platelet
aggregation test. Results: Platelet count and swirling significantly declined at day 5 and day 7 in plasma
medium. Mean platelet count declining in PAS-E was the lowest, 92.91 x103/uL, at day 7. The median of
anti-A and anti-B titer were lower in PAS 1:64 compared with plasma 1:512, which PAS-E shown more benefit
than PAS-C (p<0.001). Mean residual WBC were 0.05 ±0.03, 0.01 ± 0.01, 0.02 ± 0.02 (x109/bag), which
significantly shown the advantage of PAS-E among others (p<0.001). Moreover, PAS-E was more favorable
pH stability than PAS-C (p=0.002). Platelet aggragation test was very low percentage of function at day 2
and significantly declined among the groups in ADP and epinephrine agonists. On the other hands, the
collagen agonist shown normal percentage at day 2 and non-significantly declined at day 5 (p=0.113) and
day 7 (p=0.087), requiring further study. Conclusion: The advantage of PAS over plasma is lower anti-A and
anti-B titer together with swirling declining rate. PAS-E shown superiority in lower residual WBC and platelet
declining rate together with pH stability in 7 day of storage. However, the platelet aggregation test is still
unclear. Therefore, PAS-E can be used in pooled LPPC which is better quality and lower platelet transfusion
reaction.
Keyword: pooled leukocyte poor platelet concentrates, platelet additive solution, platelet aggregation test
2

นิพนธ์ต้นฉบับ
ผลของน้ำยา Platelet Additive Solution ต่อคุณภาพของเกล็ดเลือด Pooled Leukocyte Poor Platelet
Concentrates ที่เตรียมโดยกองธนาคารเลือด สถาบันพยาธิวิทยา ศูนย์อำนวยการแพทย์พระมงกุฎเกล้า
ชนกานต์ วิภูสมิทธ์1 ดลภาค อภิพงศ์รัตน์1 ภานุวัฒน์ มิเดิง2 เปรมฤดี ชัยสุวิรัตน์2
1
กองอายุรกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า 2กองธนาคารเลือด สถาบันพยาธิวิทยา ศูนย์อำนวยการแพทย์พระมงกุฎเกล้า
___________________________________________________________________________________________

บทคัดย่อ
ความเป็นมา PAS เป็น electrolyte solution ใช้สำหรับเก็บเกล็ดเลือดแทนพลาสมา สามารถประยุกต์สัดส่วนของเกลื อแร่
ต่างๆ ให้คงคุณภาพของเกล็ดเลือดเทียบเท่าสภาวะเกล็ดเลือดภายในร่างกาย ลดการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากโปรตี นใน
พลาสมา วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลของน้ำยา PAS-C และ PAS-E ต่อคุณภาพ pooled LPPC วัสดุและวิธีการ เตรียม
pooled LPPC หมู่โลหิตโอ จำนวน 90 ถุง โดยวิธี buffy-coat method สุ่มอัตรา 1:1:1 นำไปตรวจคุณภาพในวันที่ 2, 5
และ 7 ของการเตรียมดังนี้ ปริมาตรถุงเลือด จำนวนเกล็ดเลือด จำนวนเม็ดโลหิตขาวคงค้าง ความแรงของ anti-A และ anti-B ค่า
ความมีชีวิตอยู่ ความเป็นกรดด่าง และค่าการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด ผลการศึกษา ค่าความมีชีวิตอยู่ของเกล็ดเลือดในพลาสมา
มีการลดลงที่ชัดเจนตกไป 4+ ร้อยละ 83.3 และ 3+ ร้อยละ 16.7 ในวันที่ 7 ในขณะที่ PAS-E และ PAS-C ยังคงค่าความมี
ชีวิต 5+ อยู่ร้อยละ 60 และ 66.7 ตามลำดับ มัธยฐานค่าความแรงของ anti-A และ anti-B เท่ากันในพลาสมาที่ 1:512 ใน
น้ำยา PAS ทั้งสองชนิดต่ำกว่าโดยไม่แตกต่างกันที่ 1:64 แต่เมื่อเทียบกันระหว่างกลุ่มแล้ว PAS-E ประสิทธิภาพดีกว่า PAS-C
(p<0.001) จำนวนเม็ดโลหิตขาวคงค้างใน PAS-E ต่ำที่สุด 0.01 ± 0.01 x109/ถุง (p<0.001) แนวโน้มจำนวนเกล็ดเลือดลดลงใน
PAS-E น้อยที่สุด เฉลี่ย 92.91 x103/uL (p<0.001) ในวันที่ 7 และสามารถคงค่าความเป็นกรดด่างได้ดีที่สุดตลอด 7 วันเทียบกับ
PAS-C (p=0.002) ค่าการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดลดลงเมื่อผ่านระยะเวลาการเก็บไป 7 วันของกลุ่มพลาสมา PAS-E และ
PAS-C ในสารกระตุ้นการทำงานของเกล็ดเลือดชนิด ADP (day 5 p<0.001, day 7 p<0.001) และ epinephrine (day 5
p=0.006, day 7 p=0.001) แต่ไม่มีความแตกต่างของน้ำยา 3 ชนิดด้วยสารกระตุ้นชนิด collagen (day 5 p=0.113, day 7
p=0.087) สรุป น้ำยา PAS มีประสิทธิภาพในการคงค่าความมีชีวิตอยู่ของเกล็ดเลือดได้นานที่ 7 วัน และมีจำนวนเม็ดโลหิตขาว
คงค้ าง รวมถึ งค่ าความแรงของ anti-A และ anti-B ที ่ ต ่ ำกว่ าพลาสมาอย่ างมี นั ย สำคั ญ ทางสถิ ต ิ อั นเป็ นประโยชน์ ต่ อ
ประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการนำไปให้ผู้ป่วย โดย PAS-E คงค่าความเป็นกระด่างได้ดีกว่า PAS-C จากการศึกษา
PAS-E จึงเป็นน้ำยาที่เหมาะสมต่อการพัฒนาคุณภาพมาใช้เก็บรักษาเกล็ดเลือดอย่างเป็นมาตรฐานการผลิตของกองธนาคารเลือด
ต่อไป
คําสําคัญ: pooled leukocyte poor platelet concentrates, platelet additive solution, platelet aggragation test
3

บทนำ

ปั จจุ บ ั นความต้ องการในการใช้ เ กล็ ด เลื อดมี ป ริ มาณเพิ ่ มขึ ้ นอย่ างต่ อเนื ่ อง โดยเฉพาะ pooled Leukocyte Poor
Platelet Concentrates (LPPC) เนื่องจากมีการปนเปื้อนของเม็ดเลือดขาวน้อย มีจำนวนเกล็ดเลือดสูงและสะดวกในการให้
ผู้ป่วยเทียบเท่ า single adult therapeutic dose ที่ได้จากผู้บริ จาค 4 ราย การจัดเก็บเกล็ดเลื อดให้ไ ม่ เสื ่ อมสภาพนอก
ร่างกายควรเก็บไว้ในพลาสมา (autologous plasma) ที่อุณหภูมิ 22-24 องศาเซลเซียส ผู้ป่วยอาจเกิดภาวะไม่พึงประสงค์
จากโปรตีนในพลาสมาได้ ดังนั้นเวชศาสตร์ธนาคารเลือดจึงพัฒนาใช้ Platelet Additive Solution (PAS) ทดแทนพลาสมา
ในสัดส่วน PAS:พลาสมา ตามมาตรฐาน 65:35 เพื่อคงสภาพของเกล็ดเลือดให้มีคุณภาพใกล้เคียงกับขณะอยู่ภายในร่างกาย
เมื่อนำไปให้ผู้ป่วยเกล็ดเลือดยังคงสภาพทั้งกายภาพและสรีระเดิมไว้ให้มากที่สุด และลดการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จาก
โปรตีนในพลาสมา เช่น allergic reactions, febrile nonhemolytic transfusion reactions (FNHTR), ABO isoagglutinin-
mediated hemolysis และ antibody-mediated transfusion-related acute lung injury (TRALI) อีกทั้งยังสามารถนำ
พลาสมาไปเตรียมเป็นผลิตภัณฑ์จากส่วนประกอบพลาสมาอื่นๆ ได้1,2 น้ำยา PAS ในท้องตลาดมีอยู่หลายชนิด แตกต่ างกั นไป
ตามส่วนประกอบของเกลือแร่ที่คิดค้นมาเพื่อหวังลดการกระตุ้นการทำงานของเกล็ดเลือดตามหลักการเผาผลาญพลัง งาน
ภายในเซลล์ที่ทำให้เกิด platelet storage lesion และชะลอการเสื่อมสภาพของเกล็ดเลือดก่อนนำไปให้ผู้ป่วย ทำให้เกล็ด
เลือดได้ทำหน้าที่สร้างลิ่มเลือดเพื่อใช้ในการห้ามเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
PAS ที่นิยมใช้ในกระเทศไทยมี 2 ชนิดหลัก คือ PAS-C และ PAS-E โดยมีความแตกต่างกั นที่ การเติ ม magnesium และ
potassium ลงไปใน PAS-C กลายมาเป็ น PAS-E จากการศึ กษาของ H. Gulliksson และคณะ ได้ นำ PAS-III (PAS-C) มาเติ ม
magnesium และ potassium เข้าไปเรียกว่า PAS-IIIM (PAS-E) นำมาเทียบประสิทธิภาพกับพลาสมา ให้ผลว่าการเก็บเกล็ดเลื อด
ใน PAS-IIIM มีกระบวนการ glycolysis ลดลง คงสภาพ pH และ hypotonic shock response ได้ดีขึ้นเทียบกั บ PAS-III โดย
magnesium และ citrate เพิ่ม potassium ion efflux ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ไปลด ADP-induced binding of fibrinogen และการ
จับตัวกันของเกล็ดเลือด3 ในขณะที่ de Wildt-Eggen และคณะ พบว่าการเติม magnesium และ potassium ลดการกระตุ้นการ
ทำงานของเกล็ดเลือดได้และคงสภาพ pH ระหว่างการเก็บรักษาถึง 7 วัน แต่ยังไม่สามารถอธิบายกลไกอย่างละเอียดได้4
กองธนาคารเลือด เริ่มเตรียม pooled LPPC เมื่อ มีนาคม พ.ศ. 2547 เนื่องจากผู้ป่วยมีความต้องการใช้เกล็ดเลื อดเพิ่มขึ้น
แต่ผู้บริจาคมีไม่มาก การเตรียม pooled LPPC จากผู้บริจาคเพียง 4 รายเทียบเท่ากับ single adult therapeutic dose ทำให้
สามารถบรรเทาปัญหาการขาดแคลนเกล็ดเลือดได้ในระดับหนึ่ง การเตรียมส่วนประกอบของเลือดมีการพัฒนาอย่ า งต่ อเนื่ อง
เมื่อ กันยายน พ.ศ. 2562 กองธนาคารเลือดได้เตรียมเกล็ดเลือดจากผู้บริจาครายเดียว (single donor platelet) ด้วย PAS-E
ได้คุณภาพดีตามมาตรฐานศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย แต่มีค่าใช้จ่ายสูง เนื่องจาก PAS มีหลากหลายชนิด ถู ก
ประยุกต์สัดส่วนของเกลือแร่ต่างๆ ให้คงคุณภาพของเกล็ดเลือดที่มีจุดเด่นแตกต่างกัน ดังนั้นเพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายพร้ อมกับ
คงคุณภาพของเกล็ดเลือดที่เตรียมโดยกองธนาคารเลือดอย่างเหมาะสม คณะผู้วิจัยจึงมีความสนใจศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยต่างๆ ที่
มีผลต่อคุณภาพเกล็ดเลือดโดยเฉพาะอย่างยิ่งวิธีการเตรียมและวิธีการเก็บรักษาเกล็ดเลือดใน storage medium ที่แตกต่างกัน 3
ชนิด คือ พลาสมา PAS-C และ PAS-E เพื่อวิเคราะห์ผลการควบคุมคุณภาพของเกล็ดเลื อดชนิด pooled LPPC ที่ผลิตขึ้น
ระหว่าง มกราคม ถึง มีนาคม พ.ศ. 2563 มาใช้เป็นแนวทางในการเลือกน้ำยาในการเก็บรักษาเกล็ดเลือดและพัฒ นาคุ ณภาพ
การผลิตต่อไป
วัตถุประสงค์

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเปรียบเทียบผลของ PAS-C และ PAS-E ต่อคุณภาพเกล็ดเลือด pooled LPPC ที่ผลิต


โดยกองธนาคารเลือด สถาบันพยาธิวิทยา ศูนย์อำนวยการแพทย์พระมงกุฎเกล้ า และวัตถุประสงค์รองเพื่อ ศึกษาผลของ
magnesium , potassium และ disodium hydrogen phosphate ต่อคุณภาพของเกล็ดเลือดชนิด pooled LPPC
4

วรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

การเก็บรักษาเกล็ดเลือด (storage condition)12


เนื่องจากเทคโนโลยีสมัยใหม่พัฒนาให้เกล็ดเลือดมีอายุการใช้งาน (shelf life) เพิ่มขึ้นจากอดีต 3 วัน เป็น 5 วันและ 7
วันตามลำดับ จนในปี ค.ศ.1986 องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกาได้ประกาศให้อายุการใช้งานลดลงเหลือเพียง 5 วัน
เนื่องจากอุบัติการการติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือด (bacterial sepsis) ที่เพิ่มขึ้นสัมพันธ์กับการเก็บที่นานในอุณหภูมิ
22±2 องศาเซลเซียส13 จึงริเริ่มตรวจการปนเปื้อนของแบคทีเรียตั้งแต่ ปี ค.ศ.2004 เป็นต้นมา อีกทั้งเป็นจุดเริ่มต้นพัฒนา
pathogen reduction technology เพื่อยืดอายุการใช้งานของเกล็ดเลือดอย่างมีประสิทธิภาพ
การเก็บรักษาเกล็ดเลือดไว้ที่อุณหภูมิห้องมีการใช้พลังงานของเกล็ดเลือดที่ช้ากว่าการเก็บรักษาที่อุณหภูมิกายกว่าร้ อยละ
15
60 จึงเป็นเหตุผลว่าหลังถ่ายเลือดจากถุงให้ผู้ป่วยเกล็ดเลือดจะเสื่อมสภาพไปใน 3 วัน การเก็บรักษาเกล็ดเลือดจึ งมุ่ง ลดการ
เสื่อมสภาพของเกล็ดเลือดโดยยับยั้งการกระตุ้นการทำงานของเกล็ดเลือด (platelet activation) และการเผาผลาญพลั งงาน
ของเกล็ดเลือด (metabolic exhaustion) ที่อาจเพิ่มอายุการใช้งานของเกล็ดเลือดได้ยาวนานขึ้น โดยปัจจัยที่สำคัญคือ (1)
อุ ณหภู มิ (2) แหล่ ง พลั ง งาน (metabolic fuel availability) และ (3) ปริ มาตรการหายใจ (respiratory capacity) จาก
ส่วนประกอบในเกล็ดเลือด การแลกเปลี่ยนออกซิเจนผ่านถุงบรรจุ และการเขย่า (agitation)
หากเกล็ดเลือดสัมผัสความเย็นที่ต่ำกว่า 30 องศาเซลเซียส เยื่อหุ้มเซลล์จะเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ (hypothermic
membrane) ไปจับกับไขมันที่ล่องลอยอยู่ในน้ำเลือด (phosphoinositide-rich lipid) ส่งผลให้แคลเซียมในเซลล์เพิ่มขึ้น และ
เกล็ดเลือดผิดรูปไป อันเป็นปัจจัยต้นกระตุ้นการทำงานของเกล็ดเลือด (activation priming) สร้างกลุ่มไกลโคโปรตีน (GP-
Ibα/IX/V) จับกับ von Willebrand factor (vWF) เร่งการแตกสลาย (apoptosis) ของเกล็ดเลื อดในที่ สุด อย่างไรก็ต าม
lectin-binding domains ของ hepatic macrophage αMβ2 และ hepatocyte asialoglycoprotein receptors ในตั บ
สามารถตรวจจับความผิดปกติที่มากเกินของ GP-Ibα นี้ได้และเร่งทำลายเกล็ดเลือดอย่างรวดเร็ว14-19

Figure 1 Platelet metabolism; Pi inorganic phosphate, ADP/ATP adenosine di/triphosphate, GDP/GTP guanosine
di/triphosphate, FADH/FADH2 reduced flavin adenine dinucleotide, NAD/NADH reduced nicotinamide adenine dinucleotide

การคงสภาพเกล็ดเลือดขณะเก็บรักษาจำเป็นต้องมีการเผาผลาญเพื่อให้ไ ด้พลังงาน (adenosine triphosphate ATP)


ตามหลั กการ energy currency เพื ่ อคงสภาพความสมบู รณ์ ของเซลล์ เอาไว้ด ัง ภาพที่ 1 การศึ กษาที ่ สำคัญ ถึง glucose
consumption และ lactate production ใน PRP-PCs พบว่าเกล็ดเลือดใช้พลังงานที่ได้จากการเผาผลาญ glucose แบบ
anaerobic มากกว่ า aerobic โดย pyruvate dehydrogenase มี ห น้ าที ่ ส ร้ าง acetic acid สำหรั บ aerobic citric acid
5

cycle ทำงานน้อยลงในถุงเก็บเกล็ดเลือด การเผาผลาญ glucose 1 โมเลกุลในเกล็ดเลือดจึงได้ 2 ATP ในขณะที่กรดแลคติ ก


ถูกซึมซับหลักโดย bicarbonate ในพลาสมา ทำให้เกิด CO2 ที่ระเหยแพร่ผ่านถุงบรรจุเ กล็ดเลือดออกไปได้ การสูญเสี ย
bicarbonate ไปเรื่อยๆ นั้นทำให้ค่าความเป็นกรดสูงขึ้น การเผาผลาญแบบ aerobic ผ่าน citric acid cycle และ oxidative
phosphorylation มีประสิทธิภาพและได้พลังงานมากกว่าถึง 13 ATP ต่อ acetic acid 1 โมเลกุล หากเปรียบเทียบ platelet
oxygen consumption ที่ได้ 6 ATP ต่อออกซิเจน 1 โมเลกุล และ lactate production ที่ได้ 1 ATP ต่อ lactate 1 โมเลกุล
แสดงให้เห็นว่าโดยประมาณร้อยละ 85 ของพลังงานที่เกล็ดเลือดใช้คงสภาพนั้นมาจากการเผาผลาญแบบ aerobic ขณะที่
เขย่า20 Pasteur effect อธิบายไว้ว่าในภาวะออกซิเจนต่ำ กระบวนการ glycolysis จะเพิ่ม 6-7 เท่า21 ทำให้เกิด lactic acid
เป็ นจำนวนมาก ภาวะความเป็ น กรดแย่ ล ง ขณะขนส่ ง ที ่ มี การเขย่ า หยุ ด ชะงั ก จะทำให้ เ กิ ด mitochondrial oxygen
starvation ส่งผลให้สร้าง lactate มากขึ้นและ pH ลดลงตามมา22 โดยที่อุณหภูมิห้อง 22 องศาเซลเซียส เกล็ดเลือดจะ
เปลี่ยนเป็นรูปทรงกลม (spherical shape) ซึ่งด้อยประสิทธิภาพเมื่อ pH ลดลง 6.5-6.8 และจะเกิดความเสียหายอย่ างถาวร
เมื่อ pH น้อยกว่า 6.223,24 หาก pH น้อยกว่า 6.0 การเผาผลาญในเกล็ดเลือดจะหยุดชะงักและตายไปในที่สุด52 ความพยายาม
ศึกษาเพิ่มอายุการใช้งานของเกล็ดเลือดนั้นถูกจำกัดโดยการเกิด lactate จากกระบวนการ glucolysis อยู่ตลอด โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งขณะปั่นแยกเกล็ดเลือดก็มีการเพิ่มการเกิด glycolysis25 ความพยายามพัฒนา glucose-free additive solution
เพื่อลดการเกิด lactate ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะแม้ว่าการมีพลังงานทางเลือ กที่เพียงพอ เช่น acetate เมื่อเกล็ดเลือด
ขาด glucose ก็จะใช้ adenine nucleotide ในเซลล์และสารประกอบอื่นๆที่นำไปสู้การตายของเซลล์ 26,27 อาจเกิดจากการ
ขาดสารตั้งต้นของ anti-oxidant pentose phosphate shunt โดยยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด และยังไม่มีคำอธิบ ายระหว่ าง
glucose metabolism กับ mitochondrial function หลังจากเก็บเกล็ดเลือดไว้ 7 วัน ระดับ adenine nucleotide ลดลง
เหลือร้อยละ 70 จากตั้งต้น28
Platelet storage lesion12
คือกระบวนการที่เกล็ดเลือดถูกทำลายไปจากการเก็บรักษา ทำให้มีประสิทธิภาพที่ต่ำลงร่วมกับการเปลี่ย นลั กษณะทาง
กายภาพ จากการศึกษาพบว่ามีเกล็ดเลือดที่เก็บรักษา 5 วัน ไม่ได้ผลเพิ่มจำนวนเกล็ดเลือดหลังการให้กับผู้ป่วยถึงร้อยละ 2029-
31 การเปลี่ยนรูปร่างจาก normal discoid morphology โดย Kunicki ได้นิยามคะแนน 4 คือ discs, 2 คือ spheres, 1 คือ

dendritic forms และ none คือ ballooned platelet32 นำคะแนนมาคูณกับร้อยละของเซลล์ลักษณะดังกล่าว คะแนนเต็ม


400 การลดลงของคะแนนแสดงให้เห็นถึง storage lesion ที่เพิ่มขึ้น นอกจากนั้นมีการศึกษารูปร่างเกล็ดเลือดที่เปลี่ยนไปด้วย
aggregometry เพื ่ อ วั ด การลดลงของแสงส่ อ งผ่ า น stirred PRP ที ่ ป ้ อ งกั น การจั บ ตั ว โดย EDTA หลั ง ถู ก กระตุ ้ นด้ วย
adenosine diphosphate (ADP)33 เพราะเกล็ดเลือดรูป discoid เท่านั้นที่สามารถเปลี่ยนรูปและขวางแสง mean platelet
volume (MPV) ลดลงขณะทำการเก็ บ รั กษาเกล็ ดเลือดเนื ่ องจากมีการสูญ เสีย เยื่ อหุ ้ มเซลล์บ างส่วนไปจากการการเกิด
dendritic forms หรือการกระตุ้นการทำงานของเกล็ดเลือด (activation) หรือการตายของเซลล์ (apoptosis) ที่ทำให้เกิด
microvesiculation ตามมา34 การกระตุ้นการทำงานของเกล็ดเลือดระหว่างขั้นตอนการผลิตจนเก็บรักษาเกิดไปพร้อมกับ การ
แสดงออกของโปรตีนบนผิวเซลล์ (P-selectin, CD63) การเปลี่ยนรูปร่างของ fibrinogen receptor (GP-IIb/IIIa) และการ
ปล่อยสารจำเพาะ (β-thromboglobulin platelet factor 4 และอื่นๆ) และส่งผลไปถึงการแตกสลายของเซลล์ (apoptosis)
ความสามารถในการคงสภาพการเก็บรักษาเกล็ดเลือดให้ทำงานได้อย่างปกติถูกศึกษาหลากหลายวิธี hypotonic shock
response หรือ osmotic reversal reaction ผ่านเครื่อง spectrophotometry ที่ 610 nm เป็นการศึกษาที่เป็นที่ยอมรับ
ในการประเมินการคงสภาพของเกล็ดเลือด28 โดยวิธีการใส่สาร hypotonic solution ในเกล็ดเลือดแล้วสังเกตการบวมขึ้นของ
เกล็ดเลือด การเปลี่ยนแปลงในเกล็ดเลือกคือมีการเพิ่มขึ้นของ cytosolic calcium และปล่อย ATP ออกมา ส่งผลให้มีการขับ
น้ำร่วมกับ potassium ion และ chloride ion ออกจากเซลล์ จากนั้นสังเกตปรับตั วกลับเข้าสู่ข นาดปกติ Kim และคณะ
พบว่าการตอบสนองเช่นนี้สัมพันธ์กับตัวชี้วัดประสิทธิภาพของเกล็ดเลือด ทั้งในด้านการเพิ่มจำนวนและอายุไขเกล็ดเลือดหลัง
6

ให้การรักษาในผู้ป่ วย35 การเกิด cellular apoptosis ที่สะสมขณะเก็บรักษาเกล็ดเลื อดสั มพั นธ์ กับ caspase activation,
structural protein degradation และการเปลี่ยนแปลงประจุไฟฟ้าของ mitochondrial membrane36,37
กล่าวโดยสรุป การเกิด platelet storage lesion ดังกล่าว เกิดจากการที่ glucose consumption rate ของ platelet
เพิ่มขึ้น ผลที่ตามมาคือมีปริมาณ lactic acid เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ซึ่งในร่างกาย lactic acid จะถูก neutralized ที่ตับ แต่
เมื่อออกนอกร่างกายแล้ว lactic acid จะทำให้ storage plasma medium มีความเป็นกรดได้อย่ างรวดเร็ว เมื่อ pH ต่ำลง
ส่ ง ผลให้ มี platelet activation เกิ ด ขึ ้ น ไปเพิ ่ ม อั ตราการใช้ glucose เกิ ด เป็ นวงจรให้ เ กล็ด เลื อดเสื ่ อมคุ ณภาพลง จึ ง มี
การศึกษาและพัฒนาส่วนประกอบชนิดต่างๆของ platelet storage medium ให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น
Platelet Additive Solution (PAS)
PAS เป็น electrolyte solution ใช้สำหรับเก็บ เกล็ดเลื อดแทนพลาสมา เนื่องจากการเก็บเกล็ดเลื อดในพลาสมามี
เอนไซม์หลายชนิด เช่น lactase, sucrase และ protease ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงทางเคมีที่มีผลเสียต่อคุณภาพของเกล็ด
เลือด38 ในยุโรป PAS ใช้เป็นพื้นฐานนานกว่า 20 ปี39 ในอเมริกา PAS ผ่านการอนุมัติใช้ในปี ค.ศ. 2010 ด้วยเหตุผล 5 อย่าง
คือ (1) เนื่องจากปริมาณพลาสมาลดลงทำให้ลดการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากโปรตีนในพลาสมา เช่น allergic reactions,
febrile nonhemolytic transfusion reactions (FNHTR) ทำให้ ค วามแรงของ anti-A และ anti-B ลดลง จึ ง เป็ นการลด
ป ั ญ ห าจาก ABO isoagglutinin-mediated hemolysis แ ล ะ antibody-mediated transfusion-related acute lung
injury (TRALI) (2) สามารถนำพลาสมาไปผลิตผลิตภัณฑ์จากส่วนประกอบพลาสมาอื่นๆ (fractionation) ได้ปริมาตรมากขึ้น
(3) เอื ้ อการประยุ กต์ ใ ช้ ใ น pathogen-reduction technology ส่ ง ผลให้ เ กิ ด ประโยชน์ ด ้ านการลด TA-GVHD จากการ
ปนเปื้อนของเม็ดเลือดขาวได้อย่างมีประสิทธิภาพ (4) รองรับเรื่อง apheresis ในการเติม PAS ทดแทนพลาสมาทันทีโดย
เครื่องอัตโนมัติ (5) สามารถประยุกต์สัดส่วนของเกลือแร่ต่างๆ ให้คงระดับ pH สูงกว่า 6.0 เพื่อผลการคงสภาพของเกล็ดเลือด
ที่ดีทีสุด 1,2 ชื่อเรียก PAS ชนิดต่างๆ โดยใช้ตัวอักษรแทน เช่น PAS-A, PAS-B, PAS-C ถึง PAS-G ขึ้นกับความแตกต่างของ
ส่วนประกอบใน PAS แต่ละชนิด รายละเอียดดังแสดงในตารางที่ 139,40-42

Table 1 Platelet additive solutions40,41


ISBT128 Sodium Sodium Sodium Magnesium Potassium Sodium Alternate
Gluconate Glucose
name Citrate Phosphate Acetate Chloride Chloride Bicarbonate names
PAS-A ✓ ✓ ✓ PAS-I
PAS-II, Pas-2,
PAS-B ✓ ✓ SPP, T-Sol
PAS-III, PAS-3,
PAS-C ✓ ✓ ✓ InterSol®*
PAS-D ✓ ✓ ✓ ✓ ✓ Composol PS
PAS IIIM, SSP+,
PAS-E ✓ ✓ ✓ ✓ ✓ T-PAS+*
PlasmaLyte A,
PAS-F ✓ ✓ ✓ ✓ ✓ Isoplate
M-Sol, Seto-
PAS-G** ✓ ✓ ✓ ✓ ✓ ✓ ✓ Sol, PAS-5,
SAS, InterSol-G
* T-PAS+ และ InterSol® เป็น PAS ที่มีใช้ในกองธนาคารเลือด สถาบันพยาธิวิทยา โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
** ใน PAS-G (with glucose) จะมี residual plasma ร้อยละ 25 ในขณะที่ PAS without glucose จะมี residual plasma ร้อยละ 35

วัตถุประสงค์ของส่วนประกอบต่างใน PAS เป็นดังตารางที่ 2 การเติม Potassium และ magnesium ใน PAS เพื่อลด


การเกิด spontaneous activation ของ platelet ที่เกิดขึ้นในระหว่างการเก็บ ป้องกันการลดลงของ pH สำหรับการให้
7

platelet in PAS แก่ผู้ป่วย ทำให้มีประโยชน์หลายประการ ได้แก่ การเกิด allergic reaction ต่อ plasma protein ลงลงเมื่อ
เปรียบเทียบกับการใช้ platelet in plasma การลดลงของจำนวน anti-A และ anti-B ทำให้สามารถให้ platelet หมู่เลือด
ABO ไม่ตรงหมู่แก่ผู้ป่วยได้โดยเฉพาะกรณีที่มีการขาดแคลนและผู้ป่วยมีความจำเป็นเร่งด่วนต้องได้รับ platelet นอกจากนี้
platelet in PAS ยังมีคุณภาพดีไม่แตกต่างจาก platelet in plasma และเมื่อศึกษาถึง recovery และ survival เมื่อให้เข้า
ร่างกายรวมทั้งค่า platelet corrected count increment พบว่าไม่แตกต่างด้วยเช่นกันหรืออาจดีกว่า42 สำหรับด้านคุณภาพ
ของ platelet ที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงในระหว่างการขนส่ง ที่ไม่สามารถเขย่าได้ตลอดเวลา การศึกษาถึงคุณสมบัติต่างๆ ของ
apheresis platelet in PAS-F โดยให้หยุดการเขย่า 24 ชั่วโมง พบว่ายังรักษาคุณภาพของ apheresis platelet ได้49

Table 2 Purpose of PAS Components4,43-47


Component Purpose
Sodium Chloride Osmolarity (isotonic saline-based medium)
Sodium Citrate Anticoagulant
Sodium Acetate Energy source of aerobic platelet metabolism
Sodium Dihydrogen Phosphate (NaH2PO4) pH buffer and stimulation of glycolysis
Disodium Hydrogen Phosphate (Na2HPO4) pH buffer and stimulation of glycolysis
Magnesium Chloride (MgCl2) Reduction of platelet activation
Potassium Chloride (KCl) Reduction of platelet activation
Gluconate pH buffer
Glucose ATP maintenance
Sodium Bicarbonate (NaHCO3) pH buffer

การใช้ platelet ใน PAS มีคุณภาพดีเช่นเดียวกับ platelet ในพลาสมา และยังให้ประโยชน์หลายประการ กองธนาคาร


เลือด สถาบันพยาธิวิทยา ศูนย์อำนวยการแพทย์พระมงกุฎเกล้า จึงเห็นถึงประโยชน์การนำ PAS มาใช้เก็บรักษาเกล็ดเลือด
อย่างเป็นมาตรฐาน คณะผู้วิจัยจึงมีความสนใจศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อคุณภาพเกล็ดเลือดโดยเฉพาะอย่ างยิ่ งวิ ธีการ
เตรียมและวิธีการเก็บรักษาเกล็ดเลือดในพลาสมา PAS-C และ PAS-E ที่มีความแตกต่างกันดังแสดงในตารางที่ 3 เพื่อประเมิน
คุณภาพและการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดชนิด LPPC ที่ผลิตขึ้นระหว่าง มกราคม พ.ศ. 2563 ถึง มีนาคม พ.ศ. 2563 มาใช้เป็น
แนวทางในการเลือกน้ำยาในการเก็บรักษาเกล็ดเลือดและพัฒนาคุณภาพการผลิตต่อไป

Table 3 Components of T-PAS+(PAS-E) and InterSol® (PAS-C)


Component T-PAS+ (%w/v)* InterSol® (%w/v)*
(manufactured by) (Terumo BCT, Inc.; Belgium) (Fresenius Kabi AG; Germany)
Sodium Citrate 0.318 0.318
Sodium Acetate 0.442 0.442
Sodium Dihydrogen Phosphate (NaH2PO4) 0.105 0.105
Disodium Hydrogen Phosphate (Na2HPO4) 0.769 0.305
Potassium Chloride (KCl) 0.037 -
Magnesium Chloride (MgCl2) 0.030 -
Sodium Chloride 0.405 0.452
* %grams per 100 mL solution; reference : Terumo BCT T-PAS+ description and Fresenius Kabi AG InterSol® description
8

วัสดุและวิธีการ

ประชากรที่ทำการศึกษา
Pooled LPPC 90 ถุง จากผู้บริจาคหมู่โลหิตโอ 360 ราย ที่ผ่านการคัดกรองตามมาตรฐานงานธนาคารเลือด ศูนย์บริการ
โลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ณ กองธนาคารเลือด สถาบันพยาธิวิทยา ศูนย์อำนวยการแพทย์พระมงกุฎเกล้า ระหว่างเดือน
มกราคม ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 โดยการคัดเลือกแบบสุ่มและต้องผ่านการยินยอมเข้าร่วมโครงการวิจัยนี้แล้วเท่านั้น
เกณฑ์การคัดเลือกเข้าสู่การวิจัย LPPC ที่ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย คือ
1. ปริมาตรระหว่าง 230-430 มิลลิลิตร และต้องผ่านเกณฑ์เป็นจำนวนร้อยละ 100 ของจำนวนถุงที่ตรวจ
2. จำนวนเกล็ดเลือดในถุงต้องมากกว่า 240×109 และต้องผ่านเกณฑ์เป็นจำนวนร้อยละ 75 ของจำนวนถุงที่ตรวจ
3. จำนวนเม็ดโลหิตขาวในถุงต้องน้อยกว่า 0.2×109 และต้องผ่านเกณฑ์เป็นจำนวนร้อยละ 90 ของจำนวนถุงที่ตรวจ
4. Swirling ต้องมีคะแนนมากกว่า 3+ และต้องผ่านเกณฑ์เป็นจำนวนร้อยละ 100 ของจำนวนถุงที่ตรวจ
5. ค่า pH ต้องมากกว่าหรือเท่ากับ 6.4 ต่อถุง และต้องผ่านเกณฑ์ร้อยละ 100 ของจำนวนถุงที่ตรวจ
เกณฑ์การคัดเลือกออกจากการวิจัย คุณภาพเบื้องต้นของเกล็ดเลือดไม่ผ่านมาตรฐานตามเกณฑ์การคัดเลือกข้างต้น

วิธีดำเนินการวิจัย
LPPC หมูโ่ อ 360 ถุงจากผู้บริจาค ถูกสุ่มออกเป็น 3 กลุ่ม ในอัตรา 1:1:1 ตาม storage media กลุ่มละ 120 ถุง ดังนี้ พลาสมา
PAS-C และ PAS-E เก็บในถุงบรรจุชนิด top to top ขนาด 450 มิลลิลิตร (Quadruple blood bag CPD/SAG-M-2 with buffy
bag, Terumo Penpol Private Ltd.) นำมาปั่นแยกส่วนประกอบโลหิตชนิดควบคุมอุณหภูมิด้วยเครื่อง Beckman coulter J6-MI
Centrifuge (Beckman coulter Inc., USA) ความเร็วรอบ 3,500 รอบต่อนาที (3,480×g) ที่อุณหภูมิ 22±2 องศาเซลเซียส นาน 7
นาที แล้วนำมาบีบแยกส่วนประกอบโลหิตกึ่งอัตโนมัติด้วยเครื่อง T-ACE II+ (Terumo automatic component extractor) จะได้
ส่วนประกอบโลหิตชนิด leukocyte poor packed red cells (LPRC), buffy coat และ fresh plasma
กลุ่มพลาสมา ในขั้นตอนบีบแยกส่วนประกอบโลหิตกึ่งอัตโนมัติด้วยเครื่ อง T-ACE II+ จะบีบส่วน buffy coat จำนวน 65
มิลลิลิตร เติมพลาสมาลงไปใน buffy coat จำนวน 60 มิลลิลิตร เก็บใน platelet incubator (Forma Scientific, USA) ที่อุณหภูมิ
22±2 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 คืน (ไม่เกิน 24 ชั่วโมง) เพื่อรอการยืนยัน negative infectious markers ก่อนนำ buffy coat
จำนวน 4 ถุง มารวมกันแล้วนำไปปั่นแยกด้วยความเร็วรอบ 2,200 รอบต่อนาที (1,377×g) ที่อุณหภูมิ 22±2 องศาเซลเซียส นาน 5
นาที จะได้ pooled LPPC เก็บรักษา pooled LPPC ไว้ในตู้เขย่าควบคุมอุณหภูมิที่ 22±2 องศาเซลเซียส ตลอด 7 วัน
กลุ่ม PAS ในขั้นตอนบีบแยกส่วนประกอบโลหิตกึ่งอัตโนมัติด้วยเครื่อง T-ACE II+ จะบีบส่วน buffy coat จำนวน 60 มิลลิลิตร
ไม่เติมพลาสมาลงไปใน buffy coat เก็บใน platelet incubator (Forma Scientific, USA) ที่อุณหภูมิ 22±2 องศาเซลเซียส เป็น
เวลา 1 คืน (ไม่เกิน 24 ชั่วโมง) เพื่อรอการยืนยัน negative infectious markers ก่อนนำ buffy coat จำนวน 4 ถุง มารวมกันพร้อม
กับเติมน้ำยา PAS ปริมาตร 250 มิลลิลิตร คิดเป็นสัดส่วน PAS:plasma ที่ 65:35 แล้วนำไปปั่นแยกด้วยความเร็วรอบ 1,800 รอบ
ต่อนาที (1,127×g) ที่อุณหภูมิ 22±2 องศาเซลเซียส นาน 5 นาที จะได้ pooled LPPC with PAS เก็บรักษา pooled LPPC with
PAS ไว้ในตู้เขย่าควบคุมอุณหภูมิที่ 22±2 องศาเซลเซียส ตลอด 7 วัน
เก็บตัวอย่างโดยรูดสายผสมให้เข้ากัน 10 ครั้ง เพื่อเป็นตัวแทนตัวอย่างในถุงสำหรับนำไปตรวจสอบคุณภาพ มีตัวชี้วัดคือ
ปริมาตรถุงเลือด จำนวนเกล็ดเลือด จำนวนเม็ดโลหิตขาวคงค้าง ความแรงของ anti-A และ anti-B ค่าความมีชีวิตอยู่ ความเป็นกรด
ด่าง และค่าการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด ในวันที่ 2, 5 และ 7 โดยวิธีการดังต่อไปนี้
1. จำนวนเกล็ดเลือด: เครื่อง Automated Hematology Analyzer Beckman coulter DxH 500 (PCL Holding Co., Ltd.)
2. จำนวนเม็ดโลหิตขาวคงค้าง: เครื่อง Automatic Blood cell counter ADAM-rWBC
3. ตรวจสอบ swirling ด้วยสายตาพร้อมทั้งให้คะแนน (5+ มากที่สุด, 3+ ปานกลาง, 0 ไม่มี swirling)
9

4. ค่า pH: เครื่อง Blood Gas Analyzer OPTI CCA-TS (OPTIMedical, Connect Diagnostics Co.,Ltd.)
5. ความแรงของ anti-A และ anti-B (ในวันที่ 2 เท่านั้น) โดยวิธีการดังนี้
5.1 เจือจางซีรัมหรือพลาสมา โดยทำ two-fold dilution ใน 0.9% sodium chloride
5.2 ทดสอบความแรงของ anti-A และ anti-B โดยเตรียม 3-5% A cells และ B cells
5.3 เตรียมหลอดทดลองขนาด 10×75 มม. จำนวนเท่ากับความแรงที่ต้องการทดสอบจำนวน 2 ชุด สำหรับ anti-A และ
anti-B ติดฉลาก Test 1:1, test 1:2, test 1:4... (จนถึงความแรงสุดท้าย)
5.4 หยด diluted serum ลงในหลอดทดลองทุกหลอดปริมาตร 100 ไมโครลิตร แล้วหยด 3-5% A cells หรือ B cells
ปริมาตร 50 ไมโครลิตร เขย่าให้เข้ากัน ตั้งไว้ที่อุณหภูมิห้องนาน 5 นาที ปั่นหลอดทดลอง อ่านและบันทึกผลปฏิกิริยา
ของ anti-A และ anti-B ที่อุณหภูมิห้อง
5.5 นำหลอดทดลองทั้งหมดเข้า incubator อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส นาน 30 นาที ปั่นหลอดทดลอง อ่านและบันทึก
ผลปฏิกิริยาของ anti-A และ anti-B ที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส
5.6 นำหลอดทดลองทั้งหมดมาปั่นล้าง 3 ครั้งด้วย 0.9% sodium chloride ซับน้ำเกลือให้แห้งแล้วหยด antihuman
globulin serum (AHG Lot No. 62022, TRC) หลอดละ 2 หยด ปั่นที่ 3,000 รอบต่อนาที นาน 15 วินาที อ่านผล
agglutination และบันทึกผลปฏิกิริยาการจับกลุ่มของเม็ดเลือดแดง
5.7 หยด Coombs’ Control Cells (CCC) ลงไป 1 หยด ในหลอดที่ให้ผลลบเมื่อเสร็จขั้นตอน indirect antiglobulin test
(IAT) ปั่นอ่านและบันทึกผล ปฏิกิริยาที่ได้ต้องเป็นบวกเท่านั้น แสดงว่าผลการทดสอบที่ได้ผลลบถูกต้อง
5.8 การแปลผลทางคลิ นิ ก ความแรงของแอนติ บอดี (titer) ให้ รายงานความแรงที ่ dilution สุ ดท้ ายที ่ ให้ ปฏิ กิริยา
agglutination 1+
6. ตรวจ platelet aggregation test ด้วยหลักการ Light transmission aggregometry (LTA) ตามมารตฐาน SSC/ISTH50,51
ทดสอบเกล็ดเลือดกับสารการตุ้นการทำงานของเกล็ดเลือด (platelet agonist) 3 ชนิด ได้แก่ collagen 2.0 μg/mL, ADP
10.0 μg/mL และ epinephrine 20.0 μg/mL โดยทำการทดสอบที่ 4 ชั่วโมง หลังการเก็บสิ่งส่งตรวจ และในระหว่างการ
เก็บรักษาเกล็ดเลือดด้วยขั้นตอนมาตรฐาน ในวันที่ 2, 5 และ 7 โดยมีวิธีการตรวจดังนี้
6.1 ทำการทดสอบในส่วนประกอบของเลือดที่ได้จากกระบวนการปั่นแยกข้างต้นแล้ว โดยพักไว้หลังปั่นครบ 15 นาที ที่
อุณหภูมิห้อง โดยตัวอย่างจะถูกเตรียมเป็น
6.1.1 platelet-rich plasma (PRP) โดยการปั่นเบา (1,200 รอบต่อนาที เป็นเวลา 10 นาที) ใช้ปริมาตร 450 μL ต่อ
หนึ่งการทดสอบ โดยเครื่องจะอ่านค่าการส่องผ่านของแสง และระบุเป็น 0% aggregation เมื่อเริ่มการทดสอบ
6.1.2 autologous platelet-poor plasma (PPP) โดนการปั ่ นหนั ก (3,000 รอบต่ อนาที เป็ นเวลา 15 นาที ) ใช้
ปริมาตร 450 μL สำหรับเป็นสารตัดแสงในการทดสอบ (blank) โดยเครื่องจะอ่านค่าการส่องผ่านของแสง และ
ระบุเป็น 100% aggregation เมื่อเริ่มการทดสอบ
6.2 ทำการทดสอบด้วยเครื่อง aggregometer (AggRAM®, Henlena laboratories, USA) โดยทำการทดสอบที่อุณหภูมิ
37 องศาเซลเซียส ซึ่งมีระบบหมุนวนเกล็ดเลือดด้วยแท่งแม่เหล็ก (magnetic stirrer) ในหลอดทดลอง ด้วยอัตราเร็ว
คงที่ 1,000 รอบต่อนาที
6.3 เมื่อเริ่มการทดสอบ ให้ทำการสังเกตุความคงที่ของกราฟ (oscillation และ stabilization ของ baseline tracing)
อย่างน้อย 1 นาที ก่อนเติม platelet agonists
6.4 เติม platelet agonists ทั้ง 3 ชนิด ประกอบด้วย collagen, ADP และ epinephrine ปริมาตร 50 μL ลงใน PRP
ของแต่ละหลอดทดลอง เครื่องจะแสดงผลในรูปของกราฟการเกาะกลุ่ มของเกล็ดตามระยะเวลาจริ ง (real time
10

aggregation) สังเกตุการเปลี่ยนของกราฟอย่างน้อย 3 นาที หากผลไม่เกิดการจับกลุ่มของเกล็ดเลือดให้สั งเกตุต่ ออีก


5-10 นาที
6.5 ผลจากกราฟแสดงผลจะถูกวัดค่าและรายงานในรูปพารามิเตอร์ต่าง ๆ ได้แก่ ร้อยละการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดสูงสุด
(% maximum aggregation) ความชัน (slope) ของการเกาะกลุ่ม รวมถึงระยะเวลาที่ตัวอย่างมีค่าการเกาะกลุ่มสูงสุด
(time to lag phase) เป็นต้น
7. ตรวจ fibrinogen level ทำการตรวจวั ดปริ มาณ fibrinogen ด้ วยหลั กการ fibrinogen Clauss Method ด้ วยเครื ่ อง
วิเคราะห์อัตโนมัติ Sysmex CS-2500 (Siemens, USA) โดย
7.1 ใช้ PPP ปริมาตร 150 ul ทำปฏิกิริยากับน้ำยา Thrombin 100 IU (Dade(R) Thrombin reagent,Siemens,USA)
7.2 เครื่องตรวจวัด clotting time โดยเทียบกับ standard curve และรายงานผล fibrinogen level ในหน่วย mg/ml
การวิเคราะห์ทางสถิติ
การวิจัยนี้ทำการสร้างฐานข้อมูลและคำนวณผลทางสถิติด้วยโปรแกรมวิเคราะห์สำเร็จรูปทางสถิติ IBM SPSS statistics
vision 23.0 โดยอธิบายลักษณะข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมตัวอย่างเพื่ออ้างอิงไปยังกลุ่มประชากร ด้วยสถิติ เชิงพรรณนา
(Descriptive) และ ในกรณีที่เป็นข้อมูลเชิงกลุ่ม ดังนี้
1. สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive) ซึ่งทำการวัดค่ามัธยฐานของความแรงของ anti-A และ anti-B และทำการวัดค่า
แนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลางแสดงเป็นค่ าเฉลี่ยและส่ วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Mean ± Standard Deviation, SD) ของ
จำนวนเกล็ดเลือด จำนวนเม็ดโลหิตขาวคงค้าง ค่าความมีชีวิตอยู่ (swirling phenomenon) ความเป็นกรดด่าง และ
ค่าการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด ในกรณีที่เป็นข้อมูลเชิงปริมาณ
2. สถิติเปรียบเทียบข้อมูลเชิงกลุ่ม ใช้สถิติ Chi-square test หรือ Fisher’s exact test เพื่อเปรียบเทียบลักษณะข้อมูล
พื้นฐาน แสดงค่าการกระจายหรือค่าความถี่ (Frequency, N) และร้อยละ (%)
3. สถิติเปรียบเทียบข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติ ANOVA test หรือ Kruskal-Wallis test
4. เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง 3 กลุ่ม
4.1 Repeated ANOVA ในการวิเคราะห์ ผลของการเก็บรักษาเกล็ดเลือดภายในแต่ละกลุ่มน้ำยา วัดผลของเกล็ด
เลือด ในวันที่ 2, 5 และ 7 ด้วย paired t-test
4.2 Repeated ANOVA ในการวิเคราะห์ ผลของการเก็บรักษาเกล็ดเลือดระหว่างกลุ่มน้ำยา วัดผลของเกล็ดเลือด
ในวันที่ 2, 5 และ 7 โดยกำหนดค่าระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value < 0.05
11

ผลการศึกษา

จากการศึกษาในกลุ่มตัวอย่าง 90 ถุงของส่วนประกอบโลหิตชนิด pooled LPPC ที่ผลิตขึ้นในช่วงเดือนมกราคม ถึงเดือน


มีนาคม พ.ศ. 2563 โดยกองธนาคารเลือด สถาบันพยาธิวิทยา ศูนย์อำนวยการแพทย์พระมงกุฎเกล้า พบว่าปริมาตรเฉลี่ยของ
pooled-LPPC ในพลาสมา PAS-E และ PAS-C เท่ า กั บ 262.2 ± 18.64, 307.63 ± 22.99 และ 318.1 ± 13.1 มล.
(p<0.001) ตามลำดั บ เม็ ด โลหิ ตขาวคงค้ างเท่ ากั บ 0.05 ± 0.03, 0.01 ± 0.01 และ 0.02 ± 0.02 (x109/ถุ ง ) (p<0.001)
ตามลำดับ ซึ่ง pooled LPPC ที่เตรียมทั้ง หมดผ่ านการทดสอบตามเกณฑ์ มาตรฐานงานธนาคารเลื อด ศูนย์บริการโลหิ ต
แห่งชาติ สภากาชาดไทย และมีมัธยฐานค่าความแรงของ anti-A และ anti-B เท่ากันในพลาสมาที่ 1:512 ใน PAS-E ที่ 1:64
และ PAS-C ที่ 1:64 ตามแสดงในตารางที่ 1 (demographic data) หลังจากนั้นนำส่วนประกอบโลหิตชนิด pooled LPPC
ไปตรวจจำนวนเกล็ดเลือด ค่าความมีชีวิตอยู่ (swirling phenomenon) ความเป็นกรดด่าง และค่าการเกาะกลุ่มของเกล็ด
เลือด ในวันที่ 2, 5 และ 7 ตามลำดับ ได้ผลดังแสดงในตารางที่ 2 (results)
Table 4 Demographic Data
Plasma (n=30) PAS-E (n=30) PAS-C (n=30) p-value
Demographic data
Mean ± SD. Mean ± SD. Mean ± SD. 3 group P vs E E vs C P vs C
Volume (ml) 262.2 ± 18.64 307.63 ± 22.99 318.1 ± 13.1 <0.001 <0.001 <0.001 <0.001
Residual WBC (x109/unit) 0.05 ± 0.03 0.01 ± 0.01 0.02 ± 0.02 <0.001 <0.001 <0.001 <0.001
Anti-A 689.07 ± 472.9 92.53 ± 106.37 105.07 ± 98.15 <0.001 <0.001 <0.001 <0.001
Median (IQR) 512 (512, 1024) 64 (32, 128) 64 (32, 128) <0.001 <0.001 <0.001 0.202
Anti-B 682.67 ± 590.25 97.73 ± 109.72 127.47 ± 130.63 <0.001 <0.001 <0.001 <0.001
Median (IQR) 512 (256, 512) 64 (32, 128) 64 (32, 128) <0.001 <0.001 <0.001 0.210

จำนวนเกล็ดเลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อผ่านระยะเวลาการเก็บไป 7 วันในทั้ง 3 กลุ่ม ในพลาสมาวันที่ 2


จำนวนเกล็ดเลือดเฉลี่ย 1046.93 ± 174.67 (x103/uL) และลดลง 114.1 x103/uL (95%CI [-139.45, -88.75], p<0.001)
คงเหลือจำนวนเกล็ดเลื อดเฉลี ่ยในวั นที่ 5 เท่ากับ 932.83 ± 152.61 (x103/uL) และลดลง 198.22 x103/uL (95%CI [-
234.96, -161.48], p<0.001) คงเหลือจำนวนเกล็ดเลือดเฉลี่ยในวันที่ 7 เท่ากับ 848.71 ± 159.11 (x103/uL) ใน PAS-E
วันที่ 2 จำนวนเกล็ดเลือดเฉลี่ย 741.32 ± 105.95 (x103/uL) และลดลง 59.0 x103/uL (95%CI [-79.08, -38.91], p<0.001)
คงเหลือจำนวนเกล็ดเลือดเฉลี่ยในวันที่ 5 เท่ากับ 682.32 ± 95.30 (x103/uL) และลดลง 92.91 x103/uL (95%CI [-121.75,
-64.07], p<0.001) คงเหลือจำนวนเกล็ด เลื อดเฉลี ่ย ในวั นที่ 7 เท่ากับ 648.41 ± 106.74 (x103/uL) ใน PAS-C วันที่ 2
จำนวนเกล็ดเลือดเฉลี่ย 821.91 ± 97.82 (x103/uL) และลดลง 57.8 x103/uL (95%CI [-67.7, -47.91], p<0.001) คงเหลือ
จำนวนเกล็ดเลือดเฉลี่ ยในวันที่ 5 เท่ากับ 764.11 ± 96.37 (x103/uL) และลดลง 136.47 x103/uL (95%CI [-157.11, -
115.83], p<0.001) คงเหลือจำนวนเกล็ดเลือดเฉลี่ยในวันที่ 7 เท่ากับ 685.44 ± 94.96 (x103/uL) และทั้งสามกลุ่มมีความ
แตกต่างกันระหว่างกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001)
ค่าความมีชีวิตอยู่ (swirling phenomenon) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อผ่านระยะเวลาการเก็บไป 7 วันในทั้ง 3
กลุ่ม ซึ่งในวันที่ 2 ทั้ง 90 ถุงมีค่าความมีชีวิตมาก คะแนน 5+ เท่ากันทั้งหมดคิดเป็นร้อยละ 100 แต่ในพลาสมามี การลดลงที่
ชัดเจนเฉลี่ย 0.63 คะแนนตั้งแต่วันที่ 5 (95%CI [-0.84, -0.43], p<0.001) pooled LPPC ที่มีค่าความมีชีวิต 5+ คงเหลือ 12
ถุงคิดเป็นร้อยละ 40 และลดลงเฉลี่ย 1.17 คะแนนในวันที่ 7 (95%CI [-1.31, -1.03], p<0.001) ค่าความมีชีวิตของ pooled
LPPC ในพลาสมาตกไป 4+ จำนวน 25 ถุงคิดเป็นร้อยละ 83.3 และ 3+ จำนวน 5 ถุงคิดเป็นร้อยละ 16.7 ซึ่งทั้งหมดไม่ต่ำกว่า
3+ ผ่านการทดสอบตามเกณฑ์มาตรฐานงานธนาคารเลือด ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ใน PAS-E และ PAS-C
มีการลดลงที่ชัดเจนในวันที่ 7 เฉลี่ย 0.43 คะแนน (95%CI [-0.65, -0.22], p<0.001) และ 0.33 คะแนน (95%CI [-0.51, -
12

0.15], p<0.001) ตามลำดับ ทำให้ pooled LPPC ที่มีค่าความมีชีวิต 5+ คงเหลือ 18 ถุงคิดเป็นร้อยละ 60 ในขณะที่ PAS-E
และ 20 ถุงคิดเป็นร้อยละ 66.7 ใน PAS-C นอกนั้นตกไป 4+ และทั้งสามกลุ่มมีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติ (p<0.001)
Table 5 Results of pooled LPPC in plasma, PAS-C and PAS-E on day 2, day 5, and day 7
Storage day of pooled LPPC p-value
Parameter Medium Between Groups
Day 2 Day 5 Day 7
Medium Day 5 Day 7
Plasma 1046.93 ± 174.67 932.83 ± 152.61 848.71 ± 159.11 P vs E <0.001 <0.001
-114.1 (-139.45, -88.75)* -198.22 (-234.96, -161.48)*
Platelet count P vs C <0.001 0.003
PAS-E 741.32 ± 105.95 682.32 ± 95.30 648.41 ± 106.74
(x103/uL)
-59.0 (-79.08, -38.91)* -92.91 (-121.75, -64.07)* E vs C <0.001 <0.001
Mean ± SD.
PAS-C 821.91 ± 97.82 764.11 ± 96.37 685.44 ± 94.96
-57.8 (-67.7, -47.91)* -136.47 (-157.11, -115.83)* 3 group <0.001 <0.001
Plasma 30 (100.0) 12 (40.0) 0 (0.0) P vs E <0.001 <0.001
-0.63 (-0.84, -0.43)* -1.17 (-1.31, -1.03)*
Swirling (5+) PAS-E 30 (100.0) 29 (96.7) 18 (60.0) P vs C <0.001 <0.001
n (%) -0.03 (-0.1, 0.03) -0.43 (-0.65, -0.22)* E vs C 0.464 0.464
PAS-C 30 (100.0) 30 (100.0) 20 (66.7)
0 (0, 0) -0.33 (-0.51, -0.15)* 3 group <0.001 <0.001
Plasma 7.6 ± 0.19 7.53 ± 0.11 7.22 ± 0.2 P vs E 0.602 0.002
-0.07 (-0.17, 0.02) -0.38 (-0.5, -0.26)*
pH PAS-E 7.68 ± 0.07 7.63 ± 0.07 7.46 ± 0.09 P vs C 0.655 0.013
Mean ± SD. -0.05 (-0.06, -0.04)* -0.22 (-0.25, -0.19)* E vs C 0.602 0.002
PAS-C 7.75 ± 0.05 7.69 ± 0.06 7.49 ± 0.06
-0.05 (-0.06, -0.05)* -0.25 (-0.28, -0.23)* 3 group 0.852 0.004
Plasma 267.71 ± 25.95 285.81 ± 31.06 264.53 ± 27.14 P vs E <0.001 <0.001
18.1 (11.72, 24.47)* -3.18 (-7.75, 1.39)
Fibrinogen level P vs C 0.001 <0.001
PAS-E 93.23 ± 12.58 98.26 ± 11.67 99.12 ± 11.23
(mg/dL)
5.03 (2.45, 7.62)* 5.9 (2.46, 9.33)* E vs C <0.001 <0.001
Mean ± SD.
PAS-C 87.61 ± 7.22 95.71 ± 9.13 94.4 ± 8.71
8.1 (6.14, 10.06)* 6.78 (4.74, 8.83)* 3 group <0.001 <0.001
Plasma 27.52 ± 10.13 8.27 ± 4.15 7.08 ± 2.66 P vs E <0.001 <0.001
-19.25 (-22.7, -15.8)* -20.44 (-24.31, -16.58)*
ADP PAS-E 9.99 ± 6.24 8.54 ± 2.13 9.94 ± 1.78 P vs C <0.001 <0.001
10 uM -1.46 (-3.86, 0.95) -0.05 (-2.56, 2.46) E vs C <0.001 <0.001
PAS-C 7.7 ± 2.84 8.44 ± 1.72 8.04 ± 1.7
0.74 (-0.56, 2.04) 0.34 (-0.79, 1.48) 3 group <0.001 <0.001
Plasma 27.95 ± 24.82 16.77 ± 4.12 14.75 ± 2.69 P vs E 0.012 0.001
Platelet -11.18 (-20.39, -1.97)* -13.2 (-22.55, -3.85)*
Aggregation Epinephrine PAS-E 14.38 ± 6.49 12.96 ± 2.22 13.79 ± 2.71 P vs C 0.003 <0.001
Test 20 uM -1.42 (-3.76, 0.92) -0.59 (-2.54, 1.37) E vs C 0.012 0.001
Mean ± SD PAS-C 10.73 ± 1.58 11.3 ± 2.61 11.63 ± 1.17
0.57 (-0.37, 1.51) 0.9 (0.23, 1.57)* 3 group 0.006 0.001
Plasma 89.51 ± 2.23 41.21 ± 21.15 26.01 ± 12.8 P vs E 0.728 0.188
-48.3 (-56.34, -40.26)* -63.5 (-68.32, -58.67)*
Collagen PAS-E 85.93 ± 4.44 35.94 ± 18.37 18.63 ± 4.34 P vs C 0.051 0.372
5 ug/ml -49.99 (-57, -42.98)* -67.29 (-69.55, -65.04)* E vs C 0.728 0.188
PAS-C 73.11 ± 13.12 15.19 ± 8.89 12.17 ± 1.39
-57.91 (-63.73, -52.09)* -60.93 (-65.72, -56.15)* 3 group 0.113 0.087

ความเป็นกรดด่างลดลงอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ ่มเมื่ อผ่านระยะเวลาการเก็บไป 7 วัน (p=0.004) แต่ไม่


แตกต่างกันวันในที่ 5 (p=0.852) ในพลาสมาวันที่ 2 ความเป็นกรดด่างเฉลี่ย 7.6 ± 0.19 และลดลง 0.07 (95%CI [-0.17,
0.02], p=0.134) โดยไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คงเหลือ ความเป็นกรดด่างเฉลี่ยในวันที่ 5 เท่ากับ 7.53 ± 0.11
13

และลดลง 0.38 (95%CI [-0.5, -0.26], p<0.001) คงเหลือความเป็นกรดด่างเฉลี่ยในวันที่ 7 เท่ากับ 7.22 ± 0.2 ใน PAS-E
วันที่ 2 ความเป็นกรดด่างเฉลี่ย 7.68 ± 0.07 และลดลง 0.05 (95%CI [-0.06, -0.04], p<0.001) คงเหลือความเป็ นกรดด่าง
เฉลี่ยในวันที่ 5 เท่ากับ 7.63 ± 0.07 และลดลง 0.22 (95%CI [-0.25, -0.19], p<0.001) คงเหลือความเป็นกรดด่างเฉลี่ยใน
วันที่ 7 เท่ากับ 7.46 ± 0.09 ใน PAS-C วันที่ 2 ความเป็นกรดด่างเฉลี่ย 7.75 ± 0.05 และลดลง 0.05 (95%CI [-0.06, -
0.05], p<0.001) คงเหลือความเป็นกรดด่างเฉลี่ยในวันที่ 5 เท่ากับ 7.69 ± 0.06 และลดลง 0.25 (95%CI [-0.28, -0.23],
p<0.001) คงเหลือความเป็นกรดด่างเฉลี่ยในวันที่ 7 เท่ากับ 7.49 ± 0.06

Figure 2 Platelet count, swirling, pH and platelet aggregation test among plasma medium, PAS-C and PAS-E at day 2, 5 and 7
ค่าการเกาะกลุ ่มของเกล็ดเลื อดด้ วยหลั กการ Light transmission aggregometry (LTA) ทดสอบเกล็ดเลื อดกับ สาร
การตุ้นการทำงานของเกล็ดเลื อด (platelet agonist) 3 ชนิด ได้แก่ ADP 10.0 ug/mL, epinephrine 20.0 ug/mL และ
collagen 2.0 ug/mL พบการลดลงอย่ างมี นั ยสำคัญ ทางสถิติ ร ะหว่างกลุ่ มเมื่ อผ่ านระยะเวลาการเก็ บ ไป 7 วันของกลุ่ ม
14

พลาสมา PAS-E และ PAS-C ในสารกระตุ้นการทำงานของเกล็ดเลือดชนิด ADP (day5 p=0.006, day7 p=0.001) แต่ไม่มี
ความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในน้ำยา 3 ชนิดด้วยสารกระตุ้นชนิด collagen (day5 p=0.113, day7 p=0.087) ค่า
การเกาะกลุ ่ มของเกล็ดเลื อดเมื ่ อกระตุ้ น ด้ วย ADP ในพลาสมาวั นที ่ 2 เท่ากับ 27.52% ± 10.13% และลดลง 19.25%
(95%CI [-22.7, -15.8], p<0.001) คงเหลื อในวั นที่ 5 เท่ ากั บ 8.27% ± 4.15% และลดลง 20.44% (95%CI [-24.31, -
16.58], p<0.001) คงเหลือในวันที ่ 7 เท่ากับ 7.08% ± 2.66% ใน PAS-E วันที่ 2 เท่ากับ 9.99% ± 6.24% และลดลง
1.46% (95%CI [-3.86, 0.95], p=0.226) คงเหลือในวันที่ 5 เท่ากับ 8.54% ± 2.13% และลดลง 0.05% (95%CI [-2.56,
2.46], p=0.968) คงเหลื อในวั นที ่ 7 เท่ ากั บ 9.94% ± 1.78% ใน PAS-C วั นที ่ 2 เท่ ากั บ 7.7% ± 2.84% และเพิ ่ ม ขึ้น
0.74% (95%CI [-0.56, 2.04], p=0.254) คงเหลือในวันที่ 5 เท่ากับ 8.44% ± 1.72% และเพิ่มขึ้น 0.34% (95%CI [-0.79,
1.48], p=0.542) คงเหลือในวันที่ 7 เท่ากับ 8.04% ± 1.7% ค่าการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดเมื่อกระตุ้นด้วย epinephrine
ในพลาสมาวันที่ 2 เท่ากับ 27.95% ± 24.82% และลดลง 11.18% (95%CI [-20.39, -1.97], p=0.019) คงเหลือในวันที่ 5
เท่ากับ 16.77% ± 4.12% และลดลง 13.20% (95%CI [-22.55, -3.85], p=0.007) คงเหลือในวันที่ 7 เท่ากับ 14.75% ±
2.69% ใน PAS-E วันที่ 2 เท่ากับ 14.38% ± 6.49% และลดลง 1.42% (95%CI [-3.76, 0.92], p=0.224) คงเหลือในวันที่
5 เท่ ากั บ 12.96% ± 2.22% และลดลง 0.59% (95%CI [-2.54, 1.37], p=0.544) คงเหลื อในวั นที่ 7 เท่ ากั บ 13.79% ±
2.71% ใน PAS-C วันที่ 2 เท่ากับ 10.73% ± 1.58% และเพิ่มขึ้น 0.57% (95%CI [-0.37, 1.51], p=0.223) คงเหลือในวันที่
5 เท่ ากั บ 11.3% ± 2.61% และเพิ ่ มขึ ้ น 0.9% (95%CI [0.23, 1.57], p=0.010) คงเหลื อในวั นที ่ 7 เท่ ากั บ 11.63% ±
1.17% ค่าการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดเมื่อกระตุ้ นด้วย collagen ในพลาสมาวันที่ 2 เท่ากับ 89.51% ± 2.23% และ
ลดลง 48.3% (95%CI [-56.34, -40.26], p<0.001) คงเหลื อในวั นที ่ 5 เท่ ากั บ 41.21% ± 21.15% และลดลง 63.5%
(95%CI [-68.32, -58.67], p<0.001) คงเหลือในวันที่ 7 เท่ากับ 26.01% ± 12.8% ใน PAS-E วันที่ 2 เท่ากับ 85.93% ±
4.44% และลดลง 49.99% (95%CI [-57.00, -42.98], p<0.001) คงเหลือในวันที่ 5 เท่ากับ 35.94% ± 18.37% และลดลง
67.29% (95%CI [-69.55, -65.04], p<0.001) คงเหลือในวั นที่ 7 เท่ากับ 18.63% ± 4.34% ใน PAS-C วันที่ 2 เท่ากั บ
73.11% ± 13.12% และลดลง 57.91% (95%CI [-63.73, -52.09], p<0.001) คงเหลือในวันที่ 5 เท่ากับ 15.19% ± 8.89%
และลดลง 60.93% (95%CI [-65.72, -56.15], p<0.001) คงเหลือในวันที่ 7 เท่ากับ 12.17% ± 1.39%

อภิปรายผล

Pooled LPPC ที่เตรียมโดยกองธนาคารเลือด สถาบันพยาธิวิทยา ศูนย์อำนวยการแพทย์พระมงกุฎเกล้า ทั้งหมดผ่านการ


ทดสอบตามเกณฑ์มาตรฐานงานธนาคารเลือด ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
น้ำยา PAS มีประสิทธิภาพดีกว่าพลาสมาในการคงค่าความมีชีวิต อยู่ของเกล็ดเลือด (swirling phenomenon) ไว้ได้นาน
ที่ 7 วัน โดยค่าความมีชีวิตอยู่ลดลงและมีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อผ่านระยะเวลาการเก็ บไป
7 วันในทั้ง 3 กลุ่ม (p<0.001) ซึ่งในวันที่ 2 ร้อยละ 100 ค่าความมีชีวิตมาก 5+ ในทั้งสามกลุ่ม แต่พลาสมามีการลดลงที่
ชัดเจนเฉลี่ย 0.63 คะแนน (95%CI [-0.84, -0.43], p<0.001) ตั้งแต่วันที่ 5 ค่าความมีชีวิต 5+ คงเหลือร้อยละ 40 และลดลง
เฉลี่ย 1.17 คะแนน (95%CI [-1.31, -1.03], p<0.001) ในวันที่ 7 ค่าความมีชี วิตตกไป 4+ ร้อยละ 83.3 และ 3+ ร้อยละ
16.7 ในขณะที่ PAS-E และ PAS-C มีการลดลงที่ชัดเจนในวั นที่ 7 โดยยังคงค่าความมีชี วิต 5+ อยู่ร้อยละ 60 และ 66.7
ตามลำดับ เมื่อพิจารณาระหว่างกลุ่มน้ำยา PAS 2 ชนิดในวันที่ 7 แล้วไม่มีความแตกต่างกันของค่าความมีชีวิตอยู่ (p=0.464)
มั ธยฐานค่ าความแรงของ anti-A และ anti-B เท่ ากั นในพลาสมาที ่ 1:512 ในน้ ำยา PAS ทั ้ ง สองชนิ ดต่ำกว่ าโดยไม่
แตกต่างกันที่ 1:64 ดังแสดงในตารางที่ 1 (demographic data) แต่เมื่อเทียบกันระหว่างกลุ่มแล้ว PAS-E มีประสิทธิภาพกว่า
PAS-C (p<0.001) ในขณะที่พลาสมากับ PAS-C ไม่มีความแตกต่างกัน (p=0.202) รวมถึงจำนวนเม็ดโลหิตขาวคงค้าง (residual
WBC) ใน PAS-E ต่ำที่สุด 0.01 ± 0.01 (x109/ถุง) เมื่อเทียบทั้งสามกลุ่มและกับ PAS-C มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทาง
15

สถิติ (p<0.001) จำนวนเกล็ดเลือดลดลงและมีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อผ่านระยะเวลาการ


เก็บไป 7 วันในทั้ง 3 กลุ่ม (p<0.001) โดยแนวโน้มจำนวนเกล็ดเลือดลดลงใน PAS-E น้อยที่สุด เฉลี่ย 92.91 x103/uL ในวันที่
7 อีกทั้ง PAS-E สามารถคงค่าความเป็นกรดด่างได้ดีที่สุดตลอด 7 วัน และมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับ
PAS-C (p=0.002) โดยความเป็นกรดด่างลดลงอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติระหว่ างกลุ่มเมื่อผ่านระยะเวลาการเก็บ ไป 7 วัน
(p=0.004) แต่ไม่แตกต่างกันวันในที่ 5 (p=0.852) ในวันที่ 7 ความเป็นกรดด่างในพลาสมา PAS-E และ PAS-C ลดลงเฉลี่ย
0.38 (95%CI -0.5, -0.26), 0.22 (95%CI -0.25, -0.19) และ 0.25 (95%CI -0.28, -0.23) ตามลำดั บ (p=0.004) คงเหลื อ
ความเป็นกรดด่างเฉลี่ยในวันที่ 7 เท่ากับ 7.22 ± 0.2, 7.46 ± 0.09 และ 7.49 ± 0.06 ตามลำดับ
ค่าการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด พบการลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่มเมื่อผ่านระยะเวลาการเก็บ ไป 7 วัน
ของกลุ่มพลาสมา PAS-E และ PAS-C ในสารกระตุ้นการทำงานของเกล็ดเลือดชนิด ADP (day5 p<0.001, day7 p<0.001)
และ epinephrine (day5 p=0.006, day7 p=0.001) แต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในน้ำยา 3 ชนิดด้วยสาร
กระตุ้นชนิด collagen (day5 p=0.113, day7 p=0.087) เนื่องจากค่าการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดเมื่อกระตุ้นด้วย ADP และ
epinephrine ค่อนข้างต่ำเป็นไปในทางเดียวกันกับ งานวิจัยของ Coêlho MJ และคณะที่ได้ทำการศึกษาการควบคุ มคุ ณภาพ
และค่าการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดโดยตัวกระตุ้น ADP และ collagen ที่เก็บรักษาด้วยน้ำยา PAS-G ชนิด SAG-M ผลิตใน
ธนาคารเลือดอเมซอน โดยนำเลือดจากผู้บริจาค 80 คนมาตรวจค่าการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดทันทีจากถุ ง whole blood
หลังบริจาค พบว่าอยู่ในค่าปกติ 67% และ 78% ตามลำดับ แต่ในการเก็บรักษา PCs in PAS-G ที่ผ่านไป 1 วัน (เทียบได้กับ
วันที่ 2 ของอายุเกล็ดเลือดในงานวิจัย) พบว่าค่าการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดเฉลี่ยโดยตัวกระตุ้น ADP ต่ำมาก (18%, 7%, 6%
ในวันที่ 2, 4, 6 ตามลำดับ) เมื่อเทียบกับ collagen ซึ่งยังคงให้ผลใกล้เคียงค่าปกติในวันที่ 2 และลดลงในวันถัด ไป (54.4%,
20.5%, 9%) โดยยังไม่ทราบสาเหตุของตัวกระตุ้นที่ส่งผลแตกต่างกัน51 จากผลการศึกษาในทางทฤษฎีอาจเกิดจาก collagen
เป็นตัวกระตุ้นเกล็ดเลือดที่มีความแรงสูงสุด (potent) สามารถผ่านตัวรับหลายตัวบนผิวเกล็ดเลือดทำให้เ พิ่มการเผาผลาญ
พลังงานภายใน (inside-out signaling) โดยเฉพาะจับกับ von Willebrand factor (vWF) และเชื่อมกับ glycoprotein Ib
receptor (GP-Ibα/IX/V) ทำให้ alpha granules และ dense granules ถูกหลั่งออกมาไปกระตุ้นให้ glycoprotein IIb/IIIa
ทำงานไปจับกับ fibrinogen เพื่อไปเหนี่ยวนำเกล็ดเลือดข้างเคียงให้เกิดการกระตุ้นต่อไป (outside-in signaling) เกิดการ
เกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดขึ้นในที่สุด (platelet aggregation) การกระตุ้นการทำงานของเกล็ดเลือดระหว่างขั้นตอนการผลิตจน
เก็ บ รั กษาเกิ ด ไปพร้ อมกั บ การแสดงออกของโปรตี นบนผิ วเซลล์ (P-selectin, CD63) และการปล่ อยสารจำเพาะ (β-
thromboglobulin platelet factor 4 และอื่นๆ) ส่งผลไปถึงการแตกสลายของเซลล์ (apoptosis)14-19 ในขณะที่ ADP และ
epinephrine กระตุ ้ นเกล็ ด เลื อดให้เ ปลี ่ย นรู ป ร่ างไป เกิ ด กระบวนการยึ ดเกาะ (adhesion) ผ่ านทาง transmembrane
protein chemoreceptor P2Y12 และ α2a ตามลำดับ จากงานวิจัยนี้และก่อนหน้า จึงไม่มีความหนักแน่น (power) ของ
ข้อมูลเพียงพอที่จะนำมาสรุปในการศึกษาได้ และมีข้อสังเกตที่จำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมในผลที่ได้จาก PAS-C ที่มีค่าที่
มากขึ้นในเวลาที่ผ่านไป 7 วัน และ fibrinogen level ที่สูงขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป
เนื่องจาก PAS เป็น electrolyte solution ใช้สำหรับเก็บเกล็ดเลือดแทนพลาสมา สามารถประยุกต์สัดส่วนของเกลื อแร่
ต่างๆ ให้คงระดับ pH สูงกว่า 6.0 เพื่อผลการคงสภาพของเกล็ดเลือดที่ดีที่สุด1,2 โดยหวังลดการกระตุ้นการทำงานของเกล็ด
เลือดอันทำให้เกิด platelet storage lesion จากเอนไซม์ในพลาสมาตามหลักการคงสภาพเกล็ดเลือดที่จำเป็นต้ องมี การเผา
ผลาญเพื่อให้ได้พลังงาน (adenosine triphosphate, ATP) energy currency เพื่อคงสภาพความสมบูรณ์ของเซลล์เ อาไว้ดัง
ภาพที่ 123,24 และชะลอการเสื่อมสภาพของเกล็ดเลือดก่อนนำไปให้ผู้ป่วย ทำให้เกล็ดเลือดได้ทำหน้าที่สร้างลิ่มเลื อดเพื่อใช้ ใน
การห้ามเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น38 PAS สามารถลด TA-GVHD จากการปนเปื้อนของเม็ดเลือดขาวได้ดี และการ
ลดลงของจำนวน anti-A และ anti-B ทำให้สามารถให้ platelet หมู่เลือด ABO ไม่ตรงหมู่แก่ผู้ป่วยได้โดยเฉพาะกรณีที่ มีการ
ขาดแคลนและผู้ป่วยมีความจำเป็นเร่งด่วนต้องได้รับ platelet อีกทั้งลดการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ต่อผู้ป่ วยจากโปรตี นใน
16

พลาสมา เช่น allergic reactions, febrile nonhemolytic transfusion reactions (FNHTR) จึงเป็นการลดปัญหาจาก ABO
isoagglutinin-mediated hemolysis และ antibody-mediated transfusion-related acute lung injury (TRALI) และ
ในอนาคตการพัฒนากองธนาคารเลือด การใช้น้ำยา PAS ทดแทนพลาสมาทำให้สามารถนำพลาสมาไปผลิตผลิตภัณฑ์จาก
ส่วนประกอบพลาสมาอื่นๆ (fractionation) เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการรักษาทางคลินิกได้มากขึ้น
PAS ที่ใช้กันทั่วไปในกระเทศไทยมี 2 ชนิดหลัก คือ PAS-C และ PAS-E โดยมีการเติม magnesium และ potassium ใน
PAS-E เพื่อลดการเกิด spontaneous activation ของ platelet storage lesion ในระหว่างการเก็บ ป้องกันการลดลงของ
pH ซึ่งในร่างกาย lactic acid จะถูก neutralized ที่ตับ แต่เมื่อออกนอกร่างกายแล้ว lactic acid จะทำให้ storage plasma
medium มีความเป็นกรดได้อย่างรวดเร็ว จากผลของงานวิจัยพบว่า PAS มีประโยชน์เหนือพลาสมาในด้านการคงค่าความ
เป็นกรดด่าง โดยที่ PAS-E สามารถคงค่าความเป็นกรดด่างได้ดีที่สุดตลอด 7 วัน และมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อ
เทียบกับ PAS-C (p=0.002) ซึ่งแตกต่างจากสองการศึกษาของ H. Gulliksson และคณะ พบว่าการเก็บเกล็ดเลือดใน PAS-E มี
กระบวนการ glycolysis ลดลง สามารถคงสภาพ pH และ hypotonic shock response ได้ดีขึ้นเทียบกับ PAS-C โดยอธิบายว่า
magnesium และ citrate เพิ่ม potassium ion efflux ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ไปลด ADP-induced binding of fibrinogen และการ
จับตัวกันของเกล็ดเลือด3 ในขณะที่ de Wildt-Eggen และคณะ พบว่าการเติม magnesium และ potassium ลดการกระตุ้นการ
ทำงานของเกล็ดเลือดได้และคงค่ า pH ได้ดีระหว่างการเก็บรักษาถึง 7 วัน แต่ยังไม่สามารถอธิบายกลไกอย่างละเอียดได้ 4 ใน
ส่วนประกอบของ PAS-E ที่มี Disodium Hydrogen Phosphate (Na2HPO4) มากกว่า PAS-C ถึงสองเท่านั้น P.F. van der
Meer และคณะได้อธิบายไว้ว่าไปช่วยเพิ่มการเผาผลาญพลังงานให้เกล็ดเลือดคงความมีชีวิตอยู่ได้นานขึ้น โดยไม่ส่ งผลต่ ออายุ
ไขของเกล็ดเลือดเนื่องจากมี magnesium และ potassium หยุดการกระตุ้นการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดไว้ ทำให้ค งค่าความ
เป็นกรดด่างของเกล็ดเลือดได้ดี เมื่อเทียบกับ น้ำยา PAS-C และพลาสมา53 และเมื่อศึกษาถึง recovery และ survival ของ
platelet in PAS เมื่อให้เข้าร่ างกายรวมทั้ง ค่ า platelet corrected count increment (CCI) พบว่าไม่ด้ อยกว่ าพลาสมา
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 42 จึงมีความจำเป็นต้องทำการศึกษาเพิ่มเติมทั้ง การเพิ่มจำนวนตัวอย่างประชากรเข้าร่วมงานวิจัย
และในระดับโมเลกุลถึงความสำคัญของ magnesium และ potassium ต่อการเก็บรักษาเกล็ดเลือด
ข้อจำกัดของงานวิจั ยในกระบวนการนำ PAS มาใช้ทดแทนพลาสมาในการเก็บรั กษาเกล็ดเลื อด pooled LPPC นั้น
ธนาคารเลือดส่วนใหญ่รวมถึง ศูนย์บริ การโลหิต สภากาชาดไทยใช้ถุงบรรจุชนิด top to bottom เพื่อสะดวกต่อการบีบแยก
ส่วนประกอบโลหิตและเติมน้ำยา PAS ปริมาตร 250 มิลลิลิตร คิดเป็นสัดส่วน PAS:plasma ที่ 65:35 ก่อนนำไปปั่นแยก ทางกอง
ธนาคารเลือด สถาบันพยาธิวิทยา ศูนย์อำนวยการแพทย์พระมงกุฎเกล้า ใช้ถุงบรรจุชนิด top to top มาประยุกต์การบีบแยก
ส่วนประกอบโลหิตและเติมน้ำยา PAS จากการคำนวณตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ แต่อาจจะยังมีรายละเอียดเล็กน้อยที่ ส่งผลใน
จำนวนเกล็ดเลือดเฉลี่ยต่อถุงในกลุ่ม PAS ด้อยกว่าในขณะที่ปริมาตรเฉลี่ยมากกว่า อันอาจส่งผลถึงความคลาดเคลื่อนของผล
การศึกษาบางส่วน กล่าวในการนำไปใช้จริงจากผลงานวิจัย PAS-E มีประสิทธิภาพในการเก็บรักษาเกล็ดเลือดดีกว่า PAS-C ดังผลที่
กล่าวมาข้างต้น และในกระบวนการผลิต PAS-E มาในถุงบรรจุปริมาตร 250 มล.ที่สามารถนำไปใช้เตรียมได้ทั้งหมดต่อ pooled
LPPC 1 ถุง ส่วน PAS-C มาในถุงบรรจุปริมาตร 280 มล. ทำให้ต้องแยกปริมาตรเหลือทิ้งออกไป 30 มล.อันเป็นการเพิ่มขั้นตอนและ
เวลาการผลิต รวมถึงสูญเสียปริมาตรน้ำยาและงบประมาณสิ้นเปลืองเพิ่มขึ้น ในมุมมองของประโยชน์ด้านราคา (cost-benefit)
ร่วมกับคุณภาพแล้ว PAS-E จึงเป็นน้ำยาที่เหมาะสมต่อการพัฒนาคุณภาพมาใช้เก็บรักษาเกล็ดเลือดอย่างเป็นมาตรฐานการผลิต
ของกองธนาคารเลือด สถาบันพยาธิวิทยา ศูนย์อำนวยการแพทย์พระมงกุฎเกล้า ต่อไป
17

สรุปผลการวิจัย

Pooled LPPC ที่เตรียมโดยกองธนาคารเลือด สถาบันพยาธิวิทยา ศูนย์อำนวยการแพทย์พระมงกุฎเกล้า ทั้งหมดผ่านการ


ทดสอบตามเกณฑ์มาตรฐานงานธนาคารเลือด ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย จากผลการศึกษาน้ำยา PAS มี
ประสิทธิภาพดีกว่าพลาสมาในการคงค่าความมีชีวิตอยู่ของเกล็ดเลือดไว้ได้นานที่ 7 วัน และมีจำนวนเม็ดโลหิตขาวคงค้าง
รวมถึงค่าความแรงของ anti-A และ anti-B ที่ต่ำกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อันเป็นประโยชน์ต่อประสิทธิภาพและความ
ปลอดภัยในการนำไปให้ผู้ป่วย โดย PAS-E มีประสิทธิภาพในการคงค่าความเป็นกรดด่างได้ดีกว่า PAS-C ซึ่งแตกต่างจาก
การศึกษาก่อนหน้า จึงมีความจำเป็นต้องทำการศึกษาเพิ่มเติมทั้งการเพิ่มจำนวนตัวอย่างประชากรเข้าร่วมงานวิจัย และใน
ระดับโมเลกุลถึงความสำคัญของ magnesium และ potassium ต่อการเก็บรักษาเกล็ดเลือด และเนื่องจากค่าการเกาะกลุ่ม
ของเกล็ดเลือดเมื่อกระตุ้นด้วย ADP และ epinephrine ค่อนข้างต่ำในขณะที่ collagen มีค่าเฉลี่ยอยู่ในช่วงปกติของวันที่ 2
และลดลงเมื่อเวลาผ่านไปโดยยังไม่ทราบสาเหตุของตัวกระตุ้นที่ส่งผลแตกต่างกัน จากการศึกษา PAS-E จึงเป็นน้ำยาที่เหมาะสม
ต่อการพัฒนาคุณภาพการผลิตและเก็บรักษาเกล็ดเลือดอย่างมาตรฐานของกองธนาคารเลือด สถาบันพยาธิวิทยา ศูนย์อำนวย
การแพทย์พระมงกุฎเกล้า ต่อไป

กิตติกรรมประกาศ

งานวิจัยนี้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี เนื่องจากผู้วิจัยได้รับความช่วยเหลืออนุเคราะห์อย่างดียิ่งจากหลายฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง


พั นเอกหญิ ง แพทย์ ห ญิ ง เปรมฤดี ชั ย สุ วิ ร ั ต น์ อาจารย์ ท ี ่ ป รึ กษาหลั ก ที ่ เ มตตาให้ ค วามรู ้ และคำแนะนำ ตลอดจนแก้ ไข
ข้อบกพร่อง ทำให้งานวิจัยฉบับนี้สามารถดำเนินไปได้ด้วยดี ผู้วิจัยขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง ณ โอกาสนี้
ขอขอบคุณ พันโทภานุวัฒน์ มิเดิง หัวหน้าแผนกตรวจและเตรียมส่วนประกอบโลหิต นางสาวภัคจิราพร เคยอาษา ผู้เป็น
กำลังหลักที่ทำให้ได้ข้อมูลอันมีค่าของทางกองธนาคารเลือดมาใช้ประโยชน์ในงานวิจัยนี้ และบุคลากรของห้องรับบริ จาคโลหิต
กองธนาคารเลือด สถาบันพยาธิวิทยา ศูนย์อำนวยการแพทย์พระมงกุฎเกล้า ที่เอื้อเฟื้อสถานที่และอุปกรณ์ในการเก็บตั วอย่ าง
และเก็บข้อมูล รวมถึงขอขอบคุณผู้บริจาคโลหิตที่เข้าร่วมในการศึกษาครั้งนี้ทุกท่าน
ขอขอบคุณ ร้อยเอกดลภาค อภิพงศ์รัตน์ และบุคลากรของห้องปฏิบัติการโลหิตวิทยาพิเศษ กองอายุรกรรม โรงพยาบาล
พระมงกุฎเกล้า ที่กรุณาให้คำแนะนำและช่วยเหลือด้วยดี อีกทั้ง เอื้อเฟื้อสถานที่และอุปกรณ์ ที่ใช้ทดสอบการเกาะกลุ่มของ
เกล็ดเลือดตั้งแต่เริ่มทำการวิจัย
สุดท้ายนี้ขอบคุณกำลังใจอันอบอุ่นจากครอบครัว ผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมชั้นเรียนอายุกรรม รุ่น 47 และอายุรกรรมโรค
เลือด รวมทั้งบุคคลอื่นๆที่ได้ให้ความช่วยเหลือ ผู้วิจัยรู้สึกซาบซึ้งในความกรุณาและความปรารถนาดีของทุกท่านเป็นอย่างยิ่ง

ร้อยเอกหญิง แพทย์หญิงชนกานต์ วิภูสมิทธ์


18

เอกสารอ้างอิง

1. Gulliksson H. Additive solutions for the storage of platelets for transfusion. Transfusion Medicine. 2000
Dec;10(4):257-64.
2. Andreu G, Vasse J, Hervé F, et al. Introduction of platelet additive solutions in transfusion practice
advantages, disadvantages and benefit for patients. Transfus Clin Biol 2007;14:100–6.
3. Gulliksson H, AuBuchon JP, Cardigan R, Van Der Meer PF, Murphy S, Prowse C, Richter E, Ringwald J,
Smacchia C, Slichter S, De Wildt‐Eggen J. Storage of platelets in additive solutions: a multicentre study
of the in vitro effects of potassium and magnesium. Vox sanguinis. 2003 Oct;85(3):199-205.
4. De Wildt‐Eggen J, Schrijver JG, Bins M, Gulliksson H. Storage of platelets in additive solutions: effects of
magnesium and/or potassium. Transfusion. 2002 Jan;42(1):76-80.
5. Hoeltge GA, Shah A, Miller JP. An optimized strategy for choosing the number of platelet concentrates
to pool. Archives of Pathology and Laboratory Medicine. 1999 Oct;123(10):928-30.
6. Leukocyte reduction and ultraviolet B irradiation of platelets to prevent alloimmunization and
refractoriness to platelet transfusions. The trial to reduce alloimmunization to platelets study group. N
Engl J Med. 1997;337(26):1861-9.
7. Wandall HH, Hoffmeister KM, Sorensen AL, et al. Galactosylation does not prevent the rapid clearance
of long-term, 4 degrees C-stored platelets. Blood 2008;111:3249–56.
8. Valeri CR, Feingold H, Marchionni LD. A simple method for freezing human platelets using 6%
dimethylsulfoxide and storage at-80 C. Blood. 1974 Jan 1;43(1):131-6.
9. Slichter SJ, Jones M, Ransom J, Gettinger I, Jones MK, Christoffel T, Pellham E, Bailey SL, Corson J,
Bolgiano D. Review of in vivo studies of dimethyl sulfoxide cryopreserved platelets. Transfusion medicine
reviews. 2014 Oct 1;28(4):212-25.
10. Towell BL, Levine SP, Knight III WA, Anderson JL. A comparison of frozen and fresh platelet concentrates
in the support of thrombocytopenic patients. Transfusion. 1986 Nov 12;26(6):525-30.
11. van der Meer PF, Cancelas JA, Vassallo RR, Rugg N, Einarson M, Hess JR. Evaluation of the overnight hold
of whole blood at room temperature, before component processing: platelets (PLTs) from PLT‐rich
plasma. Transfusion. 2011 Jan;51:45S-9S.
12. Simon TL, McCullough J, Snyder EL, Solheim BG, Strauss RG, editors. Rossi's principles of transfusion
medicine. Fifth edition. John Wiley & Sons Incorporated; 2016 Mar 15.
13. Esber EC. Reduction of the maximum platelet storage period to 5 days in an approved container.
Bethesda. Food and drug Administration. 1986.
14. Hanson SR, Slichter SJ. Platelet kinetics in patients with bone marrow hypoplasia: evidence for a fixed
platelet requirement. Blood. 1985 Nov 1;66(5):1105-9.
19

15. Holme S, Heaton A. In vitro platelet ageing at 22° C is reduced compared to in vivo ageing at 3 7° C.
British journal of haematology. 1995 Sep;91(1):212-8.
16. Hoffmeister KM, Falet H, Toker A, Barkalow KL, Stossel TP, Hartwig JH. Mechanisms of cold-induced
platelet actin assembly. Journal of Biological Chemistry. 2001 Jul 6;276(27):24751-9.
17. Hoffmeister KM. The role of lectins and glycans in platelet clearance. Journal of Thrombosis and
Haemostasis. 2011 Jul;9:35-43.
18. Gitz E, Koekman CA, van den Heuvel DJ, Deckmyn H, Akkerman JW, Gerritsen HC, Urbanus RT. Improved
platelet survival after cold storage by prevention of glycoprotein Ibα clustering in lipid rafts.
Haematologica. 2012 Dec 1;97(12):1873-81.
19. Maurer-Spurej E, Pfeiler G, Maurer N, Lindner H, Glatter O, Devine DV. Room temperature activates human
blood platelets. Laboratory investigation. 2001 Apr;81(4):581.
20. Kilkson H, Holme S, Murphy S. Platelet metabolism during storage of platelet concentrates at 22 degrees
C. Blood. 1984 Aug 1;64(2):406-14.
21. Farrugia A. Platelet Concentrates for Transfusion—Metabolic and Storage Aspects. Platelets. 1994 Jan
1;5(4):177-85.
22. Dumont LJ, Gulliksson H, Van Der Meer PF, Murphy S, Nixon JG, De Wildt‐Eggen J, VandenBroeke T,
AuBuchon JP. Interruption of agitation of platelet concentrates: a multicenter in vitro study by the BEST
Collaborative on the effects of shipping platelets. Transfusion. 2007 Sep;47(9):1666-73.
23. Murphy S. Platelet storage for transfusion. Sem. Hematol.. 1985;22:165-77.
24. Solberg C, Holme S, Little C. Morphological changes associated with pH changes during storage of platelet
concentrates in first‐generation 3‐day container. Vox sanguinis. 1986 Feb;50(2):71-7.
25. Paglia G, Sigurjónsson ÓE, Rolfsson Ó, Hansen MB, Brynjólfsson S, Gudmundsson S, Palsson BO.
Metabolomic analysis of platelets during storage: a comparison between apheresis‐and buffy coat–
derived platelet concentrates. Transfusion. 2015 Feb;55(2):301-13.
26. Gulliksson H. Defining the optimal storage conditions for the long-term storage of platelets. Transfusion
medicine reviews. 2003 Jul 1;17(3):209-15.
27. Saunders C, Rowe G, Wilkins K, Collins P. Impact of glucose and acetate on the characteristics of the
platelet storage lesion in platelets suspended in additive solutions with minimal plasma. Vox sanguinis.
2013 Jul;105(1):1-0.
28. Cardigan R, Williamson LM. The quality of platelets after storage for 7 days. Transfusion medicine. 2003
Aug;13(4):173-87.
29. AuBuchon JP, Herschel L, Roger J, Murphy S. Preliminary validation of a new standard of efficacy for
stored platelets. Transfusion. 2004 Jan;44(1):36-41.
30. Devine DV, Serrano K. The platelet storage lesion. Clinics in laboratory medicine. 2010 Jun 1;30(2):475-
87.
20

31. Shrivastava M. The platelet storage lesion. Transfusion and Apheresis Science. 2009 Oct 1;41(2):105-13.
32. Kunicki TJ, Tuccelli M, Becker GA, Aster RH. A study of variables affecting the quality of platelets stored
at “room temperature”. Transfusion. 1975 Sep 10;15(5):414-21.
33. Director SH, Scientist GM, S. Murphy MD Chief Medical Officer. A multi‐laboratory evaluation of in vitro
platelet assays: the tests for extent of shape change and response to hypotonic shock. Biomedical
Excellence for Safer Transfusion Working Party of the International Society of Blood Transfusion.
Transfusion. 1998 Jan;38(1):31-40.
34. Seghatchian J. A new platelet storage lesion index based on paired samples, without and with EDTA and
cell counting: comparison of three types of leukoreduced preparations. Transfusion and apheresis
science. 2006 Dec 1;35(3):283-92.
35. Kim BK, Baldini MG. The platelet response to hypotonic shock. Its value as an indicator of platelet
viability after storage. Transfusion. 1974 Mar 4;14(2):130-8.
36. Li J, Xia Y, Bertino AM, et al. The mechanism of apoptosis in human platelets during storage. Transfusion
2000;40:1320–9.
37. Leytin V. Apoptosis in the anucleate platelet. Blood reviews. 2012 Mar 1;26(2):51-63.
38. Rock G, Swenson SD, Adams GA. Platelet storage in a plasma‐free medium. Transfusion. 1985 Nov
12;25(6):551-6.
39. Gulliksson H. Platelet storage media. Vox sanguinis. 2014 Oct;107(3):205-12.
40. Dekkers DW, De Cuyper IM, Van Der Meer PF, Verhoeven AJ, De Korte D. Influence of pH on stored human
platelets. Transfusion. 2007 Oct;47(10):1889-95.
41. Ringwald J, Zimmermann R, Eckstein R. The new generation of platelet additive solution for storage at
22 C: development and current experience. Transfusion medicine reviews. 2006 Apr 1;20(2):158-64.
42. Gulliksson H, Sallander S, Pedajas I, Christenson M, Wiechel B. Storage of platelets in additive solutions:
a new method for storage using sodium chloride solution. Transfusion. 1992 Jun;32(5):435-40.
43. Shimizu T, Murphy S. Roles of acetate and phosphate in the successful storage of platelet concentrates
prepared with an acetate‐containing additive solution. Transfusion. 1993 Apr;33(4):304-10.
44. Gulliksson H, Larsson S, Kumlien G, Shanwell A. Storage of platelets in additive solutions: effects of
phosphate. Vox sanguinis. 2000 Apr;78(3):176-84.
45. Shimizu T, Shibata K, Kora S. First autoclave‐sterilized platelet‐additive solution containing glucose with
a physiological pH for the preparation of plasma‐poor platelet concentrates. Vox sanguinis. 1992
Mar;62(2):87-93.
46. Sweeney J, Kouttab N, Holme S, Kurtis J, Cheves T, Nelson E. Storage of platelet‐rich plasma–derived
platelet concentrate pools in plasma and additive solution. Transfusion. 2006 May;46(5):835-40.
21

47. Hirayama J, Azuma H, Fujihara M, Homma C, Yamamoto S, Ikeda H. Storage of platelets in a novel
additive solution (M‐sol), which is prepared by mixing solutions approved for clinical use that are not
especially for platelet storage. Transfusion. 2007 Jun;47(6):960-5.
48. Van der Meer PF. PAS or plasma for storage of platelets? A concise review. Transfusion medicine. 2016
Oct;26(5):339-42.
49. Wagner SJ, Seetharaman S, Cook T. Maintenance of the in vitro storage properties of apheresis platelets
suspended in PAS‐F after a 24‐hour interruption of agitation. Transfusion. 2015 May 9;5(55):1136-7.
50. Cattaneo M, Cerletti C, Harrison P, Hayward CP, Kenny D, Nugent D, Nurden P, Rao AK, Schmaier AH,
Watson SP, Lussana F. Recommendations for the standardization of light transmission aggregometry: a
consensus of the working party from the platelet physiology subcommittee of SSC/ISTH. Journal of
Thrombosis and Haemostasis. 2013 Jun;11(6):1183-9.
51. Coêlho MJ, Monteiro TD, Vasquez FG, Silva KL, et al. Platelet aggregation and quality control of platelet
concentrates produced in the Amazon Blood Bank. Revista brasileira de hematologia e hemoterapia.
2011;33(2):110-4.
52. Dekkers DW, De Cuyper IM, van der Meer PF, et al. Influence of pH on stored human platelets.
Transfusion. 2007;47(10):1889-95.
53. Van Der Meer PF, Kerkhoffs JL, Curvers J, et al. In vitro comparison of platelet storage in plasma and in
four platelet additive solutions, and the effect of pathogen reduction: a proposal for an in vitro rating
system. Vox sanguinis. 2010 May;98(4):517-24.
22

ภาคผนวก
ประวัติผู้วิจัย
ยศ-ชือ่ -นามสกุล (ภาษาไทย) ร้อยเอกหญิง แพทย์หญิงชนกานต์ วิภูสมิทธ์
(ภาษาอังกฤษ) Captain Chanakarn Vipusmith, M.D.
วันเดือนปีเกิด 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533
ตำแหน่ง แพทย์ประจำบ้านต่อยอดโลหิตวิทยาชั้นปีที่ 3
สังกัด กรมแพทย์ทหารบก
ประวัติการศึกษา
พ.ศ. 2558 สำเร็จการศึกษาแพทยศาสตร์บัณฑิตจากวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า เกียรตินิยมอันดับ 2
ประวัติการทำงาน
พ.ศ. 2558-2559 โรงพยาบาลค่ายธนะรัชต์ ศูนย์กลางทหารราบ จ.ประจวบคีรีขันธ์
พ.ศ. 2559-2560 โรงพยาบาลค่ายวีรวัฒน์โยธิน มทบ.25 จ.สุรินทร์
พ.ศ. 2560-ปัจจุบัน แพทย์ประจำบ้าน สาขาอายุรศาสตร์โรคเลือด โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

Das könnte Ihnen auch gefallen